ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การบูชาพระพุธ


นพเคราะห์ประจำวันพุธ
ตำนานพระพุธ
ตามตำราว่าพระพุธเป็นโอรสพระจันทร์กับนางดารา พระจันทร์หลงรักเทวีนามว่า ดารา ซึ่งเป็นภรรยาของพระพฤหัสบดี พระจันทร์ได้แย่งชิงพระนางดารามาจากพระพฤหัสบดี พระพฤหัสบดีจึงป่าวประกาศทั่วสวรรค์ว่า พระจันทร์ได้กระทำความชั่ว แย่งชิงนางจากผู้อื่น พระพฤหัสบดีขอให้พระจันทร์คืนนางดาราให้ แต่พูดเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง พระพฤหัสบดีจึงไปขอร้องพระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ให้ช่วย พระอินทร์เห็นด้วยว่าพระจันทร์ประพฤติผิด จึงได้ต่อสู้ทำสงครามกันเป็นเรื่องใหญ่โตบนสวรรค์
การต่อสู้ระหว่างพระจันทร์กับพระอินทร์ยืดเยื้อยาวนาน พระจันทร์ได้เปรียบพระอินทร์เพราะมีอสูรเป็นบริวารคอยช่วยเหลือ พระพรหมผู้สร้างโลกซึ่งมองเห็นเหตุการณ์มาโดยตลอดก็เกิดความเบื่อหน่ายจึงเข้าไปยุติ ให้ทั้งสองฝ่ายสงบศึก พระพรหมมหาเทพได้ใช้วาจาตักเตือนพระจันทร์ให้รู้ผิดชอบชั่วดี จนพระจันทร์สำนึกผิด ยอมคืนพระนางดาราให้แก่พระพฤหัสบดี
ระหว่างที่พระจันทร์อยู่กับพระนางดารา ก็ได้ให้กำเนิดเทพบุรุษขึ้นมา ก็คือ พระพุธ นั่นเอง พระพุธจึงเป็นบุตรที่เกิดมาโดยการประพฤติผิดของพระจันทร์
ถ้ากล่าวตามตำราของพระศิวะ ก็มีอยู่ว่า พระศิวะมหาเทพได้นำศีรษะช้างจำนวน 17 เชือก มาบดป่นลงห่อผ้าสีเขียว พรมน้ำเทวมนต์อมฤต เสกด้วยคาถาแห่งพระองค์ ปรากฎเป็นพระพุธขึ้นมา ลักษณะคือบุรุษผู้เรืองฤทธิ์ เรียนรู้ได้ว่องไว มีความฉลาดหลักแหลม มีพละกำลังเหมือนช้าง อิริยาบถสุขุม อ่อนหวาน เชิด มีไหวพริบ มีสง่าราศี เจรจาไพเราะเสนาะโสต
วิธีบูชาพระพุธ ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกัน
ผู้บูชาพระพุธ พระพุธเป็นเทพเจ้าแห่งการพูดจา การโน้มน้าว คารมคมคาย พูดจาฟังไพเราะรื่นหู มีแต่ความน่าสนใจ
เป็นเทพแห่งความฉลาดรอบรู้ มีปัญญา มีความน่าเชื่อถือ มีความสง่างามเป็นที่หมายปองของผู้อื่น
ผู้บูชาพระพุธก็จะได้รับพรต่างๆ ดังบุคลิกภาพที่กล่าวมา ได้รับปัญญาที่ล้ำเลิศ เกิดโอกาสในการแสวงหาความรู้
ได้พรด้านการติดต่อประสานงาน การเจรจา การต่อรอง การโน้มน้าวจิตใจคน
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธคือ ปางอุ้มบาตร
คาถาบูชาพระพุธ
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 4 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันพุธ ให้ใช้ธูป 17 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บูชาพระพุธ ด้วย คาถานารายณ์เกลื่อนสมุทร
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
สวดตามกำลังเทพพระพุธ คือ 17 จบ
(บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ)
(หากเกิดวันพุธกลางคืน ให้บูชาพระราหู)
บทสวดบูชาพระพุธ
อิติปิโส ภะคะวา พระพุธจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม



บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันพุธสัพพาสี วิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัม ภะณามะ เห
ประวัติย่อพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

ภายหลังจากส่งพระอรหัตนสาวกทั้ง 60 องค์ออกไปประกาศเผยแผ่พระศาสนาแล้วพระพุทธองค์ได้เด็จไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อปลดเปลื้องปฏิญญาที่ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารตั้งแต่สมัยที่ยังแสวง หาโมกขธรรม เมื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิมพิสารพร้อมข้าราชบริพารให้เกิดความเลื่อมใส ได้แล้ว ก็ได้เสด็จไปประทับที่พระเวฬุวันซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างอุทิศถวายให้เป็น วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าพระโอรสได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว และตอนนี้กำลังประกาศพระศาสนาอยู่ ณ เมืองราชคฤห์ จึงทรงส่งทูตพร้อมบริวารไปทูลนิมนต์ให้พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองกบิลพัส ดุ์ แต่คณะทูตที่ทรงส่งไปถึง 9 ครั้ง ต่างเงียบหายไปหมดในที่สุด ครั้งที่ 10 จึงทรงส่งกาฬุทายีอำมาตย์พร้อมบริวารไปทูลนิมนต์จึงสำเร็จตามประสงค์
ในการเสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนั้น พระพุทธองค์ได้สรัสมหาเวสสันดรชาดกในท่ามกลางสมาคมพระญาติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างเกิดปิติยินดี แล้วกราบทูลลากลับมายังพระราชนิเวสน์ของตนๆ โดยไม่มีใครทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เสวยพระกระยาหารของเช้าวัน รุ่งขึ้นเลยเนื่องจากดำริว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองของพระองค์เองแล้ว ถึงเวลาก็คงเสด็จเข้าไปเสวยในพระราชวังเอง
ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์จึงพาหมู่ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในเมืองกบิลพัสดุ์จนทำให้เกิดแตก ตื่นกันขึ้นทั่วทั้งพระนคร เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงเสด็จออกไปประทับยืน ณ เบื้องพระพักตร์พระศาสดาและตรัสพ้อว่าเหตุไฉนพระศาสดาจึงทำให้พระองค์ได้รับ ความอับอายเยี่ยงนี้ เพราะวงศ์ของพระองค์เป็นกษตริย์ ไม่เคยมีกษัตริย์พระองค์ใดที่จะต้องเสด็จเที่ยวภิกขาจาร (เพื่อขออาหารคนื่นยังชีพ) เช่นนี้เลย
พระพุทธองค์จึงตรัสชี้แจงว่า พระองค์กำลังทำตามพุทธวงศ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายปวงอันมีพระพุทธทีปังกร เป็นต้น ล้วนสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการภิกขาจารทั้งนั้น แล้วตรัสพระคาถาว่าบุคคคลไม่ควรประมาท ในบิณฑบาตที่ตนจะพึงลุกรับ
ควรประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ในเวลาจบพระคาถา พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันในท่ามกลางถนนนั่นเอง และได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์พร้อมหมู่ภิกษุเสด็จเข้าไปเสวยภัตตาหารในพระ ราชนิเวสน์
ด้วยพระพุทธจริยาวัตรดังกล่าวจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสติรำลึกถึงการเสด็จออกโปรดเวไนยสัตว์ในตอนเช้าของพระพุทธองค์ และกลายเป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิด สำหรับผู้เกิดวันพุธ(กลางวัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น