ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

พระคาถาชินบัญชร

 

พระคาถาชินบัญชร (ชินบัญชร คำอ่าน ชินนะบันชอน)
ฉบับที่ถูกต้อง
สำนักธรรมพรหมรังสี
คติธรรมขององค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ "อ่อนในแข็งนอกวิสัยไพร่ อ่อนนอกแข็งในวิสัยปราชญ์"

สำนักธรรมพรหมรังสี ๒๘๗/๙ ซอยพณิชยการธนบุรี ถนนจรัลสนิทวงศ์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

วิธีสวดบูชาพระคาถาชินบัญชร
ให้เริ่มต้นครั้งแรกของการสวดท่องในวันพฤหัสบดี ภายหลังจากอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด และทำจิตใจให้สบาย ถ้าตอนเช้าใส่บาตรให้เจ้ากรรมนายเวรได้ด้วยยิ่งดี และเตรียมเครื่องสักการะดังนี้
๑. ดอกบัวสีขาว ๕ (ห้า) ดอก (ถ้าไม่มีใช้สีอื่น หรือดอกไม้อื่น)
๒. ธูปหอม ๕ (ห้า) ดอก
๓. เทียนสีขาว (ขี้ผึ้ง) ๕ (ห้า) เล่ม
๔. เงิน ๒๕ (ยี่สิบห้า) สตางค์ (ให้ใส่บาตรพระไป)
๕. ผ้ากราบพระ ๑ (หนึ่ง) ผืน

วิธีสวดบูชา
๑. ให้บูชาพระรัตนตรัยและกล่าวถวายชีวิตด้วยเครื่องสักการะที่เตรียม
๒. อธิษฐานจิต ขออนุญาตจากองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ (ผู้เป็นเจ้าของ) และขอบารมีให้สวด ท่องจำได้แม่นยำและถูกต้อง
๓. สวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ พระสังฆคุณ
๔. สวดพระคาถาชินบัญชร (วางพระคาถาแล้วพนมมือสวด)
๕. แผ่เมตตา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย และกรวดน้ำไปให้เจ้ากรรมนายเวรและผู้ล่วงลับไปแล้ว

หมายเหตุ
หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ให้นำพระคาถาชินบัญชรมาท่อง บางท่านจะท่องได้ในวันนั้น แต่อย่างช้าไม่เกิน ๕ (ห้า) วัน

พระคาถาชินบัญชร
ฉบับที่ถูกต้อง
จากจารึกที่พระปางไสยาสน์ พระปางกำแพงศอก และพระรูปเหมือน ร.ศ. ๗๙, ๘๐

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวามารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโรจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะ คุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะมะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
เกเสนเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุรีโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิปุงคะโว
กุมาระ กัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โสมัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลีนันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
เสสา สีติ มะหาเถรา ชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมา ละกัง
ขันธะโมระ ปะริตตัญจะ อาฏา นาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานา พะละสังยุตตา สัตตะ ปาการะลังกะตา
วาตะ ปิตตา ทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุ ปัททะวา
อาเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะ ชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร
ชินะปัญชะระ มัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหิตะเล
สะทาปาเลนตุ หัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
อิจเจวะ มันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินา นุภาเวนะ ชิตุ ปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตา ริสังโค
สังฆา นุภาเวนะ ชิตัน ตะราโย จะรามิ
สัทธัมมา นุภาวะ ปาลิโต ติ ชินะ ปัญชะระ ปะริตตังฯ

ความหมายของพระคาถาชินบัญชร
ข้าพเจ้าขออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงเสด็จมาสถิต ณ บนศีรษะของข้าพเจ้า ขออัญเชิญพระธรรมผู้เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาจงสถิตในดวงตาทั้งสองของข้าพเจ้า ขออัญเชิญพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐผู้ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณงามความดีทั้งปวงจงสถิตในทรวงอกของข้าพเจ้า
ขออาราธนาพระอนุรุทธะจงสถิตมั่นอยู่ในดวงใจของข้าพเจ้า พระสารีบุตรจงสถิตอยู่ ณ เบื้องขวา พระอัญญาโกณฑัญญะจงสถิตอยู่ ณ เบื้องหลัง พระโมคคัลลานะจงสถิตอยู่ ณ เบื้องซ้าย
ขออาราธนาพระอานนท์และพระราหุลจงสถิตอยู่ ณ หูเบื้องขวา พระกัสสปะและพระมหานามะจงสถิตอยู่ ณ หูเบื้องซ้าย
ขออาราธนาพระโสภีโตจอมปราชญ์ผู้มีกำลังดังแสงพระอาทิตย์จงสถิตอยู่ ณ ปลายเส้นผม
ขออาราธนาพระกุมารกัสสปะจงมาเฉลยคำพูดของข้าพเจ้าให้ไพเราะจับใจแก่ผู้ฟัง
ขออารธนาพระปุณณะ พระองคุลีมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสิวลีจงมาสถิตอยู่ ณ หน้าผากของข้าพเจ้า
ขออารธนาพระอริยสงฆ์มหาเถระทั้งแปดสิบผู้รุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีลจงสถิตอยู่ ณ อวัยวะน้อยใหญ่ของข้าพเจ้า
ขออารธนาพระรัตนสูตรจงสถิตอยู่ ณ เบื้องหน้า พระเมตตสูตรจงสถิตอยู่ ณ เบื้องขวา พระธชัคคสูตรจงสถิตอยู่ ณ เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลปริตตสูตรจงสถิตอยู่ ณ เบื้องซ้าย พระขันธโมรปริตตสูตรและพระอาฏานาฏิยปริตตสูตรจงสถิตมั่นเป็นหลังคา
ขออัญเชิญพระสูตรที่เหลือทั้งหมดจงมาเป็นกำแพงปราการแก้วเจ็ดชั้น คอยกำจัดและสะกัดกั้นโรคลม โรคดีและขึ้นชื่อว่าโรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกภายในกายทวาร และรวมทั้งหมู่คนอันธพาลทั้งหลายจงอันตรธานสูญสิ้น
ด้วยเดชเดชาแห่งพระพุทธานุภาพ
ด้วยเดชเดชาแห่งพระธรรมานุภาพ
ด้วยเดชเดชาแห่งพระสังฆานุภาพ เทอญ

ผลแห่งการสวดบูชาพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นพระคาถาที่สูงมาก เพราะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ มีความหมายลึกซึ้งกินใจและละเอียดอ่อน ยากแก่การที่จะบรรยายสรรพคุณอันสูงคมและลึกซึ้งนั้นได้ถูกต้อง ตัวพระคาถากล่าวอัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ตลอดจนพระสูตรทั้งหมด เพื่อให้มาสถิตในกายทวารและในมโนทวารของผู้ขอ (ผู้สวดบูชา) เมื่อสวดภาวนาอยู่เป็นประจำทุกๆวัน ทั้งตอนเช้าและก่อนเข้านอน โดยตั้งจิตให้สะอาดและบริสุทธิ์จริงๆ แล้ว จะเกิดความเป็นศิริมงคลอันสูงสุดแก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ได้รับความรัก ความเมตตา ความนับถือจากบุคคลโดยทั่วไป เช่น จากผู้ร่วมงาน ร่วมเรียน ร่วมชายคา เป็นต้น ทำให้เกิดความเป็นสงาราศี น่าเกรงขาม น่าสรรเสริญ น่ายกย่องและอนุโมทนาจากมนุษย์และเทวดา ทำให้ได้รับความรัก ความเอ็นดูจากผู้น้อยและผู้ใหญ่ จากครูอาจารย์ จะเป็นเครื่องขจัดความทุกข์โศก โรคภัยตลอดจนข้อขัดข้องขุ่นเคืองใจต่างๆ ได้รับความแคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตราย จากศัตรู จากอันธพาลและผู้มุ่งร้าย ขจัดเคราะห์ ขจัดเสนียดจัญไร ไล่ภูตผีปีศาจและคุณไสย ตลอดจนสัตว์ร้าย สวดภาวนาอยู่เป็นประจำจะได้ลาภ ยศ ที่อยู่อาสัย และสิ่งอันพีงปรารถนา ทำให้ปัญญาแตกฉานมีไหวพริบเท่าทันคน ฯลฯ
ถ้าผู้หมั่นสวดภาวนาตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติดี ประพฤติชอบ ประกอบกิจการงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตยุติธรรมและอดทน จะบังเกิดผลทันตาเห็น โดยเฉพาะผู้ที่สวดบูชาอยู่เป็นประจำ ได้รับผลกันมามากต่อมากแล้วจนนับไม่ถ้วน และที่สำคัญที่สุดก็คือจะเข้าถึงองค์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

หัวใจพระคาถาชินบัญชร
จากจารึกที่สถูปเจดีย์ สร้างถวายเจ้าเหนือหัวจุฬาลงกรณ์ จุลจอมเกล้าปัญจะมหาราชา (ร.๕) เมื่อ รศ. ๘๙ มีทั้งหมด ๓๑ คำดังนี้
ชะจะตะสะสีสังหะโก
ทะกะเกนิกุ โสปุเถ
เสเอชะ ระธะขะอาชิ
วาอาวะชิสะอิตังฯ

สาเหตุที่แต่งพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้ องค์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้ทรงแต่งไว้เมื่อครั้งที่ทรงบรรพชาเป็น "สามเณร" ด้วยเหตุเพราะได้เดินธุดงค์ไปที่เมืองกำแพงเพชรและได้ไปปฏิบัติพระกรรมฐานอยู่ในถ้ำ อีสีคูหาสวรรค์ และได้พบใบลานเก่ามากอยู่ในถ้ำ เขียนเป็นภาษา "สิงหล" ซึ่งเป็นพระคาถาที่กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณและพระสังฆคุณ จึงได้แนวในพระคาถานั้นและได้นำมาดัดแปลงแต่งเป็นพระคาถาชินบัญชรขึ้น เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ตกทอดมาเป็นสมบัติของชาวพุทธจนกระทั่งทุกวันนี้

ที่มาของสำนักธรรมพรหมรังสี
คำว่า "พรหมรังสี" เป็นพระฉายานามขององค์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อดีตพระอมตะเถระผู้เรืองวิทยาคม เป็น "หนึ่งไม่มีสอง" และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เหตุไฉนจึงได้เสด็จลงมาประทับทรงในร่างมนุษย์ ก็ในเมื่อพระคุณท่านได้ทิ้งกายเนื้อละจากโลกนี้ไปแล้ว ๑๐๓ ปี น่าจะบำเพ็ญบารมีตัดกิเลสถึงขั้น สมุจเฉทปหาน และดับขันธปรินิพพานอยู่ข้างบนแล้ว หรือไม่ก็ทำลายกิเลสถึงขั้นสมุจเฉทปหานเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่สมัยที่ยังมีกายเนื้ออยู่แล้ว จะมาประทับทรงได้อย่างไร และที่น่าแปลกมากๆก็คือ หลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) ประทับทรงที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้าง ลงถ้วยแก้วบ้าง มากมายเหลือเกิน องค์เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านก็ได้แต่หัวเราะหึๆ แล้วกล่าวว่า นั่นเป็นการเข้าใจผิดของมนุษย์ ที่ว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ไม่จริง "เพราะข้าฯ จะเป็นพระพุทธเจ้า" แต่ถ้าเคยเข้าสู่ดินแดนพระอรหันต์ละก็ จริง และถ้าสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ดับขันธ์แล้ว จะมาประทับทรงไม่ได้ ก็ไม่จริงอีก เพราะท่านที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เสด็จมาประทับทรงได้ แต่มาเพียงครั้งคราว มิใช่มากันตลอดเวลา และที่ว่าเคยถูกอัญเชิญท่านลงถ้วยแก้ว (ผีถ้วยแก้ว) ก็ไม่จริงอีก เพียงแต่บางครั้งเสด็จไปและส่งพลังบารมีลงสู่ถ้วยแก้วเท่านั้น "เข้าไปให้พวกเอ็งเอานิ้วจิ้มหัวข้าฯ รึ"
สำหรับปัญหาที่ว่า หลวงพ่อโต (สมเด็จฯ) เข้าประทับทรงที่โน่นที่นี่มากมายหลายแห่ง หลายที่ ท่านก็บอกว่า หลวงพ่อโตน่ะมีเยอะแยะ มากมาย แต่ "ขรัวโต" นั้น มีเพียงองค์เดียว "ขรัวโต" นั้นน่ะ ต้อง "อ่อนนอก แข็งใน" แต่ถ้า "อ่อนใน แข็งนอก" ละก็ไม่ใช่ "ขรัวโต พรหมรังสี" และการที่ได้เสด็จลงมาประทับทรงในครั้งนี้นั้นมีเหตุผลอยู่ ๕ ประการดังนี้
ประการที่ ๑ ได้รับอัญเชิญจากองค์เทพ องค์พรหม องค์โพธิสัตว์ ให้เสด็จลงมาโปรดสัตว์ เพื่อบรรเทาทุกข์ ลดกิเลสตัณหาของมนุษย์ให้เบาบางลงบ้าง เพื่อพระศาสนาจะได้จำเริญอยู่ได้ครบถ้วน ๕,๐๐๐ ปี
ประการที่ ๒ กรรมพัวพันเกี่ยวกับบ้านเมืองตั้งแต่สมัยเมื่ออยู่ในเมืองจีน ลพบุรี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ และโดยเฉพาะเมืองไทยเรานี้เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลก ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง
ประการที่ ๓ เมื่อครั้งมีกายเนื้ออยู่ก็มีลูกศิษย์ลูกหาเพื่อนฝูงอยู่มากมาย ปัจจุบันบางคนก็เคยเป็นเพื่อนฝูง เคยเป็นลูกศิษย์ บางคนมีความเลื่อมใสในเกียรติคุณในอดีต เมื่อเดือดร้อนมากๆก็บนบานศาลกล่าวอ้อนวอนอยู่ทุกเวลาทุกวัน ให้ช่วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ ตั้งแต่เช้า สาย บ่าย ค่ำ ดึกดื่น เที่ยงคืน เช้ามืด จนกระทั่งรุ่งของวันใหม่ ไม่ว่างเว้น
ประการที่ ๔ ต้องการจะพิสูจน์ให้เห็นว่าชีวิตมนุษย์เป็นไปตามผลแห่งวิบากกรรม กระทำดีต้องได้ดี กระทำชั่วต้องได้รับผลชั่ว และสามารถเห็นได้ในชาตินี้ไม่ต้องรอชาติหน้า มนุษย์จะได้กลัวบาปกรรม งดประพฤติชั่ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็เบาบางลงไปบ้างเป็นต้นว่า ลดโกหกตอแหล ลดโกงกินและเบียดเบียนกัน ฯลฯ
ประการที่ ๕ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง บุคคลอื่นเขาใช้นามว่า สมเด็จฯโต หลวงพ่อโต และก็ "ขรัวโต" กันมาก็นานแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด เพราะทำผิดบ้าง ทำถูกบ้าง มันยุ่งเหยิงวุ่นวาย จะได้ทราบกันอย่างชัดแจ้งเสียที
ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงทำให้เกิด "สำนักธรรมพรหมรังสี" ขึ้นที่บ้านเลขที่ ๑๒๗/๓ หลังวัดช่องนนทรีย์ ถนนสาธุประดิษฐ์ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรก เมื่อวัน มาฆบูชา เพ็ญกลางเดือนสาม ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล เวลา ๑๗.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๗ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ ซึ่งเป็นบ้านพักของนายประเสริฐ บุญปลูก อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้รับพระบัญชาจากการเสด็จประทับทรงที่วิหารสมเด็จหน้าพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร และตั้งอยู่ได้ครบรอบ ๑ ปี หลังจากได้ทำบุญที่นั้นแล้ว จึงได้ย้ายสำนักธรรมพรหมรังสีมาตั้งอยู่ที่บ้านของนายอาทร จิตประเสริฐ เลขที่ ๒๘๗/๙ ซอยพณิชยการธนบุรี ถนนจรัลสนิทวงศ์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สำหรับการเสด็จประทับทรงในสถานที่แห่งใหม่นี้ ท่านได้ทรงเลือกชั้น ๔ (เดิมเป็นที่เก็บของและต่อเติมใหม่) ท่านเรียกชั้น "ดุสิต" ซึ่งเป็นชั้นที่ท่านกำลังบำเพ็ญอยู่เบื้องบนในขณะนี้ และในโอกาสนี้ ท่านได้เสด็จลงมาโปรดสัตว์เพื่อเป็นทานบารมี สัปดาห์ละ ๔ วัน ดังนี้
พฤหัสบดี เวลา ๑๙.๐๐ น. (โปรดทั่วไป)
ศุกร์ เวลา ๒๑.๐๙ น. (เฉพาะพวกฝึกสมาธิ)
เสาร์ เวลา ๑๙.๐๐ น. (โปรดทั่วไป)
อาทิตญ์ เวลา ๑๙.๐๐ น. (โปรดทั่วไป)
ในแต่ละวันของการเสด็จจะมีองค์เทพ องค์พรหม และองค์โพธิสัตว์ เสด็จสับเปลี่ยนกันลงมาร่วมสร้างทานบารมี แล้วองค์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี จะเสด็จลงมาประทับทรงโปรดสัตว์เป็นพระองค์สุดท้าย
องค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านยังยึดถือประเพณีไทยโบราณอยู่ เมื่อไปหาท่านก็ต้องมี "ดอกไม้ ธูป เทียน" ไปนมัสการ ฉะนั้นจึงมีพระบัญชาให้เจ้าหน้าที่จัดดอกไม้ ธูป เทียน เตรียมไว้ให้ผู้ขอเข้าเฝ้าท่าน (โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆทั้งสิ้น) และท่านจะรับถาดดอกไม้ธูปเทียนจากผู้ขอเข้าเฝ้า บูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และแล้วกลับมอบคืนให้กับผู้นั้นไปบูชาพระที่บ้าน (เวลากลับบ้าน) อีกครั้งหนึ่งทุกๆคนไป (ไม่ใช่ว่า พอถวายถาดดอกไม้ ธูป เทียนให้ท่านแล้ว ก็ส่งให้เจ้าหน้าที่เอาไปเวียนให้กับผู้ขอเฝ้าอื่นๆอีก หนแล้วหนเล่า) และท่านได้กำชับเจ้าหน้าที่เป็นนักหนาให้จัดดอกไม้ ธูป เทียนไว้ให้เพียงพอ และต้องเป็นของดีชนิดเสมอต้นเสมอปลายด้วย

เชิญตรวจความดี
จากจารึกแผ่นทองคำขององค์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
ในการสร้างเหรียญระฆังและเหรียญเสมาฐานสิงห์ด้วยทองคำ เมื่อ ร.ศ.๖๓
ดี ของคนว่ามี ดีตรงไหน
ดี อะไรว่ามี ดีนักหนา
ดี ลาภรวยสวยดี มีวิชา
ดี ยศถาเกียรติศักดิ์ หรือดีงาน
ดี ภูมิฐานบ้านเมือง หรือเพศศรี
ดี ศีลธรรมมารยาท หรือชาติดี
ดี ใครมีตรงไหน อะไรดี

ข้อมูลจาก สำนักธรรมพรหมรังสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น