ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การบูชาพระอาทิตย์


นพเคราะห์วันอาทิตย์
ตำนานพระอาทิตย์ (พระสุริยะ)

อาทิตย์ ตามคัมภีร์ไตรเพทของพราหมณ์ กล่าวว่ามีถึง ๘ องค์ มีชื่อต่างๆกันว่าเป็นโอรสของพระกัศปประชาบดี กับพระอทิติ แต่ได้ทอดทิ้งพระมรรตาณะฑะเสียองค์หนึ่ง คงนำไปเฝ้าพระเป็นเจ้าแค่ ๗ องค์ ต่อมาไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ จึงยอมรับพระมรรตาณะฑะเป็นอาทิตย์ด้วย จึงรวมเป็นพระอาทิตย์ ๘ องค์ ได้แก่
๑. วรุณาทิตย์ ๒. มิตราทิตย์ ๓. อริยมนาทิตย์ ๔.ภคาทิตย์
๕. องศาทิตย์ ๖.อินทราทิตย์ ๗.ธาตราทิตย์ ๘.สุริยาทิตย์
องค์ที่มีนามว่า สุริยาทิตย์ นี่แหละคือ พระมรรตตาณะฑะ ที่พระมารดาคือพระอทิติ ไม่พาไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่ได้อยู่บนเทวโลกอย่างพระอาทิตย์องค์อื่นๆ ทั้ง ๗ องค์แรก จึงคงเที่ยวขับราชรถอยู่ระหว่างเทวโลกกับมนุษย์โลกตราบเท่าทุกวันนี้
ตามคัมภีร์พระเวท พระอาทิตย์จะมีนามนัยหนึ่งว่า พรุสูรย์ หรือ พระ สุริยเทพ มีหน้าที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่นต่อมนุษย์ สัตว์และพืชพันธุ์บนพื้นโลกนี้ มีบางแห่งเรียกว่า สวิตฤ(สวิต์ฤ) ขี่ราชรถเทียมม้าแดง ๗ ตัว
มีเรื่องเล่าว่า พระสุริยเทพ มีชายาหลายนาง แต่ที่ปรากฏนามเสมอๆ ได้แก่นางสัญญา ซึ่งเป็นธิดาของพระวิศวกรรม มีลูกด้วยกันคือ พระมนูไววัสวัต (หรืออีกนามว่า ท้าวสัตยพรต) ๑ พระยม (หรือพระธรรมราชา) ๑ นางยมี (หรือ ยมุนา) ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำยมนา หรือ ยมุนา)
เนื่องจากพระสุริยเทพมีกายรุ่งโรจน์ร้อนแรงเหลือทน นางสัญญาจึงให้ นางฉายา ไปเป็นเมียแทน ส่วนตนนั้นได้ออกบวช บำเพ็ญพรตเป็นโยคินี อยู่ในป่า และไม่ต้องให้สามีจำได้ จึงจำแลงแปลงร่างเป็นม้า มีฉายานามว่า อัศวินี
อย่างไรก็ตาม พระสุริยเทพก็มีอิทธิฤทธิ์เหมือนกัน จึงแปลงร่างเป็นม้าไปสมสู่เป็นคู่ผัวตัวเมียจนเกิดลูกด้วยกัน คือ อัศวิน แฝดคู่กับ เวรันต์ แล้ว จึงพานางกลับมายังสำนักเดิมแห่งตน
ฝ่ายพระวิศวกรรมผู้พ่อตา (ในปางที่แยกมาจากพระวิษณุหรือพระอิศวร) จึงจับพระสุริยะกลึง เพื่อขัดถูขูดผิวกายที่สว่างมากๆออกเสีย ๑ ส่วนใน ๘ ส่วน ผิวที่ขูดออกไปนั้น พ่อตาได้นำไปสร้างเป็น จักร ถวายพระนารายณ์ ๑ ตรีศูล ถวายพระอิศวร ๑ คฑา(ไม้เท้า)ถวายท้าวกูเวร ๑หอก ถวายแด่พระขันทกุมาร ๑ และนอกจากนี้ยังนำไปสร้างเป็นอาวุธแจกจ่ายให้เทพยดาอื่นๆจำนวนมาก
ในรามายณะ กล่าวว่า พระสุริยเทพหรือพระอาทิตย์ เป็นพ่อของ พญาสุครีพ ลิงผู้ครองนครกีษกินธยา
ในมหาภารตะ ว่า เป็นพ่อท้าวกรรณะ ผู้ครองแคว้นองคราษฎร์(เมืองเบงคอล)ผู้เป็นเสานาบดีแม่ทัพฝ่ายโกรพ
