ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทสวดมนต์พระปริตร 12 ตำนาน

บทสวดมนต์พระปริตร 12 ตำนาน


ช่วงหยุดสงกรานต์ได้มีโอกาสไปทำบุญไหว้พระกับผองเพื่อน และได้รับหนังสือสวดมนต์มา โดยหลวงพ่อที่ให้ท่านบอกว่าการสวดพระปริตร จะเป็นเรือนแก้วที่คอยคุ้มครองเรา จึงได้ลองศึกษาดูว่าบทสวดมนต์ดังกล่าวเป็นอย่างไร เนื่องจากเคยแต่ได้ยิน แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนเลย



อานิสงส์การสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน
การสวดมนต์สวดพระปริตร ถ้าได้ทำเป็นประจำจะเกิดอานุภาพปรากฎให้เห็นกับผู้ที่ปฏิบัติอยู่มากราย ที่ได้เล่าสู่กันฟัง
การสวดมนต์เป็นการอบรมจิตด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ เป็นกิจของชาวพุทธที่ทำกันอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มพูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะกระทำได้
อัญมณีย่อมมีคุณค่า เหมาะแก่ผู้มีฐานะ พระรัตนตรัยก็เช่นเดียวกัน ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่มีใจอันประเสริฐ บุคคลผู้สวดมนต์เป็นนิตย์จะมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุจิตใจได้ดี และมีสง่าราศรี เป็นที่เคารพนับถือของปวงชน

วิธีสวดพระปริตรนั้น ต้องสวดคำบาลีมิให้เพี้ยน สวดคำแปลควบคู่กับคำบาลีไปด้วย เพื่อน้อมใจไปในความหมายแห่งพระพุทธพจน์

การสวดมนต์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องกันมาช้านานของชาวพุทธในหลายประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และเจริญเมตตา จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาอันเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา ดังคำกล่าวว่า “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” คนสมัยก่อนนิยมสวดมนต์ด้วยบทสวดที่เรียกว่า เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน แต่ในปัจจุบัน นิยมสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔

บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า “พระปริตร” แปลว่า “เครื่องคุ้มครอง” เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี
พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏกคือ
๑. เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๒. ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วินัยปิฏก จุฬวรรค และชาดก ทุกนิบาต
๓. โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต
๔. อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๕. โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค
๖. รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๗. วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก
๘. มังคลปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๙. ธชัคคปริตร มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. อังคุลิมาลปริตร มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

คุ้มครองผู้สวด
ใน คัมภีร์อรรถกถามีเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้ เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้ และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่าได้ถูกเทวดารบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับ เมืองสาวัตถี ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจึงปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก
โบราณจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ถึง ๑๒ ประการคือ
๑. เมตตปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๒. ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ
๓. โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
๔. อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
๕. โพชฌังคปริตร ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
๖. ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี
๗. รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
๘. วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
๙. มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย
๑๐. ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง
๑๑. อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย
๑๒. อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย

คุ้มครองผู้ฟัง
อานุภาพ ของพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย คัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่างคือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจากอมนุษย์ และการแพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง
ในคัมภีร์ยังกล่าวไว้ว่า เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีมารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว

การสวดพระปริตรต้องปฏิบัติอย่างไร?
พระปริตรจะมีอนุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยหลัก ๓ ประการคือ
๑. ต้องตั้งจิตใจให้มีเตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๒. ต้องสวดไม่ผิด ออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และรู้ความหมายของบทสวด
๓.ไม่เคยทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา บิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท
นองจากนี้แล้ว ยังต้องไม่มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี มีความเชื่อมั่นในอานุภาพพระปริตรจริง สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้

บทสวดพระปริตรมีอะไรบ้าง?
โบราณจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น ๒ ประเภทคือ
- เจ็ดตำนาน มี ๗ พระปริตรคือ
๑. มังคลปริตร ๒. รัตนปริตร ๓. เมตตปริตร ๔. ขันธปริตร ๕. โมรปริตร ๖. ธชัคคปริตร ๗. อาฏานาฏิยปริตร
- สิบสองตำนาน มี ๑๒ พระปริตร โดยเพิ่มจากเจ็ดตำนานอีก ๕ พระปริตรคือ
๑. วัฏฏกปริตร ๒. อังคุลิมาลปริตร ๓. โพชฌังคปริตร ๔. อภยปริตร ๕.ชัยปริตร
พระปริตรยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และอรรถกถาต่าง ๆ โดยเพิ่ม อิสิคิลิปริตร เป็นอีกหนึ่งปริตรด้วย
พระปริตรที่ปรากฏในบทสวดมนต์ไทย ฉบับปัจจุบันมี ๑๒ ปริตร อิสิคิลิปริตรไม่ได้จัดไว้ในบทสวดมนต์ เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัย หรือเมตตาภาวนา

