ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ไหว้พระ สวดมนต์ กับวัดหลวงพ่อโสธร

ไหว้พระสวดมนต์ หลวงพ่อโสธร

ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
อันบุญบารมีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ใครๆ จะปฏิเสธไม่ได้เลย และจะแข่งขันให้เท่าเทียมกันนั้นก็ได้ยาก จะมีบ้างก็บางสถานที่ บางท่านบางคนทั้งยังเป็นสิ่งที่เหนือเหตุผลของการพิสูจน์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งมหัศจรรย์นั้นเป็นอจินตัยไม่ควรคิดค้นหาเหตุผล ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารจะดลบันดาลให้เกิดมีเฉพาะผู้มีบุญวาสนา และผู้เลื่อมใสศรัทธาเชื่อมั่นเท่านั้น หลวงพ่อโสธรองค์หนึ่งที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นที่รู้จักเคารพบูชาของประชาชนทั้งหลาย หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปรางค์ขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนลงลักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า “พระลาว” ซึ่งพระชนิดนี้มีชื่อว่าวัดหงษ์

โดยที่วัดนี้มีเสาใหญ่ มีหงษ์เป็นเครื่องหมายติดอยู่กับยอดเสา วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงด้านทิศตะวันตก สถานที่ตั้งวัดแต่ดั้งเดิมนั้น เวลานี้ถูกน้ำเซาะพังเป็นแม่น้ำไปหมดแล้ว วัดนี้ใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างมานานแล้ว ต้นเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่า โสทรหรือ โสธร นั้นเล่ากันว่ากาลต่อมาหงษ์ใหญ่ที่ติดอยู่บนยอดเสานั้น พลัดตกลงมาหักทำลายคงเหลือแต่เสา จึงได้เอาผ้าผืนใหญ่ทำเป็นธงขึ้นไปแขวนไว้บนยอดเสาแทนหงษ์ประชาชนก็เลยเรียกชื่อตามนิมิตเครื่องหมายนั้นว่า วัดเสาธง นานมาเสาธงนี้ได้ถูกลมพายุพัดหักโค่นลงมาเป็น 2 ท่อน ชาวบ้านก็เลยถือเอานิมิตที่เสาธงหักเป็นท่อนนั้นตั้งเป็นชื่อวัดว่า “วัดเสาทอน” อยู่สิ้นกาลช้านาน จวบจนถึงสมัยที่มีพระพุทธรูป 3 องค์ พี่น้องล่องลอยน้ำมาจากเหนือ และในจำนวนพระพุทธรูป 3 องค์ นั้นได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ 1 องค์ คือ หลวงพ่อโสธร และปรางหลังครั้งหลังก่อนหลวงพ่อโสธรจะมีชื่อเรียกมาอย่างไรไม่มีใครทราบ

เมื่อได้หลวงพ่อมาไว้สักการะบูชาแล้ว ก็ได้มีท่านผู้รู้ออกความเห็นว่า วัดนี้ยังเรียกชื่อวัดกันไม่แน่นอน จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดโสทร” อันหมายความว่า วัดพระ 3 องค์ พี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนเป็นชื่อวัดโสทรแล้ว หมู่บ้านและคลองที่ขึ้นอยู่กับวัดนี้ก็ได้นามเปลี่ยนตามวัดไปด้วย เดิมทีเดียววัดนี้ใช้ตัวหนังสือเขียนว่า “โสทร” ไม่ได้เขียนว่า “โสธร” ดังปัจจุบันนี้ แต่เนื่องด้วยพระพุทธรูปที่ได้มาคือหลวงพ่อโสธรนั้น มีอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏ และรูปทรงท่านสวยงามมาก จึงได้เขียนและชื่อวัดว่า “วัดโสธร” ซึ่งมีความหมายว่า “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์” มาจนทุกวันนี้
คำว่า “โสธร” นี้มีพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่า เป็นนามที่ศักดิ์สิทธิ์ (โส) เป็นอักขระสำเร็จรูป ป้องกันทุกข์โศกโรคภัยได้ทั้งปวง (ธ) นั้นเป็นพยัญชนะอำนาจ มีตบะเดชานุภาพ (ร) เป็นอักษรมหานิยมเป็นที่ชื่นชมของเทวดาและมนุษย์
         เมื่อ พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระสังฆราชเสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์ที่วัดโสธร ทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดนี้ไม่ใช่คนที่ไม่รู้ เพราะเป็นนามที่ไพเราะทั้งแปลก็ได้ใจความดังนี้ หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรนานเท่าใด ไม่มีใครทราบได้แน่นอนพอจะมีเค้าตามคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยงถึง หลวงพ่อวัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงครามและหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพระพี่น้องกันและชาวบ้านแหลมได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำเมื่อ พ.ศ.2313 จึงคาดคะเนเอาว่าหลวงพ่อก็คงมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่แน่นัก
         ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบ ๆ กันมาหลายกระแส ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับฟังมาจากบรรพบุรุษเล่าให้ฟังต้องกันว่า “หลวงพ่อโสธร” ลอยน้ำมาตามคำว่า มีพระพี่น้องชายกัน 3 องค์ อยู่ทางเมืองเหนือแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ล่องลอยมาตามแม่น้ำจากทางทิศเหนือ เรื่อยมาจามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่สุดมาผุดขึ้นใน แม่น้ำบางปะกง ณ ที่ตำบลหนึ่ง และแสดงปาฏิหารย์ลอยทวนกระแสน้ำให้ประชาชนเห็นทั้ง 3 องค์ ประชาชนแถบนั้นต่างพร้อมใจกันอาราธนาเอาเชือกพรวนมนิลาลงไปผูกมัดที่องค์หลวงพ่อทั้ง 3 แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 กว่าคนก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เชือกขนาดใหญ่ที่ผูกองค์หลวงพ่อทั้ง 3 ก็ขาดฉุดไม่สำเร็จตามความประสงค์ ครั้นแล้วหลวงพ่อทั้งสามองค์ก็จมน้ำหายไปต่อหน้าคนทั้งหมด สถานที่พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ลอยทวนน้ำมานั้นเลยได้ชื่อว่า “ตำบลสามพระทวน” แต่ต่อมากลับเรียกว่า สัมปทวน ได้แก่แม่น้ำหน้าวัดสมปทวน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันนี้

ต่อจากนั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ก็ล่องลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธร แสดงอภินิหารผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกันกับชาวสัมปทวน แต่ก็ไม่สำเร็จหมู่บ้านบางนั้นจึงได้ชื่อว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ก็ล่องลอยทวนน้ำขึ้นมาถึงและลอยวนอยู่ที่หัวเลี้ยว ตรงกองพันทหารช่างที่ 2 ปัจจุบัน สถานที่พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์มาลอยวนอยู่นั้นจึงเรียกกันว่า แหลมหัววน และได้จมน้ำหายไปหลังจากนั้นพระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่ ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ ล่อยลอยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมงอาราธนาขึ้นได้ และประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญอยู่ที่วัดบ้านแหลมเราเรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ทัดเทียมกับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ลอยล่องไปผุดขึ้นที่ปากคลองสำโรง ชาวบ้านแถบนั้นได้อาราธนาขึ้นแพใช้เรือพายลายจูง ทั้งอธิษฐานว่าจะขึ้นเป็นมิ่งขวัญที่ใด ก็ขอให้แพนั้นจงหยุดอยู่กับที่ แล้วล่องมาตามลำคลองแพนั้นก็มาหยุดอยู่หน้าวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบางพลีก็ได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานอยู่ทีวัดบางพลีใหญ่ใน ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพเลื่อมใสมากมายทัดเทียมกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร ส่วนพระพุทธรูปองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้ว ก็มาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร

กล่าวกันว่าประชาชนจำนวนมากทำการฉุดลากขึ้นโดยได้มีอาจารย์ผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์กระทำตามพิธีการอันถูกต้อง แล้วเอาด้านสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง นำมาประดิษฐานในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภช และให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร องค์หลวงพ่อโสธรจริง ๆ นั้นในสมัยที่ลองลอยน้ำมาเดิม เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิเพชร หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก
         ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายหน้าฝูงคนที่มีตัณหาและความโลภแรงกล้ามีอัธยาศัยเป็นบาปลามกไม่มีความศรัทธาเลื่อมใส จักนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจะไม่เป็นการปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฏที่เห็นในปัจจุบันนี้
         สถานที่วัดโสธรตั้งอยู่เดิมภายแรกนั้น ทางบกเป็นป่ามีหมู่บ้านคนน้อยมาก การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก เมื่อหลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้ว ประชาชนชาวเรือนับถือว่า ถ้าได้บอกขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็ซื้อง่ายขายคล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมาในแม่น้ำพอถึงที่ตรงกับโบสถ์หลวงพ่อโสธรแล้ว ผู้ที่นิยมนับถือและเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร ก็วักเอาน้ำในแม่น้ำซึ่งนับถือว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้าง ลูบศีรษะบ้าง ล้างหน้าประพรมเรือสินค้าในเรือ ดังได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ครั้นต่อมาการคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น จึงมีผู้คนไปนมัสการหลวงพ่อกันมากขึ้น ผู้ใดเจ็บป่วยก็มาขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อโสธร และก็ได้รับสมความปรารถนาเป็นส่วนมาก กิติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาลไปในถิ่นต่าง ๆ มูลเหตุที่มีงานสมโภชนั้น

เล่ากันว่า สมัยหนึ่งบ้านโสธรเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนแล้งข้าวกล้าในนาเหี่ยวแห้งตาย สัตว์พาหนะเกิดโรคระบาด ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคฝีดาษล้มเจ็บลงตามกัน ผู้ที่พอหนีได้ก็ทิ้งสมบัติบ้านเรือนหนีเอาตัวรอด ผู้ที่ป่วยไปไม่ไหวก็นอนรอวันตายของตนอยู่ ในกาลนั้นยังมีบุรุษหัวหน้าครอบครัว ๆ หนึ่งก็ได้เป็นโรคนี้ เมื่อเห็นว่าไม่มีคนที่พอจะเป็นที่พึ่งกันได้ ก็เลยหันหน้าเข้าพึ่งสรณะนมัสการอธิษฐานบนบานขอความคุ้มครองรักษาจากหลวงพ่อ โสธรในวิหาร รับเอายาดีของหลวงพ่อโสธรมา 3 อย่าง คือ ขี้ธูป 1 ดอกไม้เหี่ยวแห้งที่บูชาแล้ว 1 และน้ำมนต์จากหลวงพ่อโสธร 1 เอามาต้มกินทาอาบทั่วสรรพางค์กาย ปรากฏว่าได้ผลสมปรารถนา โรคภัยต่าง ๆ หายเป็นปกติด้วยความดีใจที่โรคหายสมประสงค์จึงจัดให้มีการสมโภชแก้บนถวายหลวงพ่อแต่นั้นมา กิติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร ก็แพร่ไปทั่วในถิ่นต่าง ๆ กว้างขวางมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือนับถือบูชาว่าหลวงพ่อโสธรศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดปรารถนาสิ่งใดที่ชอบธรรม ท่านก็ประสิทธิ์ประสาทให้สมประสงค์ การสมโภชแก้บนจึงมีขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
         มีพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับหลวงพ่อโสธร ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2451 ไว้ดังนี้
         “กลับมาแวะวัดโสธร” ซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า ยโสธรจะให้เกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้าง เมื่อเสด็จกลับจากการไปตีเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ หรือเมื่อใดนั้นเป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเป็นหมดดีนั้น คือ องค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเป็นทำนองเดียวกันกับพระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายเป็นด้วยฝีมือผู้ปั้นไปว่า ลอยน้ำมาก็เป็นความจริงเพราะเป็นศิลาคงจะไม่ได้ทำในที่นี้”
อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร มีมากเหลือที่จะเล่าสู่กันฟังให้หมดได้ เพราะหลวงพ่อโสธรเปรียบเสมือนเป็นต้นโพธิ์ไทรอันใหญ่ ให้สรรพสัตว์ได้พำนักอาศัย หลวงพ่อโสธรเป็นร่มใหญ่กางกั้นสรรพภัยอันตราย ความเดือดร้อนลำเค็ญให้สรรพสัตว์ได้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นแพทย์วิเศษพยาบาลผู้อาพาธให้หายขาดไม่กลับคืน เป็นสรณะที่พึ่งพิงของหมู่บริษัทที่ถูกภัยคุกคามเป็นนิธิบ่อบุญกุศลของทายกทายิกาผู้ใฝ่หาบุญกุศลเป็นหมอดูพยากรณ์ทายโชคชะตาวาสนาทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ให้ทุกท่านผู้ต้องการทราบหลวงพ่อเป็นสัพพัญญูสำเร็จวิชาทุกอย่างทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่าหลวงพ่อ

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร

         หลวงพ่อโสธรเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนพุทธบริษัททั้งใกล้และไกลเป็นที่นับถือ และที่ผู้ไปนมัสการไม่ขาด ทางวัดจึงจัดให้มีงานเทศกาลฉลององค์หลวงพ่อปีหนึ่งมีสองครั้ง คือ
1. งานเดือน 5 เรียกว่างานกลางเดือน 5 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
2. งานเดือน 12 เรียกว่างานกลางเดือน 12 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน

คำอาราธนาหลวงพ่อโสธร

กายานะ วาจายะวะ วาโสธะรัง
นามะ อิติปาริหะ ริยะกาง
พุทธธะรูปัง อะหังปิ


คาถาหลวงพ่อโสธร

นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูพาลวินาศสันติ
นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กาโร ศรีศากกะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง
พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหาปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคะวะโห อะระหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา นะมามิหัง
................
 
คาถาหลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วว่าคาถานี้ทุกวันจะปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งปวง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดชีวิต อีกทั้งมีเมตตา มหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง นำมาซึ่งโภคทรัพย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น