ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การบูชาพระศุกร์


นพเคราะห์ประจำวันศุกร์
พระศุกร์ เทพแห่งความรัก ความสวยงาม พระประจำวันศุกร์
ผู้ดูแลรักษาเขาพระสุเมรุ
ดาวศุกร์ เป็นดาวนพเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เมื่อมองใกล้รุ่ง จะเห็นแสงสว่างจากดาวพระศุกร์สดใสสว่างจ้า เรียกกันว่า ดาวหัวค่ำ ดาวย่ำรุ่ง หรือ ดาวประจำเมือง
ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กล่าวกันว่า ดาวศุกร์ หรือ พระศุกร์ เป็นเทพฤาษี ได้รับการเชิดชูให้เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ซึ่งดาวศุกร์นี้ก็คือ เทพวีนัส (Venus) นั่นเอง
นอกจากเป็นเทพแห่งความรักแล้ว พระศุกร์ ยังเป็นเทพเจ้าแห่งความงดงาม ความตระการตา ความสว่างสดใส มีหน้าที่หนึ่งของพระศุกร์คือ เป็นผู้ดูแลรักษาเขาพระสุเมรุ
ดาวพระศุกร์ เป็นโอรสแห่ง พระภฤคุปชาบดี (พระภฤคุมุนีพรหมบุตร) กับ นางชยาติ ซึ่งพระศุกร์เป็นครูแห่งพวก แทตย์ มีความเมตตากรุณา เป็นเทพแห่งสันติภาพ ความสงบสุข
พระศุกร์ มีธิดาชื่อ เทวยาณี
พระศุกร์ เป็นอริกับ พระเสาร์
พระศุกร์ เป็นมิตรกับ พระอังคาร
ในตำนานกล่าวไว้ว่า พระศิวะมหาเทพ ได้สร้างพระศุกร์ขึ้นจากโค 21 ตัว โดยพระมหาเทพได้ร่ายเวทมนต์ให้โคป่นละเอียดเป็นผง ประพรมผงนั้นด้วยน้ำอมฤต กำเนิดเป็นเทวบุตรรูปงามนามว่า พระศุกร์ สีกายเลื่อมประภัสสร มุ่นชฎาอย่างฤาษี ถือไม้เท้า มีประคำคล้องคอ (เมล็ดน้ำตาพระศิวะ) ทรงโคอุสุภราชเป็นพาหนะ พระศุกร์มีชายาคือ ศุศุมา มีสุวรรณวิมาน (วิมานเป็นสีทอง)
เนื่องจากพระศุกร์ถูกสร้างขึ้นจากโค 21 ตัว กำลังนพเคราะห์ของดาวศุกร์ก็คือเลข 21
ในตำราว่าไว้ พระศุกร์สามารถชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นขึ้นมาได้
รูปปั้น เทวรูปของพระศุกร์ นิยมปั้นเป็นมนุษย์ผู้ชาย ลักษณะยืน มี 2 หรือ 4 กร ถือไม้เท้า แจกัน ลูกประคำ คฑา บางปางอาจทำให้สวยงามอลังการด้วยการยืนบนรถเทียมม้า 8 ตัวหรือ 10 ตัว
พระศุกร์นั้น มีพระเนตร (ดวงตา) บอดหนึ่งข้าง ในตำนานเล่าว่า ท้าวพลี หรือ พลิราช ได้ยกทัพขึ้นไปปราบพระอินทร์และหมู่เทวดา พระอินทร์ตั้งท่าจะรับมือไม่ไหว จึงไปปรึกษากับพระพฤหัสบดีผู้เป็นอาจารย์ เพื่อหาทางรับมือกับทัพของท้าวพลี จากนั้นพระอินทร์จึงนำเหล่าเทวดาไปพบกับพระกัศยปะเทพบิดร ปรึกษากันก็ตกลงว่าจะไปเข้าเฝ้าพระวิษณุมหาเทพ เพื่อให้พระองค์เสด็จมาช่วยเหลือ พระวิษณุมหาเทพ จึงอวตารไปเป็นพระวามนาวตาร หรือ พระวามนะ พระวามะได้ไปขอแผ่นดินกับพลิราช ท้าวพลิราชก็ตกลงว่าจะให้ แต่พระศุกร์ได้ห้ามมิให้พลิราชกระทำการหรือมอบสิ่งใดให้แก่พระวามะ พลิราชก็กล่าวว่าได้รับปากลั่นวาจาไว้แล้วว่าจะยกผืนแผ่นดิน 3 ย่างมอบให้แก่พระวามนาวตาร ยังได้กล่าวอีกว่าพระศุกร์ก็ต้องทำหน้าที่ปุโรหิตอ่านมนตรา จากนั้นพระศุกร์ต้องเทน้ำจากหม้อกลัศเพื่อประกอบพิธีกรรมร่วมกันให้ด้วย พระศุกร์คิดว่า ถ้าทำพิธีกรรมมอบเผ่นดินให้แก่พระวามนาวตาร ตนก็จะเสียของไป พระศุกร์จึงหายตัวไปอยู่ในหม้อกลัศ ใช้เวทมนตร์ทำให้หม้อไม่สามารถเทน้ำออกมาได้ พระวามนาวตารเห็นดังนั้น ก็หยิบเอาหญ้าฟางแหย่ลงไปในหม้อกลัศ ถูกดวงตาพระศุกร์ ทำให้เจ็บปวดทนไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้สามารถเทน้ำออกมาได้ พระเนตรของพระศุกร์จึงบอดข้างหนึ่ง
ในครั้งที่พระจันทร์ไปลักลอบพานางดารา ผู้เป็นชายาของพระพฤหัสบดีมา พระศุกร์ซึ่งไม่พอพระทัยกับพระพฤหัสบดีอยู่แล้ว ก็ไปอยู่ฝ่ายเดียวกับพระจันทร์ เพื่อช่วยกันสู้รบกับพระพฤหัสบดี
วิธีบูชาพระศุกร์ ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกัน
ผู้บูชาพระศุกร์ จะได้รับพรด้านความโดดเด่นในตัวบุคคลและผลงาน ได้รับการเชิดชูเกียรติจากผู้คน
ตำแหน่งหน้าที่การงานจะได้เปรียบมากกว่าผู้อื่น ได้รับการมอบหมายให้ทำงานที่สำคัญต่อองค์กรหรือประเทศชาติ
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์คือ ปางรำพึง
คาถาบูชาพระศุกร์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 6 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันศุกร์ ให้ใช้ธูป 21 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บูชาพระศุกร์ ด้วย คาถานารายณ์พลิกแผ่นดิน
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
สวดตามกำลังเทพพระศุกร์ คือ 21 จบ
(บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ)
บทสวดบูชาพระศุกร์อิติปิโส ภะคะวา พระศุกร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม


บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางรำพึง พระประจำวันศุกร์อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทากิพพิ สะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวิโร ปะริตตันตัม ภะณามะ เหฯ
ประวัติย่อพระพุทธรูปปางรำพึง

ในสัปดาห์ที่ 7 ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ที่ต้นเกตุ ุชื่อราชายตนะ ตลอด 7 วัน แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นอชปาลนิโครธซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหา โพธิ์ จากนั้นทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ว่า เป็นธรรมที่ละเอียด ประณีต สุขุม คัมภีรภาพยากที่จะมีใครๆ ตรัสรู้ตามได้ ทำให้น้อมพระทัยไปในการจะไม่ทรง แสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวารจิตเช่นนั้นของพระพุทธเช้า เลยกล่าวกับทวยเทพว่า คราวนี้โลกคงต้องฉิบหายแน่ จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย เพื่อบุคคลที่มีกิเลสธุลีในจิตใจน้อยจะได้รู้ธรรมที่พระองค์ได้สรัสรู้บ้าง พระศาสดาเองทรงอาศัยพระทัยอันประกอบด้วยพระมหากรุณา จึงทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงกระทำภายหลังจากการตรัสรู้ ย่อมทรงแสดธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ประดิษฐานพระศาสนาให้ตั้งมั่นแล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพานจึงน้อมพระทัยไป เพื่อการแสดงธรรมสรรพสัตว์จากนั้นทรงพิจารณาอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ก็ทรงทราบว่าแตกต่างกันออกไป บางเหล่าก็มีอุปนิสัยประณีต บางเหล่าก็ปานกลาง บางเหล่าก็หยาบ ที่มีอุปนิสัยดี มีกิเลสเบาบาง มีบารมีที่สั่งสมอบรมมาแล้วซึ่งพอที่จะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มี ผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีผู้มีอินทรีย์ยังอ่อนก็มี ผู้ที่จะพึงแนะนำสั่งสอนได้โดยง่ายก็มี ผู้ที่จะแนะนำได้โดยยากก็มี ผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนประทุมชาติบางเหล่าที่โผล่พ้นเหนือน้ำพร้อมจะผลิบาน เมื่อได้รับสุรีย์แสงก็มี บางเหล่าก็ยังอยู่เสมอน้ำก็มี บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำก็มีเมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้วก็ทรงอธิษฐาน พระทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์ อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายและตั้งมั้นเสียก่อนท้าวสหัมบดี พรหมได้ทรงถึงพุทธปณิธานและเห็นว่าทรงรับอาราธนาในการเผยแผ่พระธรรมเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่สพรรพสัตว์แล้ว จึงกลับไปยังพรหมโลกด้วยพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะทรงแสดงโปรดชนนิกร ผู้เป็นเวไนยบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้น และใช้เป็นปางพระพุทธรูป บูชา สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น