พระปริตรที่ควรสวดเสมอ ๆ
ผู้มีเวลาน้อย ควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ จึงควรสวดพระปริตร ๔ บทแรก คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เมตตปริตร และขันธปริตร เน้นการเจริญเมตตาภาวนา โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เน้นการเจริญพระพุทธคุณ ผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ควรสวดโพชฌังคปริตร

พระปริตร  แปลว่า  เครื่องคุ้มครอง  คือป้องกันอันตรายภายนอก  มีโจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายใน มีโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น  อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนั้นบังเกิดจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและเป็นผลของการเจริญเมตตาภาวนา  เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาเป็นหลัก  ดังนั้น  ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ  เช่น  ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรื่อง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน  ดังพระพุทธดำรัสว่า  เธอจงเจริญพุทธานุสสติภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม  เพราะผู้เจริญภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ  อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา  ย่อมประสบภัยพิบัติเอง  เหมือนคนที่ใช้มือจับหอกคม  ย่อมได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น

ก่อนจะสวดพระปริตรทุกครั้ง  ผู้สวดควรสวดบทมหานมัสการก่อน หลังจากนั้น  ให้สวดพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  และพระสังฆคุณ  แล้วจึงสวดพระปริตรหรือคาถาอื่นๆ  ต่อไป  บทมหานมัสการนั้นเป็นคำแสดงความนอบน้อมคุณทั้ง  ๓  ของพระพุทธเจ้า  คือ  พระกรุณาคุณ  พระวิสุทธิคุณ  และพระปัญญาคุณ  จึงเป็นบทที่ชาวพุทธนิยมสวดก่อนจะสวดมนต์
การสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  และพระสังฆคุณ  เป็นการเจริญกรรมฐาน  คือพุทธานุสสติ  ธรรมานุสสติ  และสังฆานุสสติ  บุคคลผู้หมั่นระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยจะเพิ่มพูนศรัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างดี
นอกจากนั้น  ควรสวดบทธรรมจักรทุกวันพระ  จะส่งผลให้ป้องกันภัยอันตราย  และทำให้ผู้สวดประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต  เพราะธรรมจักรเป็นพระธรรมเทศนาแรกที่กล่าวถึงอริยสัจ  ๔  จึงเป็นบทที่เทวดาเคารพบูชายิ่งนัก  คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่าบุคคลที่สวดธรรมจักรนี้ทุกวันพระ  แล้วอธิษฐานให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีความสวัสดี  จะมีผลานิสงส์ทำให้ผู้สวดและผู้ที่ตนแผ่ไปถึงมีความสวัสดี  แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทุกอย่างได้

พระปริตรในปัจจุบัน
พระปริตรที่มีปรากฏในบทสวดมนต์ไทยฉบับปัจจุบันมี  ๑๒  ปริตร  เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์เพิ่มมังคลปริตร  วัฏฏกปริตร  อภยปริตร  และชัยปริตร  รวม  ๔  บท  ทั้งไม่จัดอิสิคิลิปริตรไว้ในบทสวดมนต์เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น  ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัยหรือเมตตาภาวนา

ส่วนในบทสวดมนต์ฉบับพม่ามีพระปริตร  ๑๑  ปริตร  เพราะโบราณาจารย์ชาวพม่ารวมอภยปริตรและชัยปริตรไว้แป็นปริตรเดียว  ชื่อว่า  ปุพพัณหสูตร  คือสูตรที่ควรสาธยายในเวลาเช้า  ในสูตรนั้นท่านเพิ่มเทวตาอุยโยชนคาถา  สัพพมังคลคาถา  และ  ๓  คาถาสุดท้ายของรัตนสูตรเข้ามาอีกด้วย  สำหรับมังคลปริตรและวัฏฏกปริตรพบในพระสุตตันตปิฎก  ส่วนอภยปริตรและชัยปริตรโบราณาจารย์ได้แต่งขึ้นมาในภายหลัง

พระปริตรในมิลินทปัญหาและคัมภีร์อรรถกถาต่างๆ  แตกต่างกัน  ส่วนพระปริตรในบทสวดมนต์ไทยและพม่าเหมือนกัน

ประโยชน์ในปัจจุบัน
ในคัมภีร์อรรถกถาพบเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้  เช่น  เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง  พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า  ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้  และเรื่องในสมัยพุทธกาล  มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่า  ได้ถูกเทวดารบกวนจนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้  ต้องเดินทางกลับเมืองสาวัตถี  ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา  ครั้นภิกษุเหล่านั้นหมั่นเจริญเมตตาภาวนา  เทวดาจึงมีไมตริจิตตอบด้วย  และช่วยพิทักษ์คุ้มครองให้ภิกษุเหล่านั้นปฏิธรรมได้โดยสะดวก

นอกจากนี้แล้ว  อานุภาพพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย  ดังพบเรื่องในคัมภีร์อรรถกถาว่า  ในสมัยพุทธกาล  เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย  ๓  อย่าง  คือ  ความอดอยากแร้นแค้น  การเบียดเบียนจากอมุษย์  และการแพร่ของโรคระบาด  พระพุทธเจ้าได้รับนิมนต์เสด็จไปโปรด  พระองค์รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย  ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง




ประโยชน์ในอนาคต
เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จไปโปรดโกสิยชฎิล  ณ  ภูเขานิสภะ  ชฎิลตนนั้นได้พบพระองค์แล้วเกิดโสมนัสปราโมทย์  นำดอกไม้มาประดับเป็นอาสนะที่ประทับ  พระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติในที่นั้นตลอด  ๗  วัน  โกสิยชฎิลได้ยืนประณมมือระลึกถึงพระพุทธคุณตลอด  ๗  วันเช่นกัน  กุศลที่เกิดจากการระลึกถึงพระพุทธคุณนี้  ทำให้โกสิยชฎิลเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดิงส์  ๓  หมื่นกัป  เป็นท้าวสักกะจอมเทพ  ๘๐  ชาติ  เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ๑,๐๐๐  ชาติ  เป็นพระราชานับชาติไม่ถ้วน  ในระหว่างนี้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นเศรษฐีมีทรัพย์  และไม่เคยไปเกิดในอบายภูมิเลย  ในภพสุดท้ายได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ  ท่านปรากฏนามว่า  พระสุภูติเถระ  ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ  ผู้เป็นเลิศในการเจริญฌานประกอบด้วยเมตตาและเป็นทักขิไณยบุคคล


บทขัดพระปริตร
บทขัดพระปริตร  หมายถึง  บทที่เข้ามาคั่นการสวดพระปริตร  คือเมื่อประสงค์จะสาธยายพระปริตรใด  ก็ควรสวดบทขัดพระปริตรนั้นก่อนที่จะสาธยายพระปริตรที่ต้องการ  ที่ประเทศศรีลังกาพระเถระผู้นำสวดมนต์จะต้องสาธยายบทขัดพระปริตรก่อน  หลังจากนั้น  ผู้ร่วมสวดจึงสาธยายพระปริตรพร้อมกัน  ประเพณีนี้ได้สืบทอดมายังประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน  ดังนั้น  ผู้ที่มีเวลาในการสวดมนต์ไม่มากนัก  จึงไม่จำเป็นต้องสวดบทขัดพระปริตร

โบราณาจารย์ได้เรียกบทขัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า  บทขัดตำนาน  คำว่า  ตำนาน  มาจากศัพท์บาลีว่า  ตาณา  ที่แปลว่า  เครื่องป้องกัน  หรือพระปริตรนั่นเอง  บทขัดบางบท  เช่น  บทขัดมังคลปริตร  บทขัดธรรมจักร  แตกต่างกันในฉบับพม่าและฉบับไทย  ในพระปริตรฉบับนี้ผู้แปลได้ใช้ฉบับไทยเป็นหลัก

ประวัติของผู้ประพันธ์บทขัดพระปริตรไม่มีหลักฐานแน่ชัด  ท่านอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  สันนิษฐานว่า  คงเป็นโบราณาจารย์ชาวสิงหลประพันขึ้นหลังพุทธศักราช  ๙๐๐  เพราะเป็นการนำข้อความจากคัมภีร์อรรถกถาที่รจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย์มาแต่งเป็นบทขัด  และประพันธ์ขึ้นก่อนพุทธศักราช  ๒๑๕๓  เพราะปรากฏในปริตตฎีกาซึ่งรจนาที่ประเทศสหภาพพม่าในสมัยนั้น

พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้สวดพระปริตร
พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดพระปริตรเพื่อคุ้มครองตน  เช่น  ในอาฏานาฏิยสูตร  มีพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงเรียนมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  พวกเธอจงศึกษามนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  พวกเธอจงทรงจำมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร  ประกอบด้วยประโยชน์  ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง  เพื่อรักษา  เพื่อความไม่เบียดเบียน  เพื่อความอยู่เป็นสุขของภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  และอุบาสิกา
อนึ่ง  พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตรอื่นว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตอนุญาตการแผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง  ๔  ตระกูล  เพื่อคุ้มครองตน  เพื่อรักษาตน  เพื่อกระทำการป้องกันตน



อานิสงส์พระปริตร
 โบราณาจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ดังนี้  คือ
๑.  มังคลปริตร              ทำให้เกิดสิริมงคล  และปราศจากอันตราย
๒.  รัตนปริตร                 ทำให้ได้รับความสวัสดี  และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
๓.  เมตตปริตร               ทำให้หลับเป็นสุข  ตื่นเป็นสุข  ไม่ฝันร้าย  เป็นที่รักของมนุษย์และอมุษย์ทั้งหลาย  เทพพิทักษ์รักษา  ไม่มีภยันตราย  จิตเกิดสมาธิง่าย  ใบหน้าผ่องใส  มีสิริมงคล  ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต  และเกิดเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๔.  ขันธปริตร                 ป้องกันภัยจากอสรพิษ  และสัตว์ร้ายอื่นๆ
๕.   โมรปริตร                 ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
๖.  วัฏฏกปริตร               ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
๗.  ธชัคคปริตร               ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย  และการตกจากที่สูง
๘.  อาฏานาฏิยปริตร       ป้องกันภัยจากอมนุษย์  ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข
๙.  อังคุลิมาลปริตร         ทำให้คลอดบุตรง่าย  และป้องกันอุปสรรคอันตราย
๑๐.  โพชฌังคปริตร         ทำให้มีสุขภาพดี  มีอายุยืน  และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
๑๑.  อภยปริตร                 ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ  และไม่ฝันร้าย
๑๒.  ชัยปริตร                   ทำให้ประสบชัยชนะ  และมีความสุขสวัสดี           

โบราณาจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ
๑.   เจ็ดตำนาน  (จุลราชปริตร)  มี  ๗  ปริตร  คือ
     ๑.  มังคลปริตร                ๒.  รัตนปริตร                  ๓.  เมตตปริตร          ๔.  ขันธปริตร
     ๕.  โมรปริตร                   ๖.  ธชัคคปริตร                ๗.  อาฏานาฏิยปริตร

 ๒.  สิบสองตำนาน  (มหาราชปริตร)  มี  ๑๒  ปริตร  คือ
     ๑.  มังคลปริตร            ๒.  รัตนปริตร              ๓.  เมตตปริตร        ๔.  ขันธปริตร
     ๕.  โมรปริตร               ๖.  วิฏฏกปริตร            ๗.  ธชัคคปริตร       ๘.  อาฏานาฏิยปริตร
     ๙.  อังคุลิมาลปริตร   ๑๐.  โพชฌังคปริตร     ๑๑.  อภยปริตร       ๑๒.  ชัยปริตร

     พระประปริตรที่มาในคัมภีร์มิลินทปัญหามี  ๗  ปริตร  คือ
     ๑.  รัตนปริตร              ๒.  เมตตปริตร             ๓.  ขันธปริตร          ๔.  โมรปริตร
     ๕.  ธชัคคปริตร           ๖.  อาฏานาฏิยปริตร     ๗.  อังคุลิมาลปริตร

     พระปริตรที่มาในคัมภีร์สมันตปาสาทิกาและวิสุทธิมรรคมี  ๕  ปริตร  คือ
     ๑.  รัตนปริตร            ๒.  ขันธปริตร                ๓.  ธชัคคปริตร        ๔.  อาฏานาฏิยปริตร
     ๕.  โมรปริตร

     พระปริตรที่มาในคัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย  อรรถกถามัชฌิมนิกาย  อรรถกถาอังคุตตรนิกาย  อรรถกถาวิภังค์  และอรรถกถามหานิทเทส  มี  ๘  ปริตร  คือ
     ๑.  อาฏานาฏิยปริตร   ๒.  อิสิคิลิปริตร            ๓.  ธชัคคปริตร        ๔.  โพชฌังคปริตร
     ๕.  ขันธปริตร             ๖.  โมรปริตร                ๗.  ปริตร         ๘.  รัตนปริตรเมตต