ในหริศวัต ว่า เป็นพ่อของพระมนูไววัสสัต ซึ่งเป็นพ่อของท้าวอิกษวากุ ผู้เป็นบรมชนกแห่งกษัตริย์สุริยวงศ์ ผู้ครองนครศรีอโยธยา และนครมิกิลา ก็แลพระมนู นั้นยังมีธิดาชื่อ นางอิลา ซึ่งได้เป็นมเหสีของ พระพุธเทวราช พระพุธกับนางอิลามีโอรสคือ ท้าวปุรูรพ บรมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ กับมีความนิยมกันว่า คราวพระสุริย์แปลงเป็นม้าอยู่นั้น ได้พบพระฤา ชื่อ ยาญวัลกย์ ได้บอกพระอรชุนยัชุรเวท ให้แก่พระยาญวัลกย์
พระอาทิตย์หรือพระสุริยาทิตย์ ถ้ากล่าวในหมู่เทวดา กลุ่มดาวนพเคราะห์ เรียกว่า ระวี (ระพี) และยังมีชื่อต่างดันออกไปเช่น:-
๑. ทินกร = ผู้ทำวัน ๒. ทิวากร = ผู้ทำวัน
๓. ภาสกร = ผู้ทำแสงสว่าง ๔. ประภากร = ผู้ทำแสงสว่าง
๕. อาภากร = ผู้ทำแสงสว่าง ๖. สวิตฤ = ผู้เลี้ยง
๗.อรหบดี = ผู้เป็นใหญ่ในวัน ๘. โลกจักษุ = ผู้เป็นตาโลก
๙. สหัสสรกิรณะ = ผู้มีแสงพันหนึ่ง ๑๐. วิกรรตตะณะ = ผู้ถูกขูดแสงออก
ในคัมภีรไตรเพท ยังกล่าวไว้ว่า พระสุริยาทิตย์นั้น มีเนตร (ตา) เป็นทอง มีกร(แขน) เป็นทอง และมีชิวหา(ลิ้น)เป็นทอง ทรงรถเทียมม้าเท้าด่างขาว
ในคัมภีรปุรณะ แสดงว่า รูปร่างพรอาทิตย์ มีสีกายแดงแก่ มี ๓ เนตร ๔ กร ถือดอกบัว ๒ ข้าง อีกสองข้างข้างหนึ่งให้พรอีกข้างหนึ่งกวัวให้บูชา นั่งมาบนดอกบัวหลวง มีรัศมีเปล่งปลั่งรุ่งโรจน์อยู่รอบกาย มีสารถีคือพระอรุณ
การบูชาพระสุริยาทิตย์นั้น มีสืบกันมาเนิ่นนานแล้วตั้งแค่สมัยพระเวท ต่อมาในต้นคริสต์ศักราช ลัมธิกรบูชาพระอาทิตย์มีความเจริญรุ่งเรือง และมีการพัฒนาไปมากทั้งอินเดียเหนือและใต้ จะมีการสร้างเทวลัยหรือเทวสถาน อุทิศให้กับรูปปั้น รูปหล่อ ของพระสุริยเทพโดยเฉพาะ ดังปรากฏที่เมืองมูลแทน แคว้นแคชเมียร์(กัษมีระ)
อนึ่งยังมีชาวฮินดูรวมเอาพระอาทิตย์เข้าในการบูชาเป็นเทพเจ้าทั้ง ๕ องค์ ในแห่งเดียวกัน เทวาลัยที่สำคัญจะตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนอีก๔ แห่งจะตั้งอยู่ตามทิศ ๔ มุม เรียกตามคติชาวฮินดูว่า “ฮินดูปัญจายาคะนะ” มีเทพคือ สุริยะเป็นแกนกลาง ส่วน ๔ ทิศนั้นหมายถึง พระวิษณุ พระคเณศร์ พระเทวี และพระศิวะ
แต่ในยุดหลังๆ ต่อมาการบูชาสุริยเทพได้เสื่อมลดน้อยถอยลงแต่ก็ยังจัดอยู่ในเทพชั้นรอง
มีกล่าวถึงราชรถของพระอาทิตย์บ้าง ที่ว่าเทียมด้วยม้า ๗ ตัวนั้น บางคัมภีร์ว่าความจริงเทียมด้วยม้าเพียงตัวเดียว แต่มี ๗ หัว เช่นเดียวกับนาค ๗ หัวมีตัวเดียวนั่นเอง ที่กล่าวแตกต่างกันไปเนื่องจาก นักปราชญ์ทางศาสนาฮินดูต่างมีหลากหลายความคิด แล้วแต่จะกล่าวสรรเสริญยกย่องเทพเจ้าแห่งตน เลอเลิศประเสริฐศรีเพียงใดนั่นเอง
รูปพระอาทิตย์หรือพระสุริยเทพ ตามลัทธิความเชื่อถือของชาวฮินดู จะทำให้มีรูปกายสีแดง เรือนร่างมนุษย์ นั่งบนรถเทียมม้า ๗ ตัว หรือตัวเดียวมี ๗ หัว ปรากฏ ประกายแสงสว่างรุ่งเรืองรอบรถและม้ามีสารถีนามว่า อรุณ แหล่างสำนักคือ วิวัสวดี
ส่วนมเหสีมีเพิ่มมาอีก ๓ นาง คือ สวรรณี ๑ สวาดี ๑ และ นางมหาวีรยา๑ สำหรับมเหสีเดิมคงได้แก่ นางสัญญา ๑ นางฉายา ๑ และนาง อัศวนี ๑ เทียบตามคติพราหมณ์ ผู้ให้กำเนิดโหรศาสตร์ท่ากล่าวว่า พระอาทิตย์ ท่านว่า มีผิวกายดำแดง ผิวเนื้อสองสี ประดับอาภรณ์ ด้วยเครื่องทรงเป็นแก้วมณีแดง หรือปัทม ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ
เป็นเทพที่อุบัติขึ้นในจักรวาลก่อนดาวเคราะห์ทั้งมวล เป็นดังไฟร้อนแรงรุ่งโรจน์ร้ายแรงยิ่งนัก มีกำลัง ๖ ทางศาสนาฮินดูเรียกว่า “สุริยเทพ” สถิตอยู่เบื้อง ทิศอิสาณ แปลว่า “ทิศแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่”
ตามหลักคัมภีร์พระเวท ตอนฤคเวท กล่าวว่า ร่างของพระอาทิตย์ มีลักษณะเป็นนกมีปีกอันสวยสง่างาม มีรัศมีวายกายสีแดง เป็นแสงรุ่งโรจน์รอบตัว มี ๔ กร มี อรุณเป็นสารถี รถม้าเทียม ๗ ตัว บางตำราว่า ๑ ตัว แต่มี ๗ หัว ที่ประทับสุรยเทพ เรียกว่า วิวัสวดี
ดวงอาทิตย์ ตามหลักโหรราศาสตร์ ประจำราศีธาตุไฟ เป็นดาวฤกษ์ที่ให้แสงสว่างและเสริมกำลังให้แก่ดาวนพเคราะห์ทั้งหลายอันก่อให้เกิดมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลก เช่น มนุษย์ สัตว์ และพืชต่างๆ
วิธีบูชาพระอาทิตย์ ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกัน
ผู้บูชาพระอาทิตย์ จะได้รับพรด้านความเจริญก้าวหน้า มีเกียรติ์ในสังคม มีชื่อเสียงในวิชาชีพของตน
ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ได้รับความเคารพศรัทธาจากผู้อื่น
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์คือ ปางถวายเนตร
คาถาบูชาพระอาทิตย์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันอาทิตย์ ให้ใช้ธูป 6 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บูชาพระอาทิตย์ ด้วย คาถานารายณ์แปลงรูป
อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ
สวดตามกำลังเทพพระอาทิตย์ คือ 6 จบ
(บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ)
บทสวดบูชาพระอาทิตย์อิติปิโส ภะคะวา พระอาทิตย์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม


บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตร พระประจำวันอาทิตย์
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณ โณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละ ยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะ โม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
ประวัติย่อพระพุทธรูปปางถวายเนตร

ในสัปดาห์ที่ 2 ภายหลังจากการตรัสรู้พระองคค์ได้เสด็จไปด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ แล้วประทับยืนจ้องพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม้กระพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้นตลอด 7 วัน และสถานที่ประทับยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นเรียกว่า อนิมิสสเจดีย์ (อนิมิสส แปลว่า ไม่กระพริบตา)ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางถวายเนตรขึ้นเป็น อนุสติ และนิยมสร้างไว้เป็นที่สักการะบูชาประจำวัน สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น