ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มงคลสูตร

มงคลสูตร
 เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคล หรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้วแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา


พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง, อากังขะ มานา โสตถานัง พฺรูหิ มังคะละมุตตะมัง,เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า, หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย, มุ่งหมาย ความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว, ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด, สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบดังนี้ว่า,
อะเสวะนา จะ พาลานัง,
การไม่คบคนพาล,
ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา,การคบบัณฑิต,
ปูชา จะ ปูชะนียานัง,การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ,การอยู่ในประเทศอันสมควร,
ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา,การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว,
อัตตะ สัมมา ปะณิธิ จะ,การตั้งตนไว้ชอบ,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
พาหุสัจจัญจะ,การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,
สิปปัญจะ,การมีศิลปวิทยา,

วินะโย จะ สุสิกขิโต,วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,
สุภาสิตา จะ ยา วาจา,วาจาที่เป็นสุภาษิต,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,
ปุตตะทารัสสะ สังคะโห,การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,
อะนากุลา จะ กัมมันตา,การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
ทานัญจะ,การบำเพ็ญทาน,
ธัมมะจะริยา จะ,การประพฤติธรรม,
ญาตะกานัญจะ สังคะโห,การสงเคราะห์หมู่ญาติ,
อะนะวัชชานิ กัมมานิ,การงานอันปราศจากโทษ,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
อาระตี วิระตี ปาปา,การงดเว้นจากบาปกรรม,
มัชชะปานา จะ สัญญะโม,การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา,
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
คาระโว จะ,ความเคารพอ่อนน้อม,
นิวาโต จะ,ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง,
สันตุฏฐี จะ,ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่,
กะตัญญุตาความเป็นคนกตัญญู,
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมตามกาล,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจห้าอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
ขันตี จะ,ความอดทน,
โสวะจัสสะตา,ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย,
สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,การพบเห็นสมณะ ผู้สงบจากกิเลส,
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา,การสนทนาธรรมตามกาล,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
ตะโป จะ,ความเพียรเผากิเลส,
พรัหมะจะริยัญจะ,การประพฤติพรหมจรรย์,
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,การเห็นอริยสัจ,
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,การทำพระนิพพานให้แจ้ง,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย ถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง,เป็นจิตไม่เศร้าโศก,
วิระชัง,
เป็นจิตไร้ ธุลีกิเลส,
เขมัง,เป็นจิตอันเกษมศานต์,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
เอตาทิสานิ กัตฺวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา, สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ, ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ได้กระทำมงคลทั้งสามสิบแปดประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว, จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง, ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญก้าวหน้าอันสูงสุด,
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,

อิติ.ด้วยประการฉะนี้แล.

วัฏฏกปริตร

วัฏฏกชาดก 
 เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธองค์  เมื่อครั้งถือกำเนิดเป็นลูกนกคุ่ม  แล้วทำปริตรป้องกันตนเองจากไฟป่า  ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก  จริยาปิฏก, วัฏฏกชาดก  อรรถกถาชาดก
วัฏฏกปริตร  เป็นพระปริตรที่กล่าวอ้างคุณ  คือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะ  และสัจจะ  ของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย  แล้วน้อมเอาพระพุทธคุณดังกล่าว  มาบังเกิดเป็นอานุภาพ  ปกป้องคุ้มครองอันตรายอันจะเกิดจากไฟทั้งหลายให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิต  การสวดคาถานี้  เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ (ป้องกันอัคคีภัย) และเหตุเดือดร้อนวุ่นวายนานาประการ  ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

อัตถิ  โลเก  สีละคุโณ                        สัจจัง  โสเจยยะนุททะยา
เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ                       สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
อาวัชชิตวา  ธัมมะพะลัง                      สะริตวา  ปุพพะเก  ชิเน
สัจจะพะละมะวัสสายะ                        สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
สันติ  ปักขา  อะปัตตะนา                     สันติ  ปาทา  อะวัญจะนา
มาตา  ปิตา  จะ  นิกขันตา                    ชาตะเวทะ  ปะฏิกกะมะ
สะหะ  สัจเจ  กะเต  มัยหัง                   มะหาปัชชะลิโต สิขี
วัชเชสิ  โสฬะสะกะรีสานิ                    อุทะกัง  ปัตวา  ยะถา  สิขี
สัจเจนะ  เม สะโม  นัตถิ                       เอสา  เม  สัจจะปาระมีติฯ


คุณของศีลมีอยู่
คุณของธรรมมีอยู่
คุณของสัจจะวาจานี้ก็มีอยู่จริง
ปีกทั้งสองข้างเรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้
เท้าเราทั้งสองข้างมีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้
บิดามารดาทั้งสองเรามีอยู่ แต่บัดนี้มิได้อยู่กับเรา
นี้เป็นสัจจะวาจาของเรา
ไฟป่าที่ไม่มีชีวิตเอ๋ย
ด้วยเดชแห่งสัจจะวาจานี้
ขอไฟป่าจงดับไป

รตนปริตร

ตำนานรัตนปริตร


รัตนปริตร คือ ปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติเล่าว่า ในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย ทำให้เมืองเวสาลีประสพภัย ๓ อย่าง ได้แก่ ทุพภิกขภัย คือ ข้าวยากหมากแพง, อมนุสสภัย คือ อมนุษย์และโรคภัย คือ โรคระบาด



ในขณะนั้นชาวเมืองคิดว่า เมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗ รัชสมัย จึงกราบทูลเจ้าผู้ครองนครว่า ภัยนี้อาจเกิดจากการที่พระองค์ไม่ทรงธรรม เจ้าผู้ครองนครจึงมีรับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาโทษของพระองค์ แต่ชาวเมืองไม่สามารถพิจารณาหาโทษได้ ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่าควรจะนิมนต์ศาสดาองค์หนึ่งมาดับทุกข์ภัยนี้ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์เดียรถีย์ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้า ในที่สุดทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด ดังนั้น จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์มาทูลนิมนต์เพื่อระงับภัยพิบัตินั้น


เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากได้มาเฝ้าในสถานที่นั้น ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีออกจากเมือง จากนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์ และรับสั่งให้ท่านสาธยายรอบเมืองที่มีกำแพงสามชั้นตลอดสามยาม พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร ครั้นอมนุษย์หนีไปและโรคระบาดสงบลงแล้ว ชาวเมืองได้มาประชุมกันที่ศาลากลางเมือง และได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองนี้ ในเวลานั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนปริตรนี้แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันในที่นั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๔๑-๔)



อนึ่ง สามคาถาสุดท้าย คือคาถา ๑๖, ๑๗, ๑๘ เป็นคาถาที่พระอินทร์ตรัสขึ้นเองโดยดำริว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างสัจวาจาที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย เราก็ควรจะกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างคุณของพระรัตนตรัยเช่นกัน ฉะนั้น พระอินทร์จึงได้ตรัสสามคาถาเหล่านั้น

รัตนปริตร


๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง.


ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จงเป็นผู้เบิกบานใจ รับฟังถ้อยคำด้วยความเคารพเถิด


๒. ตัสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสฺมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา.


ดังนั้น ขอเทวดาทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า จงมีเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ เพราะเขาเซ่นพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านจงอย่าประมาท คุ้มครองพวกเขาด้วยเถิด


๓. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


ทรัพย์ในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันประณีตในสวรรค์ มีสิ่งใดที่จะเสมอกับพระตถาคตนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี


๔. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักฺยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น ทรงบรรลุธรรมอันสิ้นกิเลสปราศจากราคะ ไม่ตาย และประณีต มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยพระธรรมนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี


๕. ยัง พุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงสรรเสริญสมาธิอันผ่องแผ้ว นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญสมาธิอันประเสริฐที่ให้ผลทันที มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยสมาธินั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี.


๖. เย ปุคคะลา อัฎฐะ สะตัง ปะสัตถา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระสาวกของพระสุคตเจ้า ผู้เป็นพระอริยบุคคล ๘ จำพวก อันแบ่งเป็น ๔ คู่ ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยวาจาสัจนี้ ขอจงมีความสวัสดี
๗. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญเพียรด้วยจิตอันเข้มแข็งในพระศาสนาของพระโคดม เป็นผู้ปราศจากกิเลส ผู้เข้าถึงอมตธรรม ผู้บรรลุพระนิพพาน และผู้เสวยสันติสุข ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๘. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิสสิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระตถาคตตรัสเปรียบสัตบุรุษผู้เห็นแจ้ง เข้าถึงพระอริยสัจสี่ว่าเหมือนกับเสาใหญ่ปักลงดิน อันไม่ไหวติงเพราะแรงลมทั้งสี่ด้าน ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๙. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัง ปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


บุคคลเหล่าใดเจริญอริยสัจสี่ ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้งตรัสไว้ดีแล้ว แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลินอย่างมากอยู่ แต่ท่านก็จะไม่เกิดในชาติที่แปดอีก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๐. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ.


ท่านเหล่านั้นคือพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์ ๓ ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ละกิเลสอื่นๆ ได้ในขณะที่เห็นธรรม



๑๑. จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉัจจาภิฐานานิ อะภัพพะ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


ท่านเหล่านั้นเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่กระทำกรรมอันไม่สมควร ๖ ประการ [คือ อนันตริยกรรม ๕ และการนับถือศาสนาอื่น] ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๒. กิญจาปิ โส กัมมะ กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจา อุทะ เจตะสา วา
อะภัพพะ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


แม้ท่านเหล่านั้นยังทำความผิดด้วยกาย วาจา หรือใจ อยู่บ้างก็ตาม แต่ท่านก็ไม่ปกปิดความผิดนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้เห็นพระนิพพานเป็นผู้ไม่ปกปิดความผิด ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๓. วะนัปปะคุมเพ ยะถะ ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสฺมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พุ่มไม้ในป่าที่แตกยอดอ่อนในเดือนต้นแห่งคิมหันตฤดู มีความงามฉันใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพานเพื่อประโยชน์สูงสุด มีความงาม ฉันนั้น ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๔. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้แจ้งพระนิพพานอันเลิศ ทรงประทานธรรมอันยอดเยี่ยม ทรงแนะนำข้อปฏิบัติที่ดี พระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงแสดงธรรมอันสูงสุดแล้ว ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๕. ขีณัง ปุราณัง นะวะ นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสฺมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรูฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัง ปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.


พระอรหันต์ผู้สิ้นเชื้อแล้ว ไม่ยินดีภพอีก มีจิตหน่ายภพเบื้องหน้า สิ้นกรรมเก่า ปราศจากกรรมใหม่ที่จะส่งไปเกิดอีก ท่านเหล่านั้นเป็นปราชญ์ ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้ ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี



๑๖. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.


ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี



๑๗. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.


ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระธรรมอันเป็นไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี



๑๘. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.


ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระสงฆ์ผู้ดำเนินไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี 


ชะยะปะริตตัง

ชะยะปะริตตัง

                         ชะยะปะริตตัง

     *มะหาการุณิโก  นาโถ                      หิตายะ  สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                          ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                           โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง ฯ

    * ชะยันโต  โพธิยา  มูเล                      สักยานัง  นันทิวัฑฒะโน
เอวัง  ตวัง  วิชะโย  โหหิ                         ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก                              สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                       อัคคับปัตโต  ปะโมทะติ
*สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง                          สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง
*สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ                          สุยิฏฐัง  พรัหมะจาริสุ
*ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                       ปะณิธี  เต  ปะทักขิณา
*ปะทักขิณานิ  กัตวานะ                         ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ ฯ

*ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                        รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
*สัพพะพุทธานุภาเวนะ                          สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ

*ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                        รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
*สัพพะธัมมานุภาเวนะ                           สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ

*ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                        รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
*สัพพะสังฆานุภาเวนะ                           สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ



ชัยปริตร

*พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์  ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา  บำเพ็ญบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย  เป็นผู้ถึงความตรัสรู้ชอบอันสูงสุด
*ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้  ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด 

*ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี  เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนต้นโพธิ์ แล้วถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก  ทรงบันเทิงพระทัยอยู่บนบัลลังก์ที่มารไม่อาจจะผจญได้  เป็นจอมมหาปฐพี  ทรงเพิ่มพูนความดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น เทอญ

*เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ  ชื่อว่าฤกษ์ดี  มงคลดี  สว่างดี  รุ่งแจ้งดี
*และขณะดี ครู่ยามดี  ชื่อว่าบูชาดีแล้วในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย
*กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด  วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด
*มโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด  ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด
*บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย  ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย
อันเป็นมงคลสูงสุดแล ฯ

*ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวงจงมีแก่ท่าน  ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน
*ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

*ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวงจงมีแก่ท่าน  ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน
*ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

*ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวงจงมีแก่ท่าน  ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน
*ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

(จากหนังสือสวดมนต์แปลวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี)

โพชฌังคปริตร

บทสวด โพชฌังคปริตร


โพชฌังคปริตรมีความเป็นมาอย่างไร

โพชฌงค์เป็นหลักธรรมหมวดหนึ่งที่อยู่ในบทสวดมนโพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจา้ได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้ อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้

ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร

พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน

หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่าองค์แห่งโพธิหรือองค์แห่งโพธิญาณเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา  




โพชฌังคปริตร

   โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
   โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
   วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
   วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

   สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
   
สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
   สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
   7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว
   ภาวิตา พะหุลีกะตา
   อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
   สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
   ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
   เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
   โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
   ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
   เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
   ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก
   โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
   จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง
   เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
   ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม
   โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
   โรคก็หายด้ในบัดดล
   เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
   โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
   ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
   เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
   ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก
   จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
   รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ
   สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
   ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
   เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
   โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
   ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
   ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
   ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
   มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
   ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
   เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
   โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
   ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ



อาฏานาฏิยปริตร

ตำนานพระปริตร ตอนอาฏานาฏิยปริตร


อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง บางแห่งกล่าวไว้ว่า สามารถป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข

เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่าบนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่ ก็อาจจะถือโอกาสมารบกวน ซึ่งพวกตนอาจจะกลับมาไม่ทัน จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กอง ประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาค รักษาแต่ละทิศไว้ แล้วก็พากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยนคร พร้อมทั้งผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้นมา จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านั้น ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่าง ๆ กัน เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่นับถือ จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้าที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่าง ๆ ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านั้นรบกวนทำให้เจ็บไข้ หรือได้รับอันตรายต่าง ๆ นานา ท้าวเวสสุวัณจึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธองค์รับอาฏานาฏิยปริตรไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์ เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์และภูตผีปีศาจรบกวน ซึ่งเนื้อความเป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นเวลานอน เดิน ยืน หรือนั่ง ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นคุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรคและความเดือดร้อนต่าง ๆ มีความเชื่อว่าใครได้ภาวนาพระปริตรบทนี้เป็นประจำ ยักษ์ ผี ปีศาจ จะช่วยคุ้มครองให้มีแต่ความสุขความเจริญ

บทสวดมีดังนี้ คือ


วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุ ทรงพระสิริ
ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง


เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ
ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้


โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปอยู่แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง


อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
ขอนอบน้อมพระศากยบุตรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี
ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง


เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งตามความเป็นจริง
พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน


หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ

ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตรมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่สะทกสะท้าน


(บางตำราจะจบลงแค่นี้ ในขณะที่บางตำรามีเพิ่มเติมบทต่อไปนี้ด้วย)



เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่น
ทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่


สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ
ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐแกล้วกล้าของพระองค์


สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา พรหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ทรงปราศจากความครั่นคร้าม บันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริษัท
ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผู้ใดจะคัดค้านได้


อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา
พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ
ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ และพระอนุลักษณะ ๘๐


พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่งว่า ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ


มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก
มีความกรุณาใหญ่หลวง มั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง


ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง, คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มครองหลบภัยของเหล่าสัตว์ ทรงเป็นที่ไป
เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ และกระทำประโยชน์


สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลกและเทวดา ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคล
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ


วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทานพระนิพพาน จงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ
เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้ว ขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด


สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ
ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใคร ๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุข
ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม


ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศบูรพา จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขามะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ปุรัตถิเมนะ ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าววิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร


จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าว จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข


(เมื่อสวดถึงตอนนี้แล้ว บางตำราต่อด้วยคำสวดต่อไปนี้
ซึ่งเรามักจะได้ยินจากพระสงฆ์สวดเป็นการให้พรในเวลาที่เราถวายสิ่งของใด ๆ เสร็จแล้ว)



อิทธิมันโต จะ เย เทวา วะสันตา อิธะ สาสะเน เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ
ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวงจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข

อะภิวาทะนะสีลิสนะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์


(บางตำราสวดต่อด้วยบทต่อไปนี้แทนบทข้างต้น)



นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระสงฆ์รัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน



โมรปริตร

ความเป็นมาของพระคาถาโมรปริตร



สมัยที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง ก่อนออกไปหากินในตอนเช้า จะต้องสวดโมรปริตรเสียก่อนและพอกลับมาในตอนเย็น ก็จะต้องสวดโมรปริตรอีกครั้งหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งโมรปริตรนั้นจึงทำให้นกยูงทองแคล้วคลาด จากภยันตรายทั้งปวง
ท่านกล่าวกันว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าพรหมทัต สั่งให้จับนกยูงทองมาถวายเพราะพระอัครมเหสีใคร่จะทอด พระเนตร พวกนายพรานถึงแม้ว่าจะวางกับดักเพื่อจะจับนกยูงทองอย่างไรก็ตามแต่ก็หาสำเร็จไม่ บางครั้งพอนกยูงทองเข้ามาใกล้เครื่องดักเหล่านั้น ก็มีอันทำให้เครื่องดักเหล่านั้นล้มระเนระนาดลงไปเอง ดูเป็นที่น่าอัศจรรย์ ทั้งนี้ก็เป็นด้วยอานุภาพแห่งโมรปริตรที่นกยูงทองได้ สวดทุกเช้าค่ำนั่นเอง
กล่าวฝ่ายพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัต เมื่อไม่ได้ทอดพระเนตรนกยูงทองตามประสงค์ก็เสด็จทิวงคต ทำให้พระเจ้าพรหมทัตรู้สึกขัดเคืองพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ด้วยทรงเห็นว่านกยูงทองเป็นต้นเหตุทำให้มเหสีของพระองค์ต้องมาถึงแก่ความตาย จึงหาอุบายที่จะฆ่านกยูงทองเสีย โดยได้แกล้งจารึกลงไปในแผ่นทองว่า
"ถ้าผู้ใดได้กินเนื้อของนกยูงทอง ผู้นั้นจะไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักเจ็บ ไม่รู้จักตายเลย"
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กษัตริย์องค์ต่อๆมาเมื่อพบคำจารึกนั้น ต่างก็ให้พวกนายพรานไปพยายามจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้ ได้ แต่กาลล่วงเลยมาถึง 7 ช่วงกษัตริย์ก็ยังจับนกยูงทองนั้นไม่ได้ ทั้งนี้ก็เป็นด้วยอานุภาพของโมรปริตรคอยคุ้มครองป้องกันภัยให้กับนกยูงทองตัวนั้นอยู่ จวบจนกระทั่งมาถึงกษัตริย์องค์ที่ 7 จึงได้มีนายพรานคนหนึ่ง ได้นำนางนกยูงไปล่อให้นกยูงทองนั้นลงมาที่เชิงเขา นกยูงทองพอได้ยินเสียงนางนกยูงร้องก็หลงใหลไปด้วยอำนาจแห่งกิเลส จึงลืมระลึกถึงมนตร์โมรปริตรดังที่ได้เคยปฏิบัติมา ผลปรากฏว่านกยูงทองเกิดไปติดบ่วงที่นายพรานดักไว้และ ถูกจับไปถวายพระราชาในที่สุด
เมื่ออยู่ต่อหน้าพระราชา นกยูงได้ทูลถามถึงสาเหตุที่ทรงให้ดักจับ พระราชาก็ตรัสเล่าตามที่ปรากฏในคำจารึกนั้น นกยูงทองจึงทูลว่า "ทำไมพระองค์จึงทรงเชื่ออย่างนั้น ถ้าเนื้อของข้าพเจ้าวิเศษถึงกับทำให้คนกินไม่แก่ ไม่ตายจริงแล้ว ตัวข้าพเจ้าเองก็คงไม่ตายน่ะซิ แต่นี่ข้าพเจ้าเองยังต้องตาย ไฉนผู้กินเนื้อของข้าพเจ้าจะไม่ตายเล่า" หลังจากนกยูงทองได้เตือนสติพระราชาแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นอานิสงค์ของการไม่เบียดเบียนสัตว์ จนพระราชาเกิดความเลื่อมใส รับสั่งให้ปล่อยนกยูงทองไป และทรงออกหมายประกาศมิให้ผู้ใดทำร้ายสัตว์ในพระราชอาณาเขตของพระองค์อีกต่อไป
เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้นกยูงทองจะถูกจับได้เพราะลิมสาธยายมนตร์แต่อาศัยที่ได้เคยสาธยายมนตร์โมรปริตรมานาน จึงได้บันดาลให้ถูกปล่อยตัวในที่สุด ดังนั้นจึงเชื่อกันว่ามนตร์บทนี้มีผลทำให้ผู้สวดเกิด การแคล้วคลาดจากสรรพภัยภิบัติทั้งมวล จึงมีผู้นิยมสวดกันจนกระทั่งปัจจุบัน
ที่มา : http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=74151

โมรปริตร บทสวดป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย

๑. อุเทตะยัง จักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เสด็จอุทัยขึ้นทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดวัน

๒. เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร จะระติ เอสะนา
พระพุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงออกเสวงหาอาหาร

๓. อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เสด็จอัสดงคตทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดราตรี

๔. เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร วาสะมะกัปปะยิ
พระพุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงนอน



กรณียเมตตสูตร

เมตตปริตร



หรือ กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร
ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง

๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย

๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด

๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์มีลำตัวยาว หรือลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม

๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือกำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด

๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน

๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิตฉันนั้น

๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ

๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)

๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

(คำแปลของ ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต)

ตำนานพระปริตร : ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดา

ตำนานพระปริตร : ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดา
ขอเชิญบรรดาเทพเจ้า ผู้สถิตในสรวงสวรรค์ ชั้นกามาวจร รูปภพ และเป็นผู้สถิตเหนือยอดเขาและหุบเขา และวิมานอันมีอยู่ในอากาศ ทั้งที่สถิตบนเกาะในแว่นแคว้น ที่แดนบ้าน และบนต้นไม้ ในป่าโปร่ง และป่าทึบ ที่เรือน ที่เรือกสวนไร่นา อีกทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคผู้เป็นมิตร เป็นกัลยาณชน ที่สถิตอยู่ในน้ำ และบนบก ในที่ลุ่ม ที่ดอน
     
       ขอจงมาประชุมกันในที่นี้ เพื่อฟังคำของพระมุนีอันประเสริฐ ซึ่งข้าพเจ้าจักสวดต่อไป ณ บัดนี้
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว
     
       มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม" หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
     
       กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า ตัสสะ แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ
     
       เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
     
       อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
     
       สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
     
       รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ขอเชิญบรรดาเทพเจ้า ผู้สถิตในสรวงสวรรค์ ชั้นกามาวจร รูปภพ และเป็นผู้สถิตเหนือยอดเขาและหุบเขา และวิมานอันมีอยู่ในอากาศ ทั้งที่สถิตบนเกาะในแว่นแคว้น ที่แดนบ้าน และบนต้นไม้ ในป่าโปร่ง และป่าทึบ ที่เรือน ที่เรือกสวนไร่นา อีกทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคผู้เป็นมิตร เป็นกัลยาณชน ที่สถิตอยู่ในน้ำ และบนบก ในที่ลุ่ม ที่ดอน
     
       ขอจงมาประชุมกันในที่นี้ เพื่อฟังคำของพระมุนีอันประเสริฐ ซึ่งข้าพเจ้าจักสวดต่อไป ณ บัดนี้
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว
     
       ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม" หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
     
       กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า ตัสสะ แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
     
       อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
     
       สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
     
       รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

บทสวดมนต์พระปริตร 12 ตำนาน

บทสวดมนต์พระปริตร 12 ตำนาน


ช่วงหยุดสงกรานต์ได้มีโอกาสไปทำบุญไหว้พระกับผองเพื่อน และได้รับหนังสือสวดมนต์มา โดยหลวงพ่อที่ให้ท่านบอกว่าการสวดพระปริตร จะเป็นเรือนแก้วที่คอยคุ้มครองเรา จึงได้ลองศึกษาดูว่าบทสวดมนต์ดังกล่าวเป็นอย่างไร เนื่องจากเคยแต่ได้ยิน แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนเลย



อานิสงส์การสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน
การสวดมนต์สวดพระปริตร ถ้าได้ทำเป็นประจำจะเกิดอานุภาพปรากฎให้เห็นกับผู้ที่ปฏิบัติอยู่มากราย ที่ได้เล่าสู่กันฟัง
การสวดมนต์เป็นการอบรมจิตด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ เป็นกิจของชาวพุทธที่ทำกันอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มพูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะกระทำได้
อัญมณีย่อมมีคุณค่า เหมาะแก่ผู้มีฐานะ พระรัตนตรัยก็เช่นเดียวกัน ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่มีใจอันประเสริฐ บุคคลผู้สวดมนต์เป็นนิตย์จะมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุจิตใจได้ดี และมีสง่าราศรี เป็นที่เคารพนับถือของปวงชน

วิธีสวดพระปริตรนั้น ต้องสวดคำบาลีมิให้เพี้ยน สวดคำแปลควบคู่กับคำบาลีไปด้วย เพื่อน้อมใจไปในความหมายแห่งพระพุทธพจน์

การสวดมนต์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องกันมาช้านานของชาวพุทธในหลายประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และเจริญเมตตา จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาอันเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา ดังคำกล่าวว่า “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” คนสมัยก่อนนิยมสวดมนต์ด้วยบทสวดที่เรียกว่า เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน แต่ในปัจจุบัน นิยมสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔

บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า “พระปริตร” แปลว่า “เครื่องคุ้มครอง” เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี
พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏกคือ
๑. เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๒. ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วินัยปิฏก จุฬวรรค และชาดก ทุกนิบาต
๓. โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต
๔. อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๕. โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค
๖. รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๗. วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก
๘. มังคลปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๙. ธชัคคปริตร มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. อังคุลิมาลปริตร มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

คุ้มครองผู้สวด
ใน คัมภีร์อรรถกถามีเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้ เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้ และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่าได้ถูกเทวดารบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับ เมืองสาวัตถี ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจึงปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก
โบราณจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ถึง ๑๒ ประการคือ
๑. เมตตปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๒. ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ
๓. โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
๔. อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
๕. โพชฌังคปริตร ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
๖. ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี
๗. รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
๘. วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
๙. มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย
๑๐. ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง
๑๑. อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย
๑๒. อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย

คุ้มครองผู้ฟัง
อานุภาพ ของพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย คัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่างคือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจากอมนุษย์ และการแพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง
ในคัมภีร์ยังกล่าวไว้ว่า เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีมารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว

การสวดพระปริตรต้องปฏิบัติอย่างไร?
พระปริตรจะมีอนุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยหลัก ๓ ประการคือ
๑. ต้องตั้งจิตใจให้มีเตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๒. ต้องสวดไม่ผิด ออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และรู้ความหมายของบทสวด
๓.ไม่เคยทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา บิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท
นองจากนี้แล้ว ยังต้องไม่มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี มีความเชื่อมั่นในอานุภาพพระปริตรจริง สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้

บทสวดพระปริตรมีอะไรบ้าง?
โบราณจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น ๒ ประเภทคือ
- เจ็ดตำนาน มี ๗ พระปริตรคือ
๑. มังคลปริตร ๒. รัตนปริตร ๓. เมตตปริตร ๔. ขันธปริตร ๕. โมรปริตร ๖. ธชัคคปริตร ๗. อาฏานาฏิยปริตร
- สิบสองตำนาน มี ๑๒ พระปริตร โดยเพิ่มจากเจ็ดตำนานอีก ๕ พระปริตรคือ
๑. วัฏฏกปริตร ๒. อังคุลิมาลปริตร ๓. โพชฌังคปริตร ๔. อภยปริตร ๕.ชัยปริตร
พระปริตรยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และอรรถกถาต่าง ๆ โดยเพิ่ม อิสิคิลิปริตร เป็นอีกหนึ่งปริตรด้วย
พระปริตรที่ปรากฏในบทสวดมนต์ไทย ฉบับปัจจุบันมี ๑๒ ปริตร อิสิคิลิปริตรไม่ได้จัดไว้ในบทสวดมนต์ เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัย หรือเมตตาภาวนา

พระปริตรที่ควรสวดเสมอ ๆ
ผู้มีเวลาน้อย ควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ จึงควรสวดพระปริตร ๔ บทแรก คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เมตตปริตร และขันธปริตร เน้นการเจริญเมตตาภาวนา โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เน้นการเจริญพระพุทธคุณ ผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ควรสวดโพชฌังคปริตร

พระปริตร  แปลว่า  เครื่องคุ้มครอง  คือป้องกันอันตรายภายนอก  มีโจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายใน มีโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น  อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนั้นบังเกิดจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและเป็นผลของการเจริญเมตตาภาวนา  เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาเป็นหลัก  ดังนั้น  ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ  เช่น  ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรื่อง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน  ดังพระพุทธดำรัสว่า  เธอจงเจริญพุทธานุสสติภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม  เพราะผู้เจริญภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ  อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา  ย่อมประสบภัยพิบัติเอง  เหมือนคนที่ใช้มือจับหอกคม  ย่อมได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น

ก่อนจะสวดพระปริตรทุกครั้ง  ผู้สวดควรสวดบทมหานมัสการก่อน หลังจากนั้น  ให้สวดพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  และพระสังฆคุณ  แล้วจึงสวดพระปริตรหรือคาถาอื่นๆ  ต่อไป  บทมหานมัสการนั้นเป็นคำแสดงความนอบน้อมคุณทั้ง  ๓  ของพระพุทธเจ้า  คือ  พระกรุณาคุณ  พระวิสุทธิคุณ  และพระปัญญาคุณ  จึงเป็นบทที่ชาวพุทธนิยมสวดก่อนจะสวดมนต์
การสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  และพระสังฆคุณ  เป็นการเจริญกรรมฐาน  คือพุทธานุสสติ  ธรรมานุสสติ  และสังฆานุสสติ  บุคคลผู้หมั่นระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยจะเพิ่มพูนศรัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างดี
นอกจากนั้น  ควรสวดบทธรรมจักรทุกวันพระ  จะส่งผลให้ป้องกันภัยอันตราย  และทำให้ผู้สวดประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต  เพราะธรรมจักรเป็นพระธรรมเทศนาแรกที่กล่าวถึงอริยสัจ  ๔  จึงเป็นบทที่เทวดาเคารพบูชายิ่งนัก  คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่าบุคคลที่สวดธรรมจักรนี้ทุกวันพระ  แล้วอธิษฐานให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีความสวัสดี  จะมีผลานิสงส์ทำให้ผู้สวดและผู้ที่ตนแผ่ไปถึงมีความสวัสดี  แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทุกอย่างได้

พระปริตรในปัจจุบัน
พระปริตรที่มีปรากฏในบทสวดมนต์ไทยฉบับปัจจุบันมี  ๑๒  ปริตร  เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์เพิ่มมังคลปริตร  วัฏฏกปริตร  อภยปริตร  และชัยปริตร  รวม  ๔  บท  ทั้งไม่จัดอิสิคิลิปริตรไว้ในบทสวดมนต์เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น  ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัยหรือเมตตาภาวนา

ส่วนในบทสวดมนต์ฉบับพม่ามีพระปริตร  ๑๑  ปริตร  เพราะโบราณาจารย์ชาวพม่ารวมอภยปริตรและชัยปริตรไว้แป็นปริตรเดียว  ชื่อว่า  ปุพพัณหสูตร  คือสูตรที่ควรสาธยายในเวลาเช้า  ในสูตรนั้นท่านเพิ่มเทวตาอุยโยชนคาถา  สัพพมังคลคาถา  และ  ๓  คาถาสุดท้ายของรัตนสูตรเข้ามาอีกด้วย  สำหรับมังคลปริตรและวัฏฏกปริตรพบในพระสุตตันตปิฎก  ส่วนอภยปริตรและชัยปริตรโบราณาจารย์ได้แต่งขึ้นมาในภายหลัง

พระปริตรในมิลินทปัญหาและคัมภีร์อรรถกถาต่างๆ  แตกต่างกัน  ส่วนพระปริตรในบทสวดมนต์ไทยและพม่าเหมือนกัน

ประโยชน์ในปัจจุบัน
ในคัมภีร์อรรถกถาพบเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้  เช่น  เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง  พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า  ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้  และเรื่องในสมัยพุทธกาล  มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่า  ได้ถูกเทวดารบกวนจนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้  ต้องเดินทางกลับเมืองสาวัตถี  ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา  ครั้นภิกษุเหล่านั้นหมั่นเจริญเมตตาภาวนา  เทวดาจึงมีไมตริจิตตอบด้วย  และช่วยพิทักษ์คุ้มครองให้ภิกษุเหล่านั้นปฏิธรรมได้โดยสะดวก

นอกจากนี้แล้ว  อานุภาพพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย  ดังพบเรื่องในคัมภีร์อรรถกถาว่า  ในสมัยพุทธกาล  เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย  ๓  อย่าง  คือ  ความอดอยากแร้นแค้น  การเบียดเบียนจากอมุษย์  และการแพร่ของโรคระบาด  พระพุทธเจ้าได้รับนิมนต์เสด็จไปโปรด  พระองค์รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย  ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง




ประโยชน์ในอนาคต
เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จไปโปรดโกสิยชฎิล  ณ  ภูเขานิสภะ  ชฎิลตนนั้นได้พบพระองค์แล้วเกิดโสมนัสปราโมทย์  นำดอกไม้มาประดับเป็นอาสนะที่ประทับ  พระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติในที่นั้นตลอด  ๗  วัน  โกสิยชฎิลได้ยืนประณมมือระลึกถึงพระพุทธคุณตลอด  ๗  วันเช่นกัน  กุศลที่เกิดจากการระลึกถึงพระพุทธคุณนี้  ทำให้โกสิยชฎิลเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดิงส์  ๓  หมื่นกัป  เป็นท้าวสักกะจอมเทพ  ๘๐  ชาติ  เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ๑,๐๐๐  ชาติ  เป็นพระราชานับชาติไม่ถ้วน  ในระหว่างนี้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นเศรษฐีมีทรัพย์  และไม่เคยไปเกิดในอบายภูมิเลย  ในภพสุดท้ายได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ  ท่านปรากฏนามว่า  พระสุภูติเถระ  ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ  ผู้เป็นเลิศในการเจริญฌานประกอบด้วยเมตตาและเป็นทักขิไณยบุคคล


บทขัดพระปริตร
บทขัดพระปริตร  หมายถึง  บทที่เข้ามาคั่นการสวดพระปริตร  คือเมื่อประสงค์จะสาธยายพระปริตรใด  ก็ควรสวดบทขัดพระปริตรนั้นก่อนที่จะสาธยายพระปริตรที่ต้องการ  ที่ประเทศศรีลังกาพระเถระผู้นำสวดมนต์จะต้องสาธยายบทขัดพระปริตรก่อน  หลังจากนั้น  ผู้ร่วมสวดจึงสาธยายพระปริตรพร้อมกัน  ประเพณีนี้ได้สืบทอดมายังประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน  ดังนั้น  ผู้ที่มีเวลาในการสวดมนต์ไม่มากนัก  จึงไม่จำเป็นต้องสวดบทขัดพระปริตร

โบราณาจารย์ได้เรียกบทขัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า  บทขัดตำนาน  คำว่า  ตำนาน  มาจากศัพท์บาลีว่า  ตาณา  ที่แปลว่า  เครื่องป้องกัน  หรือพระปริตรนั่นเอง  บทขัดบางบท  เช่น  บทขัดมังคลปริตร  บทขัดธรรมจักร  แตกต่างกันในฉบับพม่าและฉบับไทย  ในพระปริตรฉบับนี้ผู้แปลได้ใช้ฉบับไทยเป็นหลัก

ประวัติของผู้ประพันธ์บทขัดพระปริตรไม่มีหลักฐานแน่ชัด  ท่านอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  สันนิษฐานว่า  คงเป็นโบราณาจารย์ชาวสิงหลประพันขึ้นหลังพุทธศักราช  ๙๐๐  เพราะเป็นการนำข้อความจากคัมภีร์อรรถกถาที่รจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย์มาแต่งเป็นบทขัด  และประพันธ์ขึ้นก่อนพุทธศักราช  ๒๑๕๓  เพราะปรากฏในปริตตฎีกาซึ่งรจนาที่ประเทศสหภาพพม่าในสมัยนั้น

พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้สวดพระปริตร
พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดพระปริตรเพื่อคุ้มครองตน  เช่น  ในอาฏานาฏิยสูตร  มีพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงเรียนมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  พวกเธอจงศึกษามนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  พวกเธอจงทรงจำมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  ประกอบด้วยประโยชน์  ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง  เพื่อรักษา  เพื่อความไม่เบียดเบียน  เพื่อความอยู่เป็นสุขของภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  และอุบาสิกา
อนึ่ง  พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตรอื่นว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตอนุญาตการแผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง  ๔  ตระกูล  เพื่อคุ้มครองตน  เพื่อรักษาตน  เพื่อกระทำการป้องกันตน



อานิสงส์พระปริตร
 โบราณาจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ดังนี้  คือ
๑.  มังคลปริตร              ทำให้เกิดสิริมงคล  และปราศจากอันตราย
๒.  รัตนปริตร                 ทำให้ได้รับความสวัสดี  และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
๓.  เมตตปริตร               ทำให้หลับเป็นสุข  ตื่นเป็นสุข  ไม่ฝันร้าย  เป็นที่รักของมนุษย์และอมุษย์ทั้งหลาย  เทพพิทักษ์รักษา  ไม่มีภยันตราย  จิตเกิดสมาธิง่าย  ใบหน้าผ่องใส  มีสิริมงคล  ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต  และเกิดเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๔.  ขันธปริตร                 ป้องกันภัยจากอสรพิษ  และสัตว์ร้ายอื่นๆ
๕.   โมรปริตร                 ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
๖.  วัฏฏกปริตร               ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
๗.  ธชัคคปริตร               ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย  และการตกจากที่สูง
๘.  อาฏานาฏิยปริตร       ป้องกันภัยจากอมนุษย์  ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข
๙.  อังคุลิมาลปริตร         ทำให้คลอดบุตรง่าย  และป้องกันอุปสรรคอันตราย
๑๐.  โพชฌังคปริตร         ทำให้มีสุขภาพดี  มีอายุยืน  และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
๑๑.  อภยปริตร                 ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ  และไม่ฝันร้าย
๑๒.  ชัยปริตร                   ทำให้ประสบชัยชนะ  และมีความสุขสวัสดี           

โบราณาจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ
๑.   เจ็ดตำนาน  (จุลราชปริตร)  มี  ๗  ปริตร  คือ
     ๑.  มังคลปริตร                ๒.  รัตนปริตร                  ๓.  เมตตปริตร          ๔.  ขันธปริตร
     ๕.  โมรปริตร                   ๖.  ธชัคคปริตร                ๗.  อาฏานาฏิยปริตร

 ๒.  สิบสองตำนาน  (มหาราชปริตร)  มี  ๑๒  ปริตร  คือ
     ๑.  มังคลปริตร            ๒.  รัตนปริตร              ๓.  เมตตปริตร        ๔.  ขันธปริตร
     ๕.  โมรปริตร               ๖.  วิฏฏกปริตร            ๗.  ธชัคคปริตร       ๘.  อาฏานาฏิยปริตร
     ๙.  อังคุลิมาลปริตร   ๑๐.  โพชฌังคปริตร     ๑๑.  อภยปริตร       ๑๒.  ชัยปริตร

     พระประปริตรที่มาในคัมภีร์มิลินทปัญหามี  ๗  ปริตร  คือ
     ๑.  รัตนปริตร              ๒.  เมตตปริตร             ๓.  ขันธปริตร          ๔.  โมรปริตร
     ๕.  ธชัคคปริตร           ๖.  อาฏานาฏิยปริตร     ๗.  อังคุลิมาลปริตร

     พระปริตรที่มาในคัมภีร์สมันตปาสาทิกาและวิสุทธิมรรคมี  ๕  ปริตร  คือ
     ๑.  รัตนปริตร            ๒.  ขันธปริตร                ๓.  ธชัคคปริตร        ๔.  อาฏานาฏิยปริตร
     ๕.  โมรปริตร

     พระปริตรที่มาในคัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย  อรรถกถามัชฌิมนิกาย  อรรถกถาอังคุตตรนิกาย  อรรถกถาวิภังค์  และอรรถกถามหานิทเทส  มี  ๘  ปริตร  คือ
     ๑.  อาฏานาฏิยปริตร   ๒.  อิสิคิลิปริตร            ๓.  ธชัคคปริตร        ๔.  โพชฌังคปริตร
     ๕.  ขันธปริตร             ๖.  โมรปริตร                ๗.  ปริตร         ๘.  รัตนปริตรเมตต