ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การบูชาพระพฤหัส


นพเคราะห์ประจำวันพฤหัสบดี
ตำนานพระพฤหัสบดี
โดย : อ.เจียระไน โชคมงคลชัยชนะ 

พระพฤหัสบดี เป็นครูแห่งเทวดาทั้งหลาย (ปุโรหิต) ตามไตรเพทว่าเป็นองค์เดียวกับพระอัคนี เทพแห่งไฟ อีกตำราว่าเป็นฤาษีโอรสพระอังคีรสพรหมบุตร (อังคิรสมุนี) กับนาง สมปฤดี
ตำราพระอิศวรกล่าวว่า พระศิวะเจ้าได้สร้างพระพฤหัสบดีขึ้นมา โดยนำฤษี 19 ตน มาป่นให้ละเอียดเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีเหลือง ร่ายพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ห่อผ้านั้นก็กลายเป็นพระพฤหัสบดี เทพบุตรผู้ปรากฎเป็นฤาษี กายสีแสด ทรงกระดานชนวน ลูกประคำ อาภรณ์ประดับด้วยแก้วบุษราคัม ทรงกวางเป็นพาหนะ เป็นเทพแห่งปัญญา เทพแห่งครู วันพฤหัสบดีจึงถือเป็นวันครู (วันไหว้ครูของไทย)
พระพฤหัสบดี มีพระชายาคือ นางมมตา พระโอรสคือ ตาระ ซึ่งภายหลังได้เป็นทหารเอกของพระรามในรามเกียรติ์หรือรามายณะ ชายาของพระพฤหัสบดีอีกองค์หนึ่งคือ นางดารา ซึ่งถูกพระจันทร์ลักพาไปเป็นชายาจนมีบุตรด้วยกันคือ พระพุธ (อ่านได้จากเรื่อง พระจันทร์และพระพุธ)
วิธีบูชาพระพฤหัสบดี ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกัน
ผู้บูชาพระพฤหัสบดี จะได้รับพรด้านความมีปัญญา ฉลาดหลักแหลม การศึกษาเล่าเรียนจะเป็นไปอย่างราบรื่น
พระพฤหัสบดีจะประทานความมีเกียรติในสังคม การได้รับความไว้วางใจเคารพนับถือจากผู้อื่น
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีคือ ปางสมาธิ
คาถาบูชาพระพฤหัสบดี
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 5 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันพฤหัสบดี ให้ใช้ธูป 19 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บูชาพระพฤหัสบดี ด้วย คาถานารายณ์ตวาดป่าหิมพานต์
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
สวดตามกำลังเทพพระพฤหัสบดี คือ 19 จบ
(บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ)
บทสวดบูชาพระพฤหัสบดีอิติปิโส ภะคะวา พระพฤหัสบดีจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม


บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางสมาธิ พระประจำวันพฤหัสบดีปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตังปะริตตันตัม ภะณามะ เหฯ
ประวัติย่อพระพุทธรูปปางสมาธิ

ในเช้าของคืนวันที่จะตรัสรู้นั้น พระโพธิสัตว์สิตธัตถะ หลังเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำมาถวายแล้ว ก็ได้ทรงอธิษฐานเสี่ยงทายถาดทองคำที่แม่น้ำเนรัญชรา แล้วประทับยับยั้งอยู่ที่นั้นจนตะวันบ่ายคล้อยเสด็จกลับมายังต้นพระศรีมหา โพธิ์ ในระหว่างทาง ได้ทรงรับหญ้าคา 6 กำมือ จากโสตถิยะพราหมณ์ จึงนำมาปูลาด ณ ใต่ต้นไม่ พระศรีมหาโพธิ์แทนบัลลังก์ แล้วขึ้นประทับนั่งผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผันพระปฤษฏางค์ ให้ลำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วจึงทรงอธิษฐานพระทัยว่า จักไม่ลุกจากบัลลังก์นี้ ตามใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามทีหลังจาก อธิษฐานจิตพระองค์ก็ได้เผชิญกับการทำสงครามกับพญามาราธิราชพร้อมเสนาหมู่ ใหญ่ แต่พระองค์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยพระบารมีต่างๆก่อนที่พระอาทิตย์จะอัสดงคต เล็กน้อย จากนั้นก็ได้เจริญภาวนาจนได้บรรลุพระญาณต่างๆ ไปตามลำดับ คือ
1.ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติในอดีตได้เป็นเหตุให้ทรงยั่งรู้อัตตภาพขันธสังขารต่างที่ ประกอบกันขึ้นและดับไปนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือขังเสียได้โดยสิ้นเชิง
2.ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักษุ สามารหยั่งรู้การเกิดการตายตลอดถึงสาเหตุที่ทำให้สรรพสัตว์ต้องเวียนว่ายตาย เกิดในรูปแบบต่างๆ กันออกไปก็ด้วยอำนาจกรรมที่แตกต่างกัน เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลง ในคติแห่งขันธ์อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ ได้
3.ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ สามารถกำจัดอาสวักกิเลสน้อยใหญ่ทั้งมวลได้สิ้นเชิงด้วยพระปัญญารู้แจ้งความ จริงอันประเสริฐและเข้าใจชัดแจ้งถึงสายโซ่แห่งชีวิตที่เกิดดับ โดยความอาศัยกันและกัน แห่งเหตุปัจจัย หรือปฏิจจสมุทปบาทธรรมทำให้ทรงได้ชีวิตใหม่ บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กลายเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณอันหมดจดวิเศษเหนื่อยกว่ามนุษย์ และทวยเทพทั้งมวล
ภายหลังจากตรัสรู้ พระองค์ก็ได้ประทับนั่งเสวยวิมุติสุขและพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอด 7 วัน ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้เสด็จลุกไปไหนด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว ภายหลังจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิขึ้นไว้เป็นอนุสติและกลายมาเป็นปาง พระพุทธรูปบูชา สำหรับ ผู้ที่เกิดในวันพฤหัสบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น