ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

พระคาถาอุปปาตะสันติ

บทสวดมนต์

บทสวดคาถาอุปปาตะสันติ(มหาสันติงหลวง)
ประวัติคัมภีร์อุปปาตะสันติ
อุปปาตะสันติ ทางเมืองเหนือเรียกว่า มหาสันติงหลวง แปลว่า บทสวดเพื่อสงบเคราะห์กรรม สวดเพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบสิ่งที่กระทบกระเทือน
คัมภีร์อุปปาตะสันติ เป็นวรรณกรรมภาษาบาลีของล้านนาไทย แต่งโดยพระมหามังคละสีละวังสะ พระเถระนักปราชญ์ของชาวเชียงใหม่รูปหนึ่ง ในสมัยของพระเจ้าสิริธรรมจักกวัตติลกราชาธิราช หรือพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชสมบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๓๐ เป็นพระคาถาล้วนจำนวน ๒๗๑ คาถา จัดเข้าในหนังสือประเภทเชียงใหม่คันถะ คัมภีร์นี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชนชาวล้านนามาแต่โบราณกาล ทั้งพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้าน พากันสวดและฟังอุปปาตะสันติเพื่อกลับความร้ายให้กลายเป็นความดี
มีคำเล่าว่าสมัยที่ท่านแต่งอุปปาตะสันตินั้น ที่เชียงใหม่มีโจรผู้ร้ายและคนอันธพาลชุกชุมผิดปกติ มีเหตุร้ายและสิ่งกระทบกระเทือนอยู่เสมอ พระมหาเถระสีละวังสะ จึงให้พระสงฆ์สามเณร และประชาชน พากันสวด และฟังอุปปาตะสันติ เพื่อสงบเหตุร้ายทั้งมวลที่เกิดขึ้นในเมือง
ต่อมา ชาวพม่ามีความเลื่อมใส นำคัมภีร์นี้เข้าไปในประเทศพม่า ชาวพม่าทั้งพระสงฆ์และประชาชน นับถือพระคัมภีร์อุปปาตะสันติว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก พากันนิยมท่อง นิยมสวด และนิยมฟังกันอย่างกว้างขวาง แพร่หลายไปทั่วประเทศพม่า ในสมัย ๕๐๐ ปีที่ล่วงแล้ว ในงานพิธีสืบชะตา งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
อุปปาตะสันติคาถานั้นมีเนื้อความเป็นไปเพื่อยังความสงบอันยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น เพื่อสงบเหตุร้ายทั้งปวง เพื่อป้องกันอมนุษย์และยักษ์ทั้งหลาย เป็นคาถาที่ทำให้พ้นจากความตายก่อนกำหนดเวลา เป็นคาถาที่เป็นเครื่องย่ำยีกำลังของข้าศึก สามารถจำเริญชัยชนะแก่พระราชา และนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งปวงให้หมดไป
อุปปาตะสันติคาถาเป็นบทสวดอย่างพิสดาร ท่านจึงกล่าวพระนามของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ไว้อย่างครบถ้วน ทั้งที่มีมาในอดีต ในปัจจุบัน และจักมีมาในอนาคต รวมตลอดไปจนถึงท่านที่ทรงคุณ ทรงอำนาจ ทรงฤทธิ์ ในทางที่ดีอื่น ๆ เช่น เทวดา อินทร์ พรหม ยักษ์ นาค คนธรรพ์ ครุฑ และอสูร เป็นต้น เพื่อขอความเป็นมงคล ความสงบ ความสวัสดี ความไม่มีโรค ชัยชนะ และอายุ รวมทั้งขอให้ท่านคุ้มครองให้พ้นจากเหตุเภทภัยนานัปการ อันจะบังเกิดขึ้นในกาลทุกเมื่อ
คัมภีร์อุปปาตะสันติเป็นคัมภีร์ของไทย แต่ต้นฉบับได้จากเมืองไทยไปอยู่เมืองพม่าเสียนาน จนแทบกล่าวได้ว่าคนไทยสมัยหลัง ๆ นี้ ไม่มีใครรู้จัก ไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อคัมภีร์นี้
แต่บัดนี้ เป็นที่โสมนัสยินดียิ่งที่เจ้าคุณธรรมคุณาภรณ์ นามเดิม เช้า ฐีตะปัญโญ ป.ธ. ๙ วัดมหาโพธาราม ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ท่านได้ชำระคัมภีร์นี้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่านท่ไม่สันทัดภาษาบาลี โดยได้ต้นฉบับภาษาบาลีอักษรพม่าจากท่านพระอาจารย์ภัททันตะธัมมานันท มหาเถระอัครมหาบัณฑิตแห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
ต่อมาเจ้าคุณพระราชญาณปรีชา เจ้าคณะเขตดุสิต และคณะสงฆ์วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร ได้นำบทสวดอุปปาตะสันติคาถา สวดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสฉลองกาญจนาภิเษกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับวันกองทัพไทย ณ เสนาสนะวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และได้เดินทางไปสวดถวายในจังหวัดต่าง ๆ อีกจนครบทุกภาคทั่วประเทศ
จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนคนไทยทุกท่าน ได้ร่วมกันสวดพระคาถานี้ถวายเป็นราชสักการบูชาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสอันเป็นมหามงคลครั้งนี้ และเพื่อยังความสุขสงบอันยิ่งใหญ่ให้แก่แผ่นดิน เพื่อความสงบระงับจากภัยพิบัติทั้งปวง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว หมู่คณะ ชาวไทย และชาวโลกทั้งมวล
อานุภาพของอุปปาตะสันติ
ผู้ใดสวดหรือฟังอุปปาตะสันติ อันกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้ บุคคลนั้นจะพึงชนะจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง จะเจริญด้วยคุณ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ความวิบัติย่อมไม่มาแผ้วพาน ย่อมได้รับความอิ่มใจในกาลทุกเมื่อ ยาพิษและศาสตราวุธย่อมไม่มากล้ำกราย ย่อมชนะข้าศึกทั้งมวล โรคาพยาธิย่อมไม่เบียดเบียน ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ศฤงคาร ภัยจากมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ร้ายน้อยใหญ่ย่อมสงบไปด้วยเสียงแห่งการสวดอุปปาตะสันติ
ผู้ที่สวดอุปปาตะสันติแล้วอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปก็ดี ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ดี จะช่วยให้เขาเหล่านั้นพ้นจากมหันตทุกข์ ย่อมเข้าถึงสุขในกาลทุกเมื่อ ทวยเทพเทวดาทั้งหลาย ท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้เจริญด้วยเดชและสิริมงคล ด้วยกฤตยานุภาพแห่งพระคาถาอุปปาตะสันติ
เหตุร้ายอันเกิดจากภัยธรรมชาติมีแผ่นดินไหวและน้ำท่วมเป็นต้น เหตุร้ายอันเกิดจากฟากฟ้า เหตุร้ายอันเกิดจากสุริยุปราคา จันทรุปราคา เหตุร้ายอันเกิดจากบาปกรรม เหตุร้ายทั้งปวงจักพินาศไปด้วยเดชแห่งอุปปาตะสันติ
อุปปาตะสันติ
บทสวดสงบเหตุร้าย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คันถารัมภะ
(คำเริ่มต้นคัมภีร์)


(ก) สุทุททะโส อะยัง ธัมโม โลกัตถัง ชินะเทสิโต
มะหาสันติกะโร โลเก สัพพะสัมปัตติทายะโก


ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก
เป็นธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง สำหรับธรรมที่จะกล่าวต่อไปนี้
เป็นธรรมที่สามารถกระทำความสงบอันประเสริฐ
และสามารถประทานซึ่งสมบัติทั้งปวง

(ข) สัพพุปปาตูปะสะมะโณ ภูตะยักขะนิวาระโณ
อะกาละมัจจุสะมะโณ โสกะโรคะวินาสะโน


เป็นเครื่องสงบเหตุร้ายทั้งปวง เป็นเครื่องป้องกันอมนุษย์และยักษ์
เป็นเครื่องระงับความตายก่อนกำหนดเวลา
เป็นเครื่องขจัดความเศร้าโศกและโรค

(ค) ปะระจักกะปะมัททะโน รัญโญ วิชะยะวัฑฒะโน
สัพพานิฏฐะหะโร สันโต ธัมมัง วักขามิ ภูตะโต


เป็นเครื่องย่ำยีกำลังของข้าศึก เป็นเครื่องจำเริญชัยชนะแด่พระราชา
เป็นเครื่องนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งปวงออกไป
เป็นธรรมอันประเสริฐ

ข้าพเจ้า (พระสีละวังสะมหาเถระ) จักแสดงคุณธรรมเช่นนั้น
ตามสภาพที่เป็นจริง

(ฆ) วัตถุตตะยัสสะ โย ยัตถะ สังวัณเณติ คุณุตตะเม
ตัสสะ ตัตถะ สุขาโรคฺยะ- โสตถิโย โหนติ สัพพะทา


ณ ที่ใด มีผู้กล่าววาจาสรรเสริญพระคุณอันประเสริฐของพระรัตนตรัย
ด้วยจิตที่เลื่อมใส ณ ที่นั้น ความสุข ความสบาย และความสวัสดี
ย่อมมีแก่ผู้นั้นตลอดกาลทุกเมื่อ
(พระพุทธเจ้าในอดีต ๒๘ พระองค์)
(ในสารมัณฑกัป ๔ พระองค์)


๑. ตัณหังกะโร มะหาวีโร สัพพะโลกานุกัมปะโก
วันตะสังสาระคะมะโน สัพพะกามะทะโท สะทา


พระตัณหังกร สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้ามาก
ผู้อนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง
ผู้คลายตัณหาอันเป็นเหตุท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏได้แล้ว
ผู้ประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวงให้ ในกาลทุกเมื่อ

๒. สัพพาภิภู สัพพะวิทู สัพพะเทวะคะรุตตะโม
สัพพาสะวะปะริกขีโณ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ผู้ทรงครอบงำธรรมทั้งปวง ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
ทรงเป็นครูผู้ยอดเยี่ยมของมนุษย์และเทวดาทั้งปวง
ทรงสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๓. วะระลักขะณะสัมปันโน เมธังกะโร มะหามุนิ
ชุตินธะโร มะหาสิรี สุวัณณะคิริสันนิโภ


พระจอมมุนีพระนามว่า เมธังกร
ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระลักษณะอันเลิศ
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระรัศมี ผู้ทรงมีพระสิริยิ่งใหญ่ รุ่งเรืองดุจสุวรรณคีรี

๔. ทิพพะรูโป มะหากาโย มะหานาโถ มะหัพพะโล
มะหาการุณิโก สัตถา มะหาสันติง กะโรตุ โน


ผู้ทรงมีพระรูปเพียงดังท้าวมหาพรหม
มีพระวรกายอันประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ
ทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐมีพระกำลังมาก
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงเป็นพระศาสดา
โปรดประทานความสงบอันยิ่งใหญ่ แก่พวกข้าพระองค์เถิด

๕. มะหาโมหะตะมัง หันตฺวา โย นาโถ สะระณังกะโร
เทวาเทวะมะนุสสานัง โลกานัญจะ หิตังกะโร


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สรณังกร
ทรงเป็นที่พึ่ง ทรงกำจัดความมืดมนคืออวิชชาได้แล้ว
ทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
กล่าวคือเหล่าทวยเทพ อสูร และมนุษย์ทั้งหลาย

๖. พฺยามัปปะภาภิรุจิโต นิโคฺรธะปะริมัณฑะโล
นิโคฺรธะปักกะพิมโพฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สรณังกร พระองค์นั้น
ผู้ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแผ่ออกไปหนึ่งวาโดยรอบ
ผู้ทรงมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจต้นนิโครธ
(ความสูงของกายเท่ากับความยาวของวา)
ผู้ทรงมีพระโอฏฐ์แดงเรื่อดุจผลตำลึงสุก ที่ต้นนิโครธ
(นิสสยะฉบับพม่า แปลว่า ดุจผลนิโครธสุก)
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗. อะสีติระตะนุพเพโธ ทีปังกะโร มะหามุนิ
ปะภา นิทธาวะเต ตัสสะ ฐาเน ทฺวาทะสะ โยชะเน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร
มีพระวรกายสูงแปดสิบศอก ทรงเป็นพระมหามุนี
พระรัศมีของพระองค์แผ่ออกไปในที่สิบสองโยชน์

๘. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลเก วินายะโก
โลกาโลกะกะโร สัตถา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในโลกหนึ่งแสนปี
ทรงนำเวไนยสัตว์สู่พระนิพพาน
ทรงเป็นพระศาสดาผู้ประทานแสงสว่างแก่โลก
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
(ในสารกัป ๑ พระองค์)

๙. อัฏฐาสีติหัตถุพเพโธ โกณฑัญโญ นามะ นายะโก
สัพพะธัมเมหิ อะสะโม สัพพะปาระมิตาคะโม


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ
มีพระวรกายสูงแปดสิบแปดศอก ทรงเป็นผู้นำ
ทรงเป็นผู้ไม่มีบุคคลเสมอด้วยธรรมทั้งปวง
ทรงถึงความเป็นผู้มีบารมีทั้งปวง

๑๐. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน
โมเจตุ โส สัพพะภะยา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ทรงเป็นพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุหนึ่งแสนปี
ขอพระองค์โปรดเปลื้องพวกข้าพระองค์ ให้พ้นจากภัยทั้งปวง
โปรดประทานความสวัสดีแก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

(ในสารมัณฑกัป ๔ พระองค์)

๑๑. อัฏฐาสีติระตะนานิ อัจจุคคะโต ชุตินธะโร
มังคะโล นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า มังคละ
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบแปดศอก
ทรงไว้ซึ่งพระรัศมี ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

๑๒. ฉัพพัณณะรังสิโย ทะสะ สะหัสสะโลกะธาตุโย
ผะรันตา ตัสสะ ฉาเทนติ เอสะ โสตถิง กะโรตุ โน


พระฉัพพรรณรังสีของพระองค์ แผ่ปกคลุมโลกธาตุหนึ่งหมื่น
ขอพระองค์โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์เถิด

๑๓. นะวุติระตะนุพเพโธ สุมะโน นามะ นายะโก
กัญจะนาจะละสังกาโส นะวุติสะหัสสายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ทรงมีพระวรกายสูงเก้าสิบศอก ทรงเป็นผู้นำ
ทรงเป็นผู้เปรียบประดุจสุวรรณคีรี ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

๑๔. อุเปโต พุทธะคุเณหิ สัพพะสัตตะหิเตสะโก
กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรคฺยัญจะ สุขัง สะทา


ทรงประกอบด้วยพระพุทธคุณทั้งหลาย
ทรงแสวงหาความเกื้อกูลแก่เหล่าสัตว์โลกทั้งปวง
โปรดประทานความสงบร่มเย็น ความไม่มีโรค
และความสุข แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕. อะสีติระตะนุพเพโธ สัฏฐีสะหัสสะอายุโก
เรวะโต นามะ สัมพุทโธ สัพพะโลกุตตะโร มุนิ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เรวตะ
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบศอก ทรงมีพระชนมายุหกหมื่นปี
ทรงประเสริฐกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง

๑๖. ตัสสะ สะรีเร นิพพัตตา ปะภามาลา อะนุตตะรา
ผะรันตา โยชะเน นิจจัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แสงแห่งพระรัศมีอันไม่มีที่เปรียบ
อันเกิดแต่พระวรกายของพระองค์
แผ่ไปตลอดแนวหนึ่งโยชน์เป็นนิจ
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗. โสภิโต นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก
สังสาระสาคะเร สัตเต พะหู โมเจติ ทุกขะโต


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ
ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี ทรงเปลื้องสัตว์โลกเป็นจำนวนมาก
จากทุกข์ในห้วงมหาสมุทร คือ สังสารวัฏ

๑๘. อัฏฐะปัญญาสะระตะนัง อัจจุคคะโต มะหามุนิ
โอภาเสติ ทิสา สัพพา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระองค์ ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบแปดศอก
ทรงเป็นพระมหามุนีผู้ประเสริฐ ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
(ในวรกัป ๓ พระองค์)

๑๙. อะโนมะทัสสี สัมพุทโธ เตชัสสี ทุระติกกะโม
อัฏฐะปัณณาสะระตะโน โอภาเสนโต สะเทวะเก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี
ผู้อันศัตรูไม่สามารถกล้ำกรายได้
ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบแปดศอก
ทรงกระทำมนุษย์โลกพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสวอยู่

๒๐. นิพพานะปาปะโก โลเก วัสสัสสะตะสะหัสสายุ
กะโรตุ โน มะหาสันติง สุขิตา จะ มะยัง สะทา


พระองค์ทรงยังสัตว์โลกให้ถึงพระนิพพาน
ทรงมีพระชนมายุหนึ่งแสนปี
โปรดประทานความสงบร่มเย็น
แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
อนึ่งขอให้พวกข้าพระองค์ จงเป็นผู้มีความสุข ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๒๑. ปะทุโม นามะ สัมพุทโธ โลกะเชฏโฐ นะราสะโภ
อัฏฐะปัญญาสะระตะโน อาทิจโจวะ วิโรจะติ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมะ
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์โลกทั้งปวง
ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบแปดศอก ทรงรุ่งโรจน์ประดุจพระอาทิตย์

๒๒. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน
โสปิ พุทโธ การุณิโก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงมีพระชนมายุหนึ่งแสนปี
แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระมหากรุณา
ขอทรงโปรดประทานความสวัสดี
แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๓. อัฏฐาสีติระตะนุพเพโธ นาระโท สัพพะกามะโท
นิรันตะรัง ทิวารัตติง โยชะนัง ผะระเต ปะภา


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบแปดศอก
ทรงประทานสิ่งที่น่าชอบใจทั้งปวง
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไปสู่ที่หนึ่งโยชน์ ตลอดวันและคืนเป็นนิจ

๒๔. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลเก วินายะโก
โมเจติ ทุกขะโต สัตเต โสปิ โสตถิง กะโรตุ โน


พระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนสัตว์โลก ให้หลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์
ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์เถิด

(ในสารกัป ๑ พระองค์)

๒๕. อัฏฐะปัณณาสะระตะโน ปะทุมุตตะโร มะหามุนิ
ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ ทฺวาทะสะ โยชะเน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบแปดศอก
พระรัศมีอันมีอยู่โดยธรรมชาติของพระองค์ แผ่ไปถึงสิบสองโยชน์

๒๖. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลเกมะตันทะโท
โมเจติ พันธะนา สัตเต โสปิ ปาเลตุ โน สะทา


พระองค์ทรงประทานอมฤตธรรม คือ พระนิพพาน
ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลกตลอดหนึ่งแสนปี
ทรงเปลื้องหมู่สัตว์โลก ให้พ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัด
ขอพระองค์โปรดคุ้มครองพวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

(ในมัณฑกัป ๒ พระองค์)

๒๗. อัฏฐาสีติระตะนานิ อัจจุคคะโต มะหามุนิ
สุเมโธ นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบแปดศอก
ทรงเป็นพระมหามุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

๒๘. ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ โยชะนัง สะทา
ปาเลตุ โน สะทา พุทโธ ภะเยหิ วิวิเธหิ จะ


พระรัศมีอันมีอยู่โดยปกติของพระองค์
แผ่ไปตลอดหนึ่งโยชน์ในกาลทุกเมื่อ
ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ นั้น
โปรดคุ้มครองพวกข้าพระองค์ ให้พ้นจากภัยต่าง ๆ

๒๙. ปัญญาสะระตะนุพเพโธ สุชาโต นามะ นายะโก
เหมะวัณโณ มะหาวีโร มะหาตะมะวิโนทะโน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ
ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบศอก ทรงเป็นผู้นำ
ทรงมีพระฉวีประดุจทอง ทรงเป็นผู้แกล้วกล้ายิ่ง
ทรงบรรเทาความมืด คือ โมหะ

๓๐. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน
โสปิ พุทโธ การุณิโก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ
แม้นั้น ผู้ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี ทรงมีพระมหากรุณา
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
(ในวรกัป ๓ พระองค์)

๓๑. อะสีติระตะนุพเพโธ ปิยะทัสสี มะหามุนิ
นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลกัคคะนายะโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบศอก ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกสู่พระนิพพาน
ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดเก้าหมื่นปี

๓๒. โสปิ สัพพะคุณูเปโต สัพพะโลกะสุขัปปะโท
สัพพะโทสัง วินาเสนโต สัพพัง โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี
แม้นั้น ผู้ทรงประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ทรงให้ความสุขแก่โลกทั้งปวง ทรงกำจัดโทษทั้งปวง
โปรดประทานความสวัสดีทั้งปวง แก่พวกข้าพระองค์เถิด

๓๓. อะสีติระตะนุพเพโธ อัตถะทัสสี นะราสะโภ
วัสสัสสะตะสะหัสสานิ โลเก อัฏฐาสิ นายะโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบศอก ทรงเป็นนระผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นผู้นำ ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลกตลอดหนึ่งแสนปี

๓๔. ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ โยชะนัง สะทา
นิรันตะรัง ทิวารัตติง นาโถ โสตถิง กะโรตุ โน


พระรัศมีอันมีอยู่โดยปกติของพระองค์
แผ่ไปได้หนึ่งโยชน์ตลอดกลางวันและกลางคืน
ในกาลทุกเมื่อเป็นนิจ พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์เถิด

๓๕. ธัมมะทัสสี จะ สัมพุทโธ อะสีติหัตถะมุคคะโต
อะติโรจะติ เตเชนะ สะเทวาสุระมานุเส


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ธัมมทัสสี
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบศอก
ทรงรุ่งโรจน์ด้วยพระเดชานุภาพยิ่งกว่าโลก
ซึ่งประกอบด้วยเหล่าทวยเทพ อสูร และมนุษย์ทั้งหลาย

๓๖. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลเก มะหายะโส
สัพพะสัตเต ปะโมเจติ ภะยา รักขะตุ โน สะทา


พระองค์ผู้ทรงมีชื่อเสียงและบริวารอันยิ่งใหญ่
ดำรงพระชนม์อยู่ในโลกตลอดหนึ่งแสนปี
ทรงเปลื้องสัตว์ทั้งปวงจากภัย
โปรดคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากภัย ในกาลทั้งปวงเถิด

(ในสารกัป ๑ พระองค์)

๓๗. สิทธัตโถ นามะ สัมพุทโธ สัฏฐิระตะนะมุคคะโต
ติภะเว โสตถิชะนะโก สะตัสสะหัสสะ อายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
ทรงมีพระวรกายสูงหกสิบศอก
ทรงยังความสวัสดีให้เกิดขึ้นในภพทั้งสาม
ทรงมีพระชนมายุหนึ่งแสนปี

๓๘. สังสาระสาคะรา โลเก สันตาเรตฺวา สะเทวะเก
นิพพาเปสิ จะ โส สัตถา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระศาสดาพระนามว่า สิทธัตถะ นั้น
ผู้ทรงยังหมู่มนุษย์พร้อมทั้งเหล่าทวยเทพ
ให้ข้ามพ้นจากห้วงมหาสมุทร คือสังสารวัฏ และให้ถึงพระนิพพาน
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

(ในมัณฑกัป ๒ พระองค์)

๓๙. สัฏฐิระตะนะมุพเพโธ ติสโส โลกัคคะนายะโก
อะนูปะโม อะสะทิโส อะตุโล อุตตะโม ชิโน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ
ทรงมีพระวรกายสูงหกสิบศอก ทรงเป็นบุคคลผู้นำชั้นเลิศของโลก
ไม่มีบุคคลเทียบเท่า ไม่มีบุคคลเสมอเหมือน
ไม่มีบุคคลเปรียบปาน ทรงเป็นผู้สูงสุด ทรงเป็นผู้ชนะมารทั้งปวง

๔๐. วัสสัสสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน
อาโรคฺยัญจะ มะหาสุขัง โหตุ โน ตัสสะ เตชะสา


ด้วยพระเดชานุภาพของพระพุทธเจ้า
พระนามว่า ติสสะ พระองค์นั้น ผู้ทรงมีพระชนมายุหนึ่งแสนปี
ขอความไม่มีโรค และความสุขอันประเสริฐ จงมีแก่พวกข้าพระองค์เถิด

๔๑. อัฎฐะปัณณาสะระตะโน ผุสโส โลกัคคะนายะโก
ชะนัมพุชัง วิโพเธนโต นิพพาเปนโต สะเทวะเก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ
ทรงมีพระวรกายสูงห้าสิบแปดศอก
ทรงเป็นบุคคลผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงยังดอกบัวคือหมู่ชนให้เบิกบาน
ทรงยังหมู่มนุษย์ พร้อมทั้งเหล่าทวยเทพ ให้ถึงพระนิพพาน

๔๒. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัตฺวา โลเก มะหายะโส
อุทธะรันโต พะหู สัตเต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระองค์ทรงมีชื่อเสียงและบริวารอันยิ่งใหญ่
ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลกตลอดเก้าหมื่นปี
ผู้ทรงนำสัตว์โลกจำนวนมากออกจากสังสารวัฏ
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
(ในสารกัป ๑ พระองค์)

๔๓. อะสีติระตะนุพเพโธ วิปัสสี โลกะนายะโก
ปะภา นิทธาวะเต ตัสสะ สะมันตา สัตตะ โยชะเน.


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
ทรงมีพระวรกายสูงแปดสิบศอก ทรงเป็นผู้นำของสัตว์โลก
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไปตลอดเจ็ดโยชน์โดยรอบ

๔๔. โสปิ เทวะมะนุสสานัง พันธะนา ปะริโมจะยิ
อะสีติสะหัสสายุโก นาโถ โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
แม้นั้น ผู้ทรงมีพระชนมายุแปดหมื่นปี ทรงเป็นที่พึ่ง
ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จากเครื่องผูกคือกิเลส
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์เถิด

(ในมัณฑกัป ๒ พระองค์)

๔๕. สัตตะตีหัตถะมุพเพโธ สิขี นาเมสะ นายะโก
ปะภา นิทธาวะเต ตัสสะ สะมันตา โยชะนัตตะเย


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงมีพระวรกายสูงเจ็ดสิบศอก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระนามว่า สิขี ทรงเป็นผู้นำ
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไปตลอดสามโยชน์โดยรอบ

๔๖. โสปิ อะตุลฺโย สัมพุทโธ สัตตะตีสะหัสสายุโก
กะโรตุ โน มะหาสันติง สุขิตา จะ มะยัง สะทา


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี
แม้นั้น ผู้ทรงไม่มีผู้เปรียบ ทรงมีพระชนมายุเจ็ดหมื่นปี
โปรดประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพระองค์
อนึ่ง ขอพวกข้าพระองค์ จงเป็นผู้ถึงความสุข ในกาลทุกเมื่อเถิด

๔๗. เวสสะภู นามะ สัมพุทโธ เหมะรูปะสะมูปะโม
สัฏฐีระตะนะมุพเพโธ สัฏฐี จะ สะหัสสายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เวสสภู
ผู้มีพระฉวีประดุจทอง ทรงมีพระวรกายสูงหกสิบศอก
ทรงมีพระชนมายุหกหมื่นปี

๔๘. พฺรัหฺมะเทวะมะนุสเสหิ นาคาสุระทิเชหิ วา
ปูชิโตปิ สะทา นาโถ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า เวสสภู
แม้นั้น ผู้อันหมู่พรหม เทวดา มนุษย์ นาค อสูร และครุฑ
พากันบูชาแล้ว ทรงเป็นที่พึ่ง
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

ในภัทรกัปนี้ ๕ พระองค์
(ผ่านไปแล้ว ๓ พระองค์)


๔๙. ตาฬีสะระตะนุพเพโธ กะกุสันโธ มะหามุนิ
ตัสสะ กายา นิจฉะรันติ ปะภา ทฺวาทะสะ โยชะเน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ทรงมีพระวรกายสูงสี่สิบศอก ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
พระรัศมีจากพระวรกายของพระองค์ แผ่ซ่านไปสิบสองโยชน์

๕๐. จัตตาฬีสะสะหัสสานิ ตัสสะ อายุ อะนุตตะโร
กะโรตุ โส สะทา นาโถ อายุง สุขัง พะลัญจะ โน


ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
แม้นั้น ผู้ทรงมีพระชนมายุสี่หมื่นปี
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครเปรียบ ทรงเป็นที่พึ่ง
โปรดประทานอายุ ความสุข และกำลังแก่พวกข้าพระองค์
ในกาลทุกเมื่อเถิด

๕๑. โกนาคะมะนะ สัมพุทโธ ติงสะหัตถะสะมุคคะโต
ติงสะวัสสะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน


พระ โกนาคมมะ สัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีพระวรกายสูงสามสิบศอก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงมีพระชนมายุสามหมื่นปี

๕๒. ธัมมามะเตนะ ตัปเปตา เทวะสังฆัง สุราละเย
มะหีตะเล จะ ชะนะตัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ทรงยังหมู่ทวยเทพบนสวรรค์ และหมู่มนุษย์บนพื้นโลก
ให้อิ่มเอิบด้วยอมตธรรม คือพระนิพพาน
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๕๓. กัสสะโป นามะ สัมพุทโธ ธัมมะราชา ปะภังกะโร
วีสะตีหัตถะมุพเพโธ วีสัสสะหัสสะอายุโก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ
ผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา ทรงมีพระรัศมี
ทรงมีพระวรกายสูงยี่สิบศอก ทรงมีพระชนมายุสองหมื่นปี

๕๔. อะนูปะโมสะมะสะโม เทวะสัตถา อะนุตตะโร
กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรคฺยัญจะ ชะยัง สะทา


พระองค์ไม่มีผู้เปรียบปานเสมอเหมือน
ทรงเป็นศาสดาของเหล่าทวยเทพ ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยม
โปรดประทานความสงบอันประเสริฐ ความไม่มีโรค และชัยชนะ
แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด
(พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน ๑ พระองค์)

๕๕. อัฏฐาระสะหัตถุพเพโธ โคตะโม สักกะยะวัฑฒะโน
สัพพัญญู สัพพะติละโก สัพพะโลกะสุขัปปะโท


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ทรงมีพระวรกายสูงสิบแปดศอก ทรงเป็นผู้เชิดชูศากยวงศ์
ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้โดดเด่นกว่าชนทั้งปวง
ทรงประทานความสุขให้แก่สัตว์โลก
(ในคัมภีร์พุทธวงศ์แสดงไว้ว่า ทรงมีพระวรกายสูง ๑๖ ศอก)

๕๖. สัมพุทโธ สัพพะธัมมานัง ภะเคหิ ภาคฺยะวา ยุโต
วิชชาจะระณะสัมปันโน โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


ขอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ทรงประกอบด้วยบุญ ทรงมีพระบารมีอันสูงสุด
ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
โปรดประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพระองค์เถิด

๕๗. อัพภาตีตา จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏิโย
สัพพะโลกะมะภิญญายะ สัพพะสัตตานุกัมปิโน


อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
หลายร้อยโกฏิซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว
ทรงประจักษ์โลกทั้งปวงด้วยพระญาณแล้ว
จึงทรงอนุเคราะห์เหล่าสรรพสัตว์

๕๘. สัพพะเวระภะยาตีตา สัพพะโลกะสุขัปปะทา
สัพพะโทสัง วินาเสนตา สัพพะโสตถิง กะโรนตุ โน


ทรงล่วงพ้นเวรและภัยทั้งปวง
ทรงประทานความสุขแก่สรรพสัตว์
ทรงกำจัดโทษทั้งปวง
ขอทรงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์เถิด
(พระพุทธเจ้าในอนาคต ๑ พระองค์)

๕๙. อะนาคะเต จะ สัมพุทโธ เมตเตยโย เทวะปูชิโต
มะหิทธิโก มะหาเทโว มะหาสันติง กะโรตุ โน


ก็ในอนาคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เมตเตยยะ
ทรงเป็นผู้ที่หมู่ทวยเทพบูชาแล้ว ทรงมีฤทธิ์มาก
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทั้งปวง
โปรดประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพระองค์เถิด

(พระปัจเจกพุทธเจ้า)

๖๐. สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา
นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มะเหสะโย


พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งปวง
ทรงปรีชาญาณในนิโรธสมาบัติและฌานสมาบัติ
ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี หมดความรังเกียจ
ทรงคุณอันหาประมาณมิได้ ทรงแสวงหาคุณอันประเสริฐ

๖๑. ทูเรปิ วิเนยเย ทิสฺวา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต
สันทิฏฐิกะผะเล กัตฺวา สะทา สันติง กะโรนตุ โน


พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้
เห็นหมู่เวไนยสัตว์แม้ในที่ไกล
ก็ทรงเสด็จไปช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้น
ให้ได้รับประโยชน์โดยพลัน
โปรดประทานความสงบ แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

(นวโลกุตตรธรรม ๙ และปริยัติธรรม ๑)

๖๒. สฺวากขาตาทิสัมปันโน ธัมโม สะปะริยัตติโก
สังสาระสาคะรา โลเก ตาเรติ ชินะโคจะโร


พระธรรม พร้อมทั้งปริยัติที่สมบูรณ์ด้วยคุณ
มีความเป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น
เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้า
เป็นเหตุยังสัตว์โลกให้ข้ามพ้นสาครคือ สังสารวัฏ

๖๓. กิเลสะชาละวิทธังสี วิสุทโธ พุทธะเสวิโต
นิพพานะคะมะโน สันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระธรรมอันบริสุทธิ์ยิ่ง อันมีปกติทำลายข่ายคือกิเลส
เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเจริญแล้ว
เป็นธรรมอันประเสริฐอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

(พระสังฆรัตนะ)

๖๔. สีลาทิคุณะสัมปันโน สังโฆ มัคคะผะเล ฐิโต
ชิตินทฺริโย ชิตะปาโป ทักขิเณยโย อะนุตตะโร


พระสงฆ์ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น
ดำรงอยู่ในมรรคและผล ชนะอินทรีย์แล้ว ชนะบาปแล้ว
เป็นทักขิเณยยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม

๖๕. อะนาสะโว ปะริสุทโธ นิราสาโส ภะวาภะเว
นิพพานะโคจะโร สันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอพระอริยสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้บริสุทธิ์
ผู้หมดความปรารถนาในภพน้อยภพใหญ่
ผู้มีจิตจดจ่อในพระนิพพาน เป็นสัตบุรุษ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ๑๐๘ องค์)

๖๖. อัญญาตะโกณฑัญญัตเถโร รัตตัญญูนัง อัคโค อะหุ
ธัมมะจักกาภิสะมะโย สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้รู้ราตรี
ผู้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๖๗. วัปปัตเถโร มะหาปัญโญ มะหาตะมะวิโนทะโน
มะหาสันติกะโร โลเก มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระวัปปะเถระ ผู้มีปัญญามาก ผู้กำจัดความมืดคือโมหะ
ผู้กระทำความสงบอันประเสริฐในโลก
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๖๘. ภัททิโย ภัททะสีโล จะ ทักขิเณยโย อะนุตตะโร
โลกัตถะจะริโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระภัททิยเถระ ผู้มีศีลงาม
ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม
ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๖๙. มะหานาโม มะหาปัญโญ มะหาธัมมะวิทู สุโต
มะหาขีณาสะโว เถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระมหานามะเถระ ผู้มีปัญญามาก ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ
ผู้มีชื่อเสียง เป็นพระขีณาสพผู้ประเสริฐ
ขอจงประทานความสงบอันยิ่งใหญ่ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๗๐. อัสสะชิตเถโร มะหาปัญโญ ชิตะมาโร ชิตินทฺริโย
ชิตะปัจจัตถิโก โลเก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอัสสชิเถระ ผู้มีปัญญามาก ผู้ชนะมาร
ผู้ชนะอินทรีย์ ผู้ชนะศัตรูในโลก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗๑. อะนุปุพพิกะถัง สุตฺวา ยะโส เอกัคคะมานะโส
อัคคะธัมมะมะนุปปัตโต โสตถาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


พระยสะเถระ ผู้ฟังอนุปุพพิกถาแล้ว
มีจิตตั้งมั่นบรรลุพระอรหัตผล อันเป็นธรรมอันเลิศ
ขอจงประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๗๒. จัตฺวาธิกา จะ ปัญญาสะ เถรา คิหิสะหายะกา
ปัตฺวานะ ปะระมัง สันติง สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


และพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ๕๔ รูป
ผู้เคยเป็นสหายของพระยสะ เมื่อครั้งยังเป็นผู้ครองเรือน
บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพานอันประเสริฐ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗๓. เย ติงสะ ภัททะวัคคิยา รูเปนาตุละวัณณิโน
ขีณาสะวา วะสีภูตา เต กะโรนตุ อะนามะยัง


พระภัททวัคคีย์ผู้เป็นเถระสามสิบองค์
ผู้มีรูปทรงและผิวพรรณอันหาใครเปรียบปานมิได้ สิ้นอาสวะแล้ว
เป็นผู้ชนะตน มีความชำนาญในการเข้าฌาน
ขอจงประทานความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๗๔. อุรุเวละกัสสะโปปิ มะหาปะริสานะมุตตะโม
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้ พระอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นเลิศในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้มีบริษัทมาก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗๕. โย นะทีกัสสะปัตเถโร ปุญญักเขตโต อะนุตตะโร
สะสังโฆ สีละสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้พระเถระนามว่า นทีกัสสปะ ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ
ผู้มีภิกษุเป็นศิษย์ ๓๐๐ เป็นบริวาร ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗๖. ธัมมะปัชชะลิโต สันโต โย เถโร คะยากัสสะโป
สังยุตโต ภะวะนิสฺเนเห สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า คยากัสสปะ ผู้รุ่งเรืองด้วยธรรม ผู้สงบ
ผู้เข้าถึงพระนิพพาน อันเป็นที่ปราศจากภวตัณหา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๗๗. โลกะนาถัง ฐะเปตฺวานะ ปัญญะวันตานะ ปาณินัง
ปัญญายะ สาริปุตตัสสะ กะลัง นาคฆะติ โสฬะสิง


ในบรรดาสรรพสัตว์ผู้มีปัญญาทั้งหลาย
เว้นพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของโลกแล้ว
สัตว์ใด ๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหกแห่งปัญญาของพระสารีบุตร

๗๘. สาริปุตโต มะหาปัญโญ ปะฐะโม อัคคะสาวะโก
ธัมมะเสนาปะตี เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ขอ พระสาริปุตตะ ผู้มีปัญญามาก ผู้เป็นอัครสาวกองค์ที่หนึ่ง
ผู้เป็นธรรมเสนาบดี ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๗๙. ปาทังคุลิกะมัตเตนะ เวชะยันตะปะกัมปะโน
ปะฐะวิง มะหะติง สัพพัง สะมัตโถ ปะริวัตติตุง


พระมหาเถระใด ผู้สามารถยังเวชยันต์ปราสาท
(ปราสาทของพระอินทร์) ให้หวั่นไหวแม้ด้วยเพียงหัวแม่เท้านั้น
ผู้สามารถพลิกแผ่นดินผืนใหญ่ทั้งหมดได้

๘๐. โมคคัลลาโน มะหาเถโร ทุติโย อัคคะสาวะโก
อิทธิมันตานัง โส อัคโค สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระมหาเถระนั้นนามว่า โมคคัลลานะ
ผู้เป็นพระอัครสาวกองค์ที่สอง
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๘๑. มะหากัสสะปัตเถโรปิ อุตตัตตะกะนะกันนิโภ
ธุตะคุณัคคะนิกขิตโต ตะติโย สัตถุสาวะโก


พระมหาเถระนามว่า กัสสปะ
ผู้มีผิวพรรณอันงดงามดุจเนื้อทองคำอันบริสุทธิ์
ผู้ได้รับยกย่องให้เป็นผู้เลิศ ในทางธุดงค์คุณ
เป็นพระอัครสาวกองค์ที่สามของพระศาสดา

๘๒. อะรัญญะวาสาภิระโต ปังสุกูละธะโร มุนิ
สุคะตัสสาสะนะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


เป็นผู้ยินดียิ่งในการอยู่ป่า ผู้ทรงผ้าบังสุกุล
เป็นมุนีผู้รู้โลกทั้งภายในและภายนอก
ผู้ทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระสุคต
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๘๓. อาปัตติอะนาปัตติยา สะเตกิจฉายะ โกวิโท
วินะเย อัคคะนิกขิตโต อุปาลิ สัตถุวัณณิโต


พระอุบาลีเถระ ผู้ฉลาดในอาบัติและมิใช่อาบัติ
และในอาบัติที่เยียวยาได้และเยียวยาไม่ได้
ผู้อันพระศาสดาทรงแต่งตั้งให้ เป็นผู้เลิศในทางทรงพระวินัย

๘๔. วินะเย ปาระมิปปัตโต วินะยัคโคจะโร มุนิ
กะโรตุ โน มะหาสันติง โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


ผู้อันพระศาสดาทรงยกย่อง
ให้เป็นผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย
ผู้สำรวมกาย วาจา และใจ
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้า
และขอให้ความสวัสดี ความไม่มีโรค จงมีแก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๘๕. อะนุรุทธะมะหาเถโร ทิพพะจักขูนะมุตตะโม
ญาติเสฏโฐ ภะคะวะโต โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


พระอนุรุทธมหาเถระ เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีตาทิพย์
เป็นพระประยูรญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาค
ขอจงประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๘๖. อุจจากุลิกานัง อัคโค ภัททิโย สุสะมาหิโต
กาฬิโคธายะ ปุตโต จะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระภัททิยะเถระ เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุ ผู้มีตระกูลสูง
เป็นผู้มีจิตอันตั้งมั่น เป็นบุตรของนางกาฬิโคธา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๘๗. อานันโท พุทธุปัฏฐาโก สังคีติสาธุสัมมะโต
พะหุสสุโต ธัมมะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอานันทะเถระ (ผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า)
ผู้ยังการทำสังคายนาให้สำเร็จ ผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๘๘. กิมิโล สิริสัมปันโน มะหาสุขะสะมัปปิโต
มะหาขีณาสะโว ชาโต มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระกิมพิละเถระ ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ เพียบพร้อมด้วยบรมสุข
เป็นพระขีณาสพผู้ประเสริฐ
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๘๙. คะรุวาสัง วะสิตฺวานะ ปะสันโน พุทธะสาสะเน
ภะคุ จาระหะตัง ปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระภคุเถระ ผู้เลื่อมใส และอยู่ด้วยความเคารพในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๙๐. กุลัปปะสาทะชะนะโก กาฬุทายี มะหิทธิโก
เอตะทัคคัฏฐิโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระกาฬุทายีเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ทำให้คนเลื่อมใส
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๑. เสฏโฐ ธัมมะกะถิกานัง ติณณัง เวทานะ ปาระคู
ปุณโณ มันตานิยา ปุตโต เถโร โสตถิง กะโรตุ โน


พระปุณณะเถระ ผู้เป็นบุตรของนางมันตานี
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก ผู้จบไตรเพท
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๙๒. ภาระทฺวาโช มะหาเถโร สีหะนาทานะมุตตะโม
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระปิณโฑลภารทวาชะมหาเถระ
ผู้อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้บรรลือสีหนาท
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๓. สังขิตตะภาสิตะมัตถัง วิตถาเรนะ วิชานะโก
กัจจาโน ภะวะนิสฺเนโห เถโร โสตถิง กะโรตุ โน


พระกัจจายนะเถระ ผู้สามารถอธิบายเนื้อความ
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยสังเขปให้พิสดาร
ผู้ปราศจากความสิเนหาในภพ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๙๔. ละกุณฏะภัททิโย เถโร มัญชุสสะรานะมุตตะโม
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระลกุณฏกภัททิยะเถระ ผู้อันพระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้
ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๕. อะระณะวิหารินัง อัคโค ทักขิเณยโย อะนุตตะโร
สุภูติ ภูตะทะมะโน เถโร โสตถิง กะโรตุ โน


พระสุภูติเถระ เป็นผู้แสดงธรรมแก่สัตว์ตามพุทธดำรัส
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้อยู่ด้วยธรรมอันปราศจากข้าศึก
และเลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ควรรับทักษิณาทาน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๙๖. อะรัญญะวาสินัง อัคโค เรวะโต ขะทิระวะนิโย
วิเวกาภิระโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเรวตะ ผู้อาศัยอยู่ในป่าไม้สีเสียด ผู้ยินดีในความวิเวก
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีปกติอยู่ในป่า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๗. ฌายีนัง อุตตะโม เถโร กังขาเรวะตะนามะโก
สะมาธิฌานะกุสะโล สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า กังขาเรวตะ
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีปกติยินดีในการเข้าฌาน
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๘. โสโณ จะ โกฬิวีโสปิ อารัทธะวีริยานะมุตตะโม
ปะหิตัตโต สะทา เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน


แม้ พระโสณโกฬิวีสะเถระ เป็นผู้มีจิตดิ่งไปในนิพพาน
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ขอจงประทานความสวัสดี และความผาสุก
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๙๙. กัลยาณะวากกะระณานัง โสโณ กุฏิกัณโณปิ จะ
อัคโคติ วัณณิโต เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน


แม้ พระโสณกุฏิกัณณะเถระ
ผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้กล่าววาจาไพเราะ
(สาธยายธรรมด้วยเสียงอันไพเราะ)
ขอจงประทานความสวัสดี และความผาสุก แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๐๐. ลาภีนะมุตตะโม เถโร สีวะลิ อิติ วิสสุโต
โส ระโต ปัจจะยาทิมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า พระสีวลิ ผู้มีความสันโดษในปัจจัยสี่
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีลาภ
ขอจงประทานความสวัสดีแก่ข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๐๑. สัทธาธิมุตตานัง อัคโค วักกะลิ อิติ นามะโก
ปาโมชชะพะหุโล เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า พระวักกลิ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์
เป็นเลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีศรัทธา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๐๒. ราหุโล พุทธะปุตโตปิ สิกขากามานะมุตตะโม
ทายาโท สัพพะธัมเมสุ มะหาสันติง กะโรตุ โน


แม้พระเถระนามว่า ราหุละ ผู้เป็นพุทธบุตร
ผู้เป็นทายาทในธรรมทั้งปวง
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มุ่งต่อการศึกษา
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๐๓. สัทธายะ ปัพพะชิตฺวานะ รัฏฐะปาโล ปะรักกะมี
เอตะทัคเค ฐิโตเยวะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า รัฏฐะปาละ ผู้มีความเพียรยิ่ง
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๐๔. กุณฑะธาโน มะหาเถโร สะลากัง ปะฐะมัง คะโต
ฐะปิโตเยวะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระกุณฑธานะมหาเถระ ผู้ถึงซึ่งความเป็นที่หนึ่งในการจับสลาก
จึงดำรงอยู่ในตำแหน่งที่เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ร่วมจับสลาก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๐๕. ปะฏิภาณะวันตานัมปิ อัคโคติ พุทธะวัณณิโต
วังคีโส อะระหา เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอรหันต์นามว่า วังคีสะเถระ ผู้ประเสริฐ
เป็นผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีปฏิภาณกวี
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๐๖. สะมันตะปาสาทิกานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต
อุปะเสโน วังคันตะปุตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ
พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุ
ผู้มีบริษัทอันน่าเลื่อมใส
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๐๗. ทัพโพ มัลละปุตโต เถโร เสนาสะนะปัญญาปะโก
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระทัพพมัลละบุตรเถระ
พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
ที่เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๐๘. ปิลินทะวัจฉะสะมะโณ เทวะตานัง ปิโย อะหุ
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


พระปิลินทวัจฉะเถระ
พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลาย
ที่เป็นที่รักของเหล่าเทวดา
ขอจงประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด

๑๐๙. พาหิโยทารุจีริโย ขิปปาภิญญานะมุตตะโม
กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรคฺยัญจะ ชะยัง สะทา


พระพาหิยทารุจีริยะเถระ เป็นผู้เลิศกว่า บรรดาภิกษุผู้ตรัสรู้เร็ว
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ ความไม่มีโรค และชัยชนะ
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๐. กุมาระกัสสะปัตเถโร จิตตะกะถีนะมุตตะโม
มิจฉาวิตักกุปัจเฉโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระกุมารกัสสปะเถระ
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้แสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
ผู้สามารถละมิจฉาวิตกได้
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๑๑. ปะฏิสัมภิทาปัตตานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต
โกฏฐิโต อะระหา เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอรหันต์นามว่า โกฏฐิตะเถระ เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ได้ปฏิสัมภิทา ๔
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๒. อัปปาพาโธ มะหาเถโร อัปปาพาธานะมุตตะโม
พากุโล อะระหาชาโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระพากุละเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์
เพราะเหตุที่เป็นผู้มีอาพาธน้อย
จึงเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีอาพาธน้อย
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๑๓. ปุพเพนิวาสะเวทีนัง อัคโคติ พุทธะวัณณิโต
โสภิโต นามะ โส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า โสภิตะ ผู้อันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ระลึกชาติในปางก่อนได้
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๔. มะหากัปปินัตเถโรปิ ภิกขุโอวาทะโก อะหุ
กุสะโล โอวาทะทาเน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้ พระมหากัปปินะเถระ เป็นผู้ให้โอวาทภิกษุ
เป็นผู้เลิศในการให้โอวาท
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๕. ภิกขุโนวาทะกานัคโค นันทะโก อิติ วิสสุโต
ปาเลตุ โน สะทา เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า นันทกะ
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ให้โอวาทแก่นางภิกษุณี
โปรดรักษาพวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
ขอจงประทานความสวัสดี และความผาสุก
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๖. อินทฺริเยสุ คุตตะทฺวาโร อัคคัฏฐาเน ฐิโต อะหุ
นันทัตเถโร วะสิปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระนันทะเถระ ผู้ได้วสี (ความชำนาญในการเข้า-ออกฌานสมาบัติ)
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๑๗. เตโชธาตุกุสะลานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต
สาคะโต นามะ โส เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า สาคตะ ผู้อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
เป็นผู้เลิศกว่า บรรดาภิกษุผู้ฉลาดในเตโชธาตุ
(เตโชกสิณ คือ กรรมฐานที่เพ่งไฟเป็นอารมณ์)
ขอจงประทานความสวัสดี และความผาสุก
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๑๘. สัญญาวิวัฏฏะกุสะโล ปะธาโน ภาวะนาระโต
พุทธะสิสโส มะหาปันโถ มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระมหาปันถกะเถระ ผู้ชำนาญในสัญญาวิวัฏฏะ (ได้แก่ วิปัสสนา)
เป็นผู้มีความเพียร มีความยินดีในภาวนา
เป็นศิษย์ของพระศาสดา
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด

๑๑๙. จูฬปันถะกัตเถโรปิ มะโนมะยาภินิมมิโต
ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้ พระจูฬปันถกะเถระ
ผู้อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
บรรดาภิกษุผู้นิรมิตกายได้มาก
และในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
บรรดาภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ
(คือฉลาดในฌานสมาบัติ)
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๒๐. ปะฏิภาเณยยะกานัง ตุ อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต
ราโธ เถโร มะหาโสตถิง กะโรตุ โน อะนามะยัง


พระราธะเถระ ผู้อันพระพุทธเจ้าตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
บรรดาภิกษุผู้มีปฏิภาณในคำสอน
ขอจงประทานความสวัสดีอันประเสริฐ และความไม่มีโรค
แก่พวกข้าพเจ้าเถิด
๑๒๑. ลูขะจีวะระธะรานัง ภิกขูนัง อุตตะโม อะหุ
โมฆะราชะมะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระโมฆราชะมหาเถระ เป็นผู้เลิศกว่า
บรรดาภิกษุผู้ทรงจีวรที่เศร้าหมอง
(คือผ้าเก่า ผ้าเนื้อหยาบ สีเศร้าหมอง)
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๒๒. วิมะโล วิมะลัปปัญโญ สุรูโป สุสะมาหิโต
ระโช นะ ลิมปะติ ขันเธ มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระวิมละเถระ ผู้มีปัญญาปราศจากมลทิน
ผู้มีรูปงาม ผู้มีจิตตั้งมั่น กิเลสเพียงดังธุลีไม่ฉาบทาขันธ์ห้าของท่าน
ขอจงประทานซึ่งความสงบอันยิ่งใหญ่ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๒๓. ธัมมะปาโล มะหาปาโล มะหาธัมมะธะโร ยะติ
มะหาขีณาสะโว โลเก มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า ธัมมปาละ ผู้รักษาธรรมอันประเสริฐ
ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระมหาขีณาสพในโลก
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๒๔. จักขุปาโล มะหาเถโร ปะธาโน สีละสังวุโต
ปะหิตัตโต มะหากาโย มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระจักขุปาละมหาเถระ ผู้มีความเพียร ผู้สำรวมแล้วในศีล
ผู้มีจิตดิ่งไปในนิพพาน ผู้มีรูปกายอันประเสริฐ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๒๕. สัพพะเวระภะยาตีโต นาระโท อาสะวักขะโย
มะหาสันติกะโร โลเก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระนารทะเถระ ผู้ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวงแล้ว สิ้นอาสวะแล้ว
กระทำความสงบอันประเสริฐในโลก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๒๖. พุทธะปูชายะ นิระโต ชินะภัตติปะรายะโน
สัทธัมมะสะวะโน เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสัทธัมมสวนะเถระ ผู้ยินดีในการบูชาพระพุทธเจ้า
มีความภักดีในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๒๗. ปัจฉิมะภะวะสัมปัตโต โคตะโม ภาวะนาระโต
ราคักขะยะมะนุปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระโคตมะเถระ ผู้เข้าถึงภพสุดท้ายแล้ว
ยินดีในภาวนาถึงความสิ้นไปแห่งราคะ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๒๘. เสนาสะเนสุ สัปปายัง ลัทธา ฌานัง สะมาระภิ
โคธิโก พุทธะฌายันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระโคธิกะเถระ เมื่อเพ่งความตรัสรู้
ได้เสนาสนะที่สัปปายะแล้ว จึงได้บำเพ็ญฌาน
ท่านเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงทำฌาปนกิจให้ในเวลาปรินิพพาน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๒๙. พุทเธ ปะสันนะมานะโส สุพาหุ อัญชะลีกะโต
ขีณาสะโว วะสีภูโต มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระสุพาหุ ผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
เคยกระทำอัญชลีมาแล้ว ๙๔ กัป
เป็นพระอรหันต์ผู้มีความชำนาญในฌานสมาบัติ
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๓๐. วิปัสสะนายะ ปะสุโต วัลลิโย สุสะมาหิโต
สะโต ฌายี วะเนวาสี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระวัลลิยะเถระ ผู้ขวนขวายในวิปัสสนากรรมฐาน
มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีสติ ได้ฌาน มีปกติอยู่ป่า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๓๑. อุตติโย วินะยะธะโร อะติกกันโต นะรามะเร
ธาเรนโต อันติมัง เทหัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุตติยะเถระ ผู้ทรงพระวินัย
ผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์และทวยเทพ
ผู้ทรงร่างกายอันมีในที่สุด
(คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีการเกิดต่อไปอีก)
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๓๒. วิมะโล วิระโชชัลโล ชาโต ปัณฑะระเกตุนา
พิมพิสารัทธะโช เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระวิมลโกณฑัญญะเถระ
ผู้บังเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร
ผู้มีวัตรปฏิบัติอันขาวสะอาด
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๓๓. รัมมารัญเญ วะสิตฺวานะ ภาเวนโต กุสะลัง พะหุง
โยคักเขมะมะนุปปัตโต สะภิโย สันติง กะโรตุ โน


พระสภิยะเถระ ผู้อยู่ในป่าอันน่ารื่นรมย์ เจริญกุศลเป็นเอนก
บรรลุพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งโยคะ
(คือกิเลสอันเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในสังสารวัฏ)
ขอจงประทานความสงบ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๓๔. ปุพเพนิวาสัง ชานันโต ทิพพะจักขุวิโสธะโน
นาคิโตระหะตัง ปัตโต โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


พระนาคิตะเถระ ผู้ระลึกชาติในปางก่อนได้
ผู้มีทิพจักษุอันบริสุทธิ์ บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว
ขอจงประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๓๕. ปาติโมกขะมะนุปปัตโต วิชะโยรัญญะโคจะโร
ลาภาลาภี ตะถาสังสี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระวิชยะมหาเถระ ผู้เข้าถึงปาติโมกข์สังวรศีล
ผู้มีป่าเป็นที่โคจร ผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญ ตามที่ตนได้ปัจจัยมา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๓๖. ตัณหาชะฏัง วิชะเฏตฺวา วัฑเฒตฺวานะ วิปัสสะนัง
สังฆะรักขิโต มะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระสังฆรักขิตะมหาเถระ
ผู้ถางรกชัฏคือตัณหา ยังวิปัสสนาให้เจริญ
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๓๗. อรัญญะวาสาภิระโต ภะวะเนตติสะมูหะโต
ธัมมานัง ปาระมิปปัตโต อุตตะโร ปาตุ โน ภะยา


พระอุตตระเถระ ผู้ยินดียิ่งในการอยู่ป่า ผู้ถอนตัณหา
อันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว
บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งหลายคือ มรรค ผล นิพพาน
ขอจงรักษาพวกข้าพเจ้า ให้พ้นจากภัยเถิด

๑๓๘. ปุพเพ ปุญญานิ กัตฺวานะ ปุพพะโยคัง สะมาระภิ
อุสะโภระหะตัง ปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุสภะเถระ ผู้กระทำบุญทั้งหลายไว้ในกาลก่อนแล้ว
ปรารภกรรมฐานอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งอริยมรรค
รรลุความเป็นพระอรหันต์
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๓๙. สะมาปัตติสะมาปันโน ฉะฬะภิญโญ มะหิทธิโก
สิวะโก พุทธะฌายันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสิวกะเถระ ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาบัติ มีอภิญญาหก มีฤทธิ์มาก
เป็นผู้พิจารณาตัณหา ดังที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๔๐. สัตตาริยะธะโน เถโร ธะนิโย ธัมมะสาคะโร
วันตะสังสาระคะมะโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระธนิยะเถระ ผู้มีอริยทรัพย์เจ็ดประการ
ผู้เป็นดุจทะเลแห่งธรรม ผู้สำรอกกิเลส
อันเป็นเหตุท่องเที่ยวในสังสารวัฏได้แล้ว
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๔๑. ปัญจักขันเธ ปะริญญายะ ภาวะยิตฺวานะ นิพพุติง
ปัตตฺวานะ ปะระมัง สันติง โปสิโย ปาตุ โน ภะยา


พระโปสิยะเถระ ผู้กำหนดรู้เบญจขันธ์แล้ว
เสวยอรหัตผลสมาบัติ เข้าถึงพระนิพพานอันประเสริฐ
ขอจงรักษาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากภัยเถิด

๑๔๒. อุปะนิสสะยะสัมปันโน อุชชะโย พุทธะมามะโก
โลกัตถะปะสุโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุชชยะเถระ ผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมอันเป็นเหตุออกจากวัฏฏะ
ผู้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ขวนขวายประโยชน์เพื่อชาวโลก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๔๓. พุทธัปปะสาทะสัมปันโน ปัพพะชี ชินะสาสะเน
สัญชะโย นามะ โส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า สัญชยะ ผู้ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
บวชแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๔๔. มารัญชะโย มะหาเถโร รามะเณยโย มะหิทธิโก
นิพพานะนินนะจิตโต โส สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระมหาเถระนามว่า มารัญชยะ ผู้มีฤทธิ์มาก
และพระมหาเถระนามว่า รามะเณยยะ
เป็นผู้มีจิตดิ่งสู่พระนิพพาน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๔๕. อุโภ ปาปัญจะ ปุญญัญจะ วีติวัตโต อะนาสะโว
วีรัตเถโรระหัปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระวีระเถระ ผู้ข้ามพ้นบาปและบุญทั้งสองประการแล้ว
ผู้ไม่มีอาสวะ บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๔๖. ปุณณะมาสะมะหาเถโร ปังสุกูละธะโร ยะติ
ปุพพะกิจจะวิธิง กัตฺวา มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระปุณณมาสะมหาเถระ เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
กระทำบุพพกิจเบื้องต้นแล้ว
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๔๗. ปัญจะฉินโน ปัญจะชะโห ปัญจะจุตตะริภาวะโน
ปัญจะสังคาติโค เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระปัญจสังคาติคเถระ
ผู้ข้ามพ้นกิเลสเป็นเครื่องข้อง (นิวรณ์) ๕ อย่าง
ผู้ตัดโอรัมภาคิยะสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ อย่างได้แล้ว
ผู้ละอุทธัมภาคิยะสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ อย่างได้แล้ว
ผู้เจริญอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๔๘. ปุพเพ ราคัง วิจาเรนโต ชินะภัตติปะรายะโน
เพลัฏฐะสีโส วังสะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเพลัฏฐสีสะเถระ ผู้เคยจัดแจงการบูชายัญในกาลที่ตนเป็นฤษี
ผู้ถวายความภักดีต่อพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงไว้ซึ่งวงศ์แห่งอริยะ
(วงศ์แห่งอริยะคือสันโดษในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และยินดีในการภาวนา)
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๔๙. ปัญจุปปันนานิ อะภะโย นิกันติ นัตถิ ชีวิเต
อะชิโต โส มะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระมหาเถระนามว่า อชิตะ ผู้ไม่มีความกลัวภัย ๕ อย่าง
(ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย) ที่กำลังเกิดขึ้น
ผู้ไม่มีความเยื่อใยในชีวิต
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๕๐. วิวัฏฏะนิสสะเย ปุญเญ กัตฺวา สัมพุทธะภัตติมา
กุลลัตเถโรระหัปปัตโต มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระกุลละเถระ ผู้มีความภักดีในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ได้กระทำบุญบารมี อันมีนิพพานเป็นที่รองรับ
บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด
๑๕๑. วิปัสสี ธัมมะทายาโท เถโร นิโคฺรธะนามะโก
นิพพานาคะมะสันทิฏโฐ สะทา สันติง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า นิโครธะ ผู้มีปกติเจริญวิปัสสนา
ผู้เป็นธรรมทายาท เป็นผู้ได้ประจักษ์แจ้งธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
ขอจงประทานความสงบ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๒. ติสโส วิชชา อะนุปปัตโต สุคันโธ นามะ โสระหา
สัพพะปาปะปะริกขีโณ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอรหันต์นามว่า สุคันธะ ได้บรรลุวิชชาสาม
เป็นผู้หมดสิ้นจากบาปทั้งปวง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๓. นันทิโย สัทธาสัมปันโน ชิตะกเลโส มะหาเถโร
อะภิญญาปาระมิปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระนันทิยะมหาเถระ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ผู้ชนะกิเลสทั้งปวง ผู้ถึงที่สุดแห่งอภิญญา
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๔. กิเลสา ฌาปิตา เยนะ ชิตะธัมมะระเตนะ โส
กัมมาระปุตตะวิมะโล สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระรูปใด เป็นบุตรของนายช่างทอง
เป็นผู้ยินดีในธรรมอันเป็นเครื่องพิชิตมาร
ชนะกิเลสด้วยมรรคญาณแล้ว
พระเถระนั้นนามว่า วิมละ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๕. เทวะโลกะมะนุสเสสุ อะนุภุตฺวา วิภูติโย
ติสสัตเถโร มะหาภูโต มะหาสันติง กะโรตุ โน


พระติสสะเถระ เสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษย์โลกแล้ว
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๕๖. สุวิมุตโต มะหานาโค ตีหิ วังเกหิ มุตตะโก
สุมังคะโล มะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน

พระสุมังคละมหาเถระ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว
เป็นพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
พ้นแล้วจากความคดกาย วาจา ใจทั้งสาม
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๕๗. นิรัคคะโฬ นิราสาโส มะละขีละวิโสธะโน
วิเวกาภิระโต คุตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระมหาเถระนามว่า คุตตะ ผู้ปราศจากลิ่มคืออวิชชา
ผู้ปราศจากกิเลสคือความอยาก
ผู้ชำระมลทินได้ทั้งหมด ผู้ยินดีในความวิเวก
โปรดประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๘. ปะวิเวกะมะนุปปัตโต คิริมานันทะนามะโก
ภาเวนโต กุสะเล ธัมเม สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระนามว่า คิริมานันทะ เจริญกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ได้บรรลุวิเวก ๓ แล้ว (กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก)
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๕๙. พุทธะสาสะนะมารัทโธ สะมิทธิ ภาวะนาระโต
สะมิทธิคุณะสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสมิทธิเถระ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ยินดีในภาวนา
ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ อันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๐. อาราธิตะชิโน สันโต โชติตเถโร มะหาระหา
วิมุตโต สัพพะสังสารา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระโชติตเถระ ผู้ชนะตัณหา อันเป็นเหตุให้ยินดีได้แล้ว
เป็นผู้สงบ เป็นพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
หลุดพ้นแล้วจากสังสาระทั้งปวง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๖๑. เสนาสะนานิ ปันตานิ เสวันโต ฌานะมาระภิ
ฉะฬะภิญโญ มะหาจุนโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระมหาจุนทะเถระ
อาศัยเสนาสนะอันสงัดอยู่ เข้าฌาน ได้อภิญญา ๖
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๒. ฉันนัตเถโร สะหะชาโต สุณันโต ชินะสาสะนัง
โยคักเขมะมะนุปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระฉันนะเถระ ผู้เป็นสหชาตกับพระพุทธเจ้า
เมื่อเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ (คือพระนิพพาน) แล้ว
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๓. เมฆิโย พุทธุปปัฏฐาโก ชินะภัตติปะรายะโน
มิจฉาวิตักกุปัจเฉโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเมฆิยะเถระ ผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
ผู้มีความภักดี ในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง
ตัดมิจฉาวิตกคือความดำริผิดได้แล้ว
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๔. อุปะวาโณ มะหาเถโร มะหากาโย มะหาระหา
มะหิทธิโก มะหาเตโช สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุปวาณะ ผู้เป็นมหาเถระ มีร่างกายใหญ่
เป็นพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๑๖๕. สังกิจโจ โจระทะมะโน สัพพะสังโยชะนักขะโย
ปาเลตุ โน สัพพะภะยา โสตถฺยาโรคฺยัง ทะทาตุ โน


พระสังกิจจะเถระ ผู้ฝึกโจรห้าร้อย
สิ้นสังโยชน์คือกิเลส เครื่องผูกสัตว์ไว้ในสังสารวัฏแล้ว
ขอจงรักษาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากภัยทั้งปวง
ขอจงประทานความสวัสดี และความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๑๖๖. ปัญหะพฺยากะระเณ เฉโก เมตตาฌานะระโต ยะติ
โสปาโกปายะสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระโสปากะเถระ
เป็นภิกษุผู้ฉลาดในการทูลตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
ผู้ยินดีในฌานอันประกอบด้วยเมตตา
ผู้ถึงพร้อมด้วยอุบาย เพื่อให้ได้มรรคผล
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๗. เขตตะสัมปัตติสัมปัตโต วัฑฒะมาโนวะ โสตถินา
สุมะโน อะระหา ชาโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสุมนะเถระ ผู้สมบูรณ์ด้วยกาลเวลา
อันสมควรที่จะบรรลุธรรม
ผู้เจริญเติบโตด้วยความสุข เป็นพระอรหันต์แล้ว
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๘. ปิโย เทวะมะนุสสานัง สานุตเถโร พะหุสสุโต
เมตตาฌายี ตะโมฆาตี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสานุเถระ ผู้เป็นที่รักของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีปกติเข้าฌานประกอบด้วยเมตตา
ผู้ทำลายความมืดคือโมหะ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๖๙. โย จะ ปุพเพ กะตัง ปาปัง กุสะเลนะ ปิธียะติ
อังคุลิมาโล โส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถระใด ได้เคยทำบาปมาก่อน
เป็นผู้ตัดบาปอกุศลได้ด้วยอริยมรรค
พระเถระนั้นนามว่า องคุลีมาละ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๐. วิปัสสะนาธุรา เยปิ เถรา สะมะถะยานิกา
ขีณาสะวา มะหาเตชา มะหาตะมะวิโนทะนา


พระเถระแม้เหล่าใด ผู้สิ้นอาสวะ ผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่
ผู้ขจัดความมืดมิดคือโมหะ ผู้เจริญวิปัสสนาเป็นธุระก็ดี
พระเถระเหล่าใด ผู้เป็นสมถยานิกะก็ดี

๑๗๑. ฌานิกาฌานิกา เยปิ ธัมมาภิสะมะยาทะโย
สัพเพ โสตถิง สะทา เทนตุ ชะยะมาโรคฺยะมายุ โน


และพระเถระเหล่าใด ผู้ได้ฌานและไม่ได้ฌานก็ดี
พระเถระเหล่าใด ผู้ถูกกำหนดด้วยการบรรลุอริยสัจธรรมก็ดี
ขอพระเถระทั้งปวง ที่กล่าวมาแล้วนี้
จงประทานความสวัสดี ชัยชนะ ความไม่มีโรค และอายุ
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๑๗๒. รัตตัญญูนัง ภิกขุนีนัง โคตะมี ชินะมาตุจฉา
ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้รู้ราตรี
ขอพระเถรี ได้โปรดประทานความสวัสดี
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๓. มะหาปัญญานะมัคคัฏฐา เขมาเถรีติ ปากะฏา
สาวิกา พุทธะเสฏฐัสสะ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


พระพุทธสาวิกาผู้ประเสริฐสุด ปรากฎนามว่า พระเขมาเถรี
ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
ขอพระเถรีจงประทานความสวัสดี
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๔. เถรี อุปปะละวัณณา จะ อิทธิมันตีนะมุตตะมา
สาวิกา พุทธะเสฏฐัสสะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระอุบลวรรณาเถรี เป็นพุทธสาวิกาผู้ประเสริฐสุด
เป็นผู้เลิศกว่า เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้มีฤทธิ์
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๕. วินะยัทธะรีนัง อัคคา ปะฏาจาราติ วิสสุตา
ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถรีผู้ปรากฏชื่อว่า พระปฏาจารา
พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้ทรงพระวินัย
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๖. ธัมมักกะถิกะปะวะรา ธัมมะทินนาติ นามิกา
ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถรีผู้มีนามว่า ธัมมทินนา
พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๗. ฌายิกานัง ภิกขุนีนัง นันทาเถรีติ นาเมสา
อัคคัฏฐาเน ฐิตา อะหุ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระสาวิกานามว่า นันทาเถรี
เป็นผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้มีฌาน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๘. อารัทธะวีริยานัง อัคคา โสณาเถรีตินามิกา
ฐะปิตา ตัตถะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถรีนามว่า โสณา
พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าเหล่าบรรดาภิกษุณี
ผู้ปรารภความเพียร
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๗๙. ทิพพะจักขุกานัง อัคคา พะกุลา อิติ วิสสุตา
วิสุทธะนะยะนา สาปิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระเถรีผู้ปรากฏชื่อว่า พกุลา เป็นผู้มีจักษุอันบริสุทธิ์
เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าบรรดาภิกษุณีผู้มีตาทิพย์
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๘๐. กุณฑะละเกสี ภิกขุนี ขิปปาภิญญานะมุตตะมา
ฐะปิตาเยวะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


ภิกษุณีชื่อว่า กุณฑละเกสี
พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้แล้วในตำแหน่ง เป็นผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้ตรัสรู้เร็ว
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๘๑. เถรี ภัททะกาปิลานี ปุพพะชาติมะนุสสะรี
ตาสังเยวะ ภิกขุนีนัง อัคคา โสตถิง กะโรตุ โน


พระภัททกาปิลานีเถรี ผู้ระลึกถึงชาติในปางก่อนได้
เป็นผู้เลิศกว่า เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้ระลึกชาติปางก่อนได้
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด.

๑๘๒. เถรี ตุ ภัททะกัจจานา มะหาภิญญานะมุตตะมา
ชิเนนะ สุขะทุกขัง สา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


พระภัททกัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา)
ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นคู่บารมีกับพระชินเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระนางไว้ในตำแหน่ง เป็นผู้เลิศกว่า
เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้มีอภิญญาอันพิเศษ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๘๓. ลูขะจีวะระธารีนัง อัคคา กิสาปิ โคตะมี
ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้ พระกิสาโคตมี พระศาสดาตั้งไว้ในตำแหน่ง
เป็นผู้เลิศกว่า เหล่าบรรดาภิกษุณีผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๘๔. สิงคาละมาตา ภิกขุนี สัทธาธิมุตตานะมุตตะมา
กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรคฺยัญจะ สุขัง สะทา


พระสิงคาลมาตาภิกษุณี
เป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มากด้วยศรัทธา
ขอจงประทานความสงบอันประเสริฐ
ความไม่มีโรค และความสุข แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๘๕. อัญญา ภิกขุนิโย สัพพา นานาคุณะธะรา พะหู
ปาเลนตุ โน สัพพะภะยา โสกะโรคาทิสัมภะวา


พระภิกษุณีเหล่าอื่นทั้งปวงเป็นจำนวนมาก
ผู้ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กัน
ขอจงรักษาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากภัยทั้งปวง
อันเกิดจากความเศร้าโศก และโรคเป็นต้น

๑๘๖. โสตาปันนาทะโย เสกขา สัทธาปัญญาสีลาทิกา
ภาคะโส กเลสะทะหะนา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


พระภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เป็นพระเสขบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น
เป็นผู้ยิ่งยวดด้วยศรัทธา ปัญญา และศีล
เป็นผู้เผากิเลสได้เป็นบางส่วน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(พญานาค)

๑๘๗. สุมะโน สุมะนะจะโล อะระวาเฬระปัตตะโก
จัมเปยโย มุจะลินโท จะ กัมพะโล ภุชะคิสสะโร


สุมนะนาคราช สุมนจละนาคราช อรวาฬะนาคราช
เอฬปัตตกะนาคราช จัมเปยยะนาคราช มุจลินทะนาคราช
กัมพละนาคราช ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคราช

๑๘๘. กาละนาโค มะหากาโฬ สังขะปาโล มะโหทะโร
มะณิกัณโฐ มะณิอักขิ นันทะนาโคปะนันทะโก


กาละนาคราช มหากาฬะนาคราช สังขปาละนาคราช
มโหทระนาคราช มณิกัณฐะนาคราช มณิอักขินาคราช
นันทะนาคราช อุปนันทะนาคราช

๑๘๙. วะรุโณ ธะตะรัฏโฐ จะ กุงคุวิโลปะลาละโก
จิตฺระนาโค มะหาวีโร ฉัพฺยาปุตโต จะ วาสุกี


วรุณะนาคราช ธตรัฏฐะนาคราช กุงคุวิละนาคราช
อปลาลกะนาคราช จิตระนาคราช มหาวีระนาคราช
ฉัพยาปุตตะนาคราช วาสุกีนาคราช

๑๙๐. กัณหาโคตะโม ภุชะคินโท อัคคิธูมะสิโข ตะถา
จูโฬทะโร อะหิจฉัตโต นาคา เอราปะถาทะโย


กัณหาโคตมะนาคราช นาคผู้เป็นจอมนาค
อัคคิสิขะนาคราช ธูมะสิขะนาคราช อหิจฉัตตะนาคราช
จูโฬทระนาคราช พญานาคทั้งหลาย มีเอราปะถะนาคราชเป็นต้น

๑๙๑. อาสีวิสา โฆระวิสา เย สัพเพ นะยะนาวุธา
ชะลัฏฐา วา ถะลัฏฐา วา ปัพพะเตยยา นะทีจะรา
กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อายุมาโรคิยัง สะทา


หมู่นาคราชทั้งปวงเหล่าใด
เป็นนาคราชมีพิษร้ายแรง (คือพิษแล่นไปเร็ว)
มีพิษน่าสพึงกล้ว มีนัยน์ตาเป็นอาวุธ
ดำรงอยู่ในน้ำ ดำรงอยู่บนบก ดำรงอยู่ที่ภูเขา
หรือว่าเที่ยวไปในนที
ขอนาคราชทั้งปวงเหล่านั้น
จงประทานความสวัสดีอันประเสริฐ
ความมีอายุ และความไม่มีโรค
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(เปรต)

๑๙๒. นิชฌามะตัณหิกา เปตา อุสุสัตติ จะ โลมะกา
มังสะปิณฑาทะโย เปตา เปตา เวมานิกาทะโย
ปาเลนตุ โน สัพพะภะยา สะทา เต สุขิโน สะทา


นิชฌามตัณหิกะเปรต อุสุโลมกะเปรต
สัตติโลมกะเปรต มังสปิณฑะเปรตเป็นต้น เวมานิกะเปรตเป็นต้น
ขอเปรตทั้งหลายเหล่านั้นจงมีความสุขในกาลทุกเมื่อ
จงรักษาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากภัยทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อเถิด

(อสูร)

๑๙๓. เย ปะหาราทะสัมพะระ พะลฺยาสุระคะณา จะ เย
เวปะจิตตาสุระคะณา จันทาสุระคะณาทะโย


หมู่อสูรเหล่าใด คือ หมู่ปหาราทะอสูร หมู่สัมพะระอสูร
หมู่พลิอสูร หมู่เวปจิตตะอสูร หมู่จันทะอสูรเป็นต้น

๑๙๔. สัพเพ เตปิ มะหาเตชา ภูตะยักขะนิวาระณา
กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อาโรคฺยัญจะ ชะยัง สะทา


แม้หมู่อสูรเหล่านั้นทั้งปวง มีเดชมาก
ผู้สามารถป้องกันภูตและยักษ์
ขอจงประทานความสวัสดีอันประเสริฐ
ความไม่มีโรค และชัยชนะ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(เทวดา)

๑๙๕. เย ยักขา สัตตะสะหัสสา ภุมมา กาปิละวัตถุกา
อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน


ยักษ์ผู้เป็นภุมมเทวดาเจ็ดพันตนเหล่าใด
อยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีความเจริญรุ่งเรือง มีวรรณะ มีบริวารมาก

๑๙๖. สัพเพ ติสะระณา ยักขา มะเหสักขา ชุตินธะรา
กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อาโรคฺยัญจะ ชะยัง สะทา


ยักษ์(เทวดา)ทั้งปวง ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
มีศักดิ์ใหญ่ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง
ขอยักษ์เหล่านั้น จงประทานความสวัสดีอันประเสริฐ
ความไม่มีโรค และชัยชนะ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๙๗. ฉะสะหัสสา เหมะวะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน
พุทธะปูชายะ นิระตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.


ยักษ์(เทวดา)หกพันตน อยู่ที่เขาเหมวตา
มีผิวพรรณวรรณะต่าง ๆ กัน ยินดีในการบูชาพระพุทธเจ้า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๙๘. สาตาคิรา ติสะหัสสา ยักขา นีลาทิวัณณิโน
นานาปะภายะ สัมปันนา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ยักษ์(เทวดา)สามพันตน อยู่ที่เขาสาตาคีรี
มีผิวพรรณ วรรณะสีเขียวเป็นต้น ผู้สมบูรณ์ด้วยรัศมีต่าง ๆ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๑๙๙. เวสสามิตตา ปัญจะสะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ยักษ์(เทวดา)ห้าร้อยตน
อยู่ที่เขาเวสสามิตตะมีผิวพรรณวรรณะต่าง ๆ กัน
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีวรรณะ มีบริวาร บันเทิงอยู่ มาชุมนุมกัน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๐. กุมภีโร ราชะคะหิโก เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง
ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ
โส ยักเขหิ ปะริวาโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


เทวดาชื่อว่า กุมภีระ อยู่ในพระนครราชคฤห์
วิมานของท้าวเธอนั้น ได้แก่ยอดเขาเวปุลละ
ท้าวเธอนั้น เป็นผู้อันหมู่ยักษ์หลายแสนตนเข้ามาปรนนิบัติรับใช้
ขอท้าวกุมภีระผู้มียักษ์เป็นบริวารนั้น
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๑. ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานัง อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส


ท้าวมหาราชนามว่า ธตรัฏฐะ ปกครองอยู่ในทิศบูรพา
เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ท้าวเธอมีบริวารมาก

๒๐๒. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา
โส ราชา สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้บุตรของท้าวเธอก็มีมาก นามว่า อินทะ มีกำลังมาก
ขอท้าวธตรัฏฐะกับบุตรทั้งหลาย
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๓. ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัง ปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส


ท้าวมหาราชนามว่า วิรุฬหก ปกครองอยู่ในทิศทักษิณ
เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ท้าวเธอมีบริวารมาก

๒๐๔. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา
วิรุฬโห สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้บุตรของท้าวเธอก็มีมาก นามว่า อินทะ มีกำลังมาก
ขอท้าววิรุฬหกะกับบุตรทั้งหลาย
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๕. ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัญจะ อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส


ท้าวมหาราชนามว่า วิรูปักข์
ปกครองอยู่ในทิศปัจฉิมเป็นอธิบดีของพวกนาค ท้าวเธอมีบริวารมาก
๒๐๖. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา
วิรูปักโข สะปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้บุตรของท้าวเธอก็มีมาก นามว่า อินทะ
มีกำลังมากขอท้าววิรูปักข์กับบุตรทั้งหลาย
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๗. อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัง ปะสาสะติ
ยักขานัญจะ อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส


ท้าวมหาราชนามว่า กุเวระ ปกครองอยู่ในทิศอุดร
เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ ท้าวเธอมีบริวารมาก

๒๐๘. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา
กุเวโร สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


แม้บุตรของท้าวเธอก็มีมากนามว่า อินทะ มีกำลังมาก
ขอท้าวกุเวระกับบุตรทั้งหลาย
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๐๙. ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง


ท้าวธตรัฏฐะ ประจำอยู่ในทิศบูรพา ท้าววิรุฬหก
ประจำอยู่ในทิศทักษิณ ท้าววิรูปักขะ ประจำอยู่ในทิศปัจฉิม
ท้าวกุเวระ ประจำอยู่ในทิศอุดร

๒๑๐. จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัททัฬหะมานา อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ท้าวมหาราชทั้งสี่ ผู้รุ่งเรืองดุจประทีป
ประจำอยู่ในทิศทั้งสี่โดยรอบ
ขอท้าวเธอจงประทานความสวัสดี
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๑๑. เตสัง มายาวิโน ทาสา อาคุง วัญจะนิกา สะฐา
มายา กุเฏณฑุ วิเฏณฑุ วิตุจจะ วิตุโฏ สะหะ


พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้งสี่เหล่านั้น
ล้วนเป็นผู้มีมายาหลอกลวงเจ้าเล่ห์
ได้แก่บ่าว ชื่อกุเฏณฑุก็ดี ชื่อวิเฏณฑุก็ดี ชื่อวิตุจจะก็ดี ชื่อวิตุฏะก็ดี

๒๑๒. จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ
ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ


ชื่อจันทนะก็ดี ชื่อกามเสฏฐะก็ดี ชื่อกินนุฆัณฑุก็ดี
ชื่อนิฆัณฑุและปนาทะเทวดาก็ดี ชื่อโอปมัญญะเทวดาก็ดี
เทพสารถีชื่อว่ามาตลิก็ดี ต่างก็มาแล้วสู่ที่ชุมนุม

๒๑๓. จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะเนสะโภ
วะโร ปัญจะสิโข เจวะ ติมพะรู สูริยะวัจฉะสา


เทพคนธรรพ์ชื่อว่าจิตตะเสนะ ชื่อว่านโฬราชะ
ชื่อว่าชเนสภะ ชื่อว่าปัญจสิขะ
(ผู้ปรารถนาให้ได้นางสุริยวัจฉสาเทพธิดา)
ชื่อว่าติมพรู ชื่อว่าสุริยวัจฉสาเทพธิดา (ผู้เป็นบุตรีของท้าวติมพรู)

๒๑๔. เอเต จัญเญ จะ ราชาโน คันธัพพา จะ มะหัพพะลา
โมทะมานา สะทา โสตถิง โน กะโรนตุ อะนามะยัง


ขอพระราชาทั้งหลาย เทพคนธรรพ์เหล่านี้ และเทพเหล่าอื่น
ผู้มีกองกำลังมหาศาล บันเทิงอยู่
จงประทานความสวัสดีและความไม่มีโรค
แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๑๕. มะหันตา นาคะสา นาคา เวสาลา สะหะ ตัจฉะกา
กัมพะลัสสะตะรา จาปิ เมรุปาทะสิตา พะลา


เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระน้ำชื่อว่า นาคสะ จำนวนมาก
พร้อมกับบริวารของท้าวตัจฉกะ
และนาคผู้อาศัยอยู่ในนครเวสาลี
และกัมพละนาคราช อัสสตระนาคราช
ผู้มีพละกำลังผู้อาศัยอยู่ที่เชิงเขาสุเมรุ

๒๑๖. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ สัพเพ นาคา ยะสัสสิโน
เอราวะโณ มะหานาโค โน กะโรนตุ อะนามะยัง


นาคผู้อยู่ในแม่น้ำยมุนา และนาคชื่อว่าธตรัฏฐะ
และนาคทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีบริวารเป็นจำนวนมาก
และท้าวเอราวัณผู้มีชื่อว่ามหานาค
จงประทานความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าเถิด
๒๑๗. มะหิทธิกา สุปัณณา เย นาคะราเช มะหัพพะเล
คะเหตฺวา ชินะเขตเตวะ ปักขันทิงสุ นะเภ พะลา
เต พุทธะสะระณา สัพเพ โสตถิง กะโรนตุ โน สะทา


ครุฑเหล่าใด เป็นผู้มีฤทธิ์เดช ผู้ทรงพลัง
จับนาคราชผู้ทรงพลังในแดนที่ตนชนะนั่นเทียว แล้วบินไปในท้องฟ้า
ครุฑทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๑๘. ปะฐัพฺยาโป จะ เตโช จะ วาโย เทวา มะหิทธิกา
อุปะจาเรนะ นิพพัตตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


เทวดาชื่อว่า ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ผู้มีฤทธิ์มาก
บังเกิดด้วยอุปจารฌานของตน ๆ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๑๙. วะรุณา วาระณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ
เมตตาการุณิกา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


วรุณะเทพ วารณาเทพ โสมะเทพ
พร้อมทั้งยะสะเทพ เมตตาเทพ กรุณาเทพ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๒๐. ปัณณาสะโยชะนายาเม วิมาเน ระตะนามะเย
ฐิโต ตะเม วิหันตฺวานะ สูริโย โสตถิง กะโรตุ โน


สุริยะเทพบุตร ผู้อาศัยอยู่ในสุริยะวิมาน
ที่สำเร็จด้วยรัตนะซึ่งมีความยาวห้าสิบโยชน์
ขอจงทำลายความมืด แล้วประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๒๑. จันโท สีตะกะโร โลเก ปะภายุชชะลิโตทะโย
มะหันธะการะวิทธังสี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน


จันทะเทพบุตร ผู้ประทานความร่มเย็นแก่ชาวโลก
ส่องสว่างปรากฏขึ้น ด้วยรัศมี มีปกติทำลายความมืดมน
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๒๒. เวณฑุ จะ สะหะสี เทวา อะสะมา จะ ทุเว ยะมา
จันทัสสูปะนิสา เทวา เทวา สูริยะนิสสิตา
พุทธัสสะ มามะกา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


เวณฑุเทพ สหสีเทพ อสมะเทพ ยมะเทพทั้งสอง
เทพผู้อาศัยจันทะเทพบุตร เทพผู้อาศัยสุริยะเทพบุตร
และเทพทั้งหลายทั้งปวง ผู้นับถือพระพุทธเจ้า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๒๓. นักขัตตานิ ปุรักขัตฺวา เทวา มันทะวะลาหะกา
สักโก ปุรินทะโท เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


เทพทั้งหลาย ผู้พึ่งพาอาศัยนักษัตร(ดวงดาว)
วลาหกะเทพทั้งหลายผู้ยังให้บังเกิดลม
ท้าวสักกะผู้เคยให้ทานมาก่อน ผู้ได้รับการยกย่อง
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๒๔. มะหันตา สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ
อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ อุมมาปุปผะนิภาสิโน


สหภูเทพผู้ประเสริฐ ผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟ
(หรือชลมัคคิเทพ สิขาริจเทพ)
อริฏฐะเทพ โรชะเทพ ผู้มีรัศมีเช่นกับดอกอุมมา คือ ดอกผักตบ

๒๒๕. วะรุณา สะหะธัมมา จะ อัจจุตา จะ อะเนชะกา
สูเลยยะรุจิรา เทวา เทวา วาสะวะเนสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน
วรุณะเทพ สหธัมมะเทพ อัจจุตะเทพ อเนชกะเทพ
สูเลยยะเทพ รุจิราเทพ วาสวเนสีเทพ
ขอเหล่าทวยเทพสิบจำพวกเหล่านี้
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๒๖. สะมานา มะหาสะมานา มานุสา มานุสุตตะมา
ขิฑฑาปะโทสิกา เทวา เทวา มะโนปะโทสิกา
สมานะเทพ มหาสมานะเทพ มานุสะเทพ
มานุสุตตมะเทพ ขิฑฑาปโทสิกะเทพ มโนปโทสิกะเทพ

๒๒๗. อะถาปิ หะระโย เทวา เทวา โลหิตะวาสิโน
ปาระคา มะหาปาระคา สัพเพ เทวา ยะสัสสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


อนึ่ง หริเทพ โลหิตวาสีเทพ ปารคะเทพ มหาปารคะเทพ
เทพทั้งปวงล้วนมีบริวาร
ขอเหล่าทวยเทพทั้งสิบจำพวกเหล่านี้
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
๒๒๘. สุกกา กะรัมภา อะรุณา อาคุง เวฆะนะสา สะหะ
โอทาตะคัยหา ปาโมกขา อาคุง เทวา วิจักขะณา


สุกกะเทพ กรัมภะเทพ อรุณะเทพ
มาแล้วพร้อมกับเวฆนสะเทพ โอทาตคัยหะเทพผู้เป็นใหญ่
และวิจักขณะเทพก็มา

๒๒๙. สะทามัตตา หาระคะชา มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน
ถะนะยัง อาคะปัชชุนโน โย ทิสาสวะภิวัสสะติ


สทามัตตะเทพ หาระคะชะเทพ มิสสะกะเทพ
ผู้มีบริวารก็มา ปัชชุนะเทพ ผู้ทำให้ฝนตกทั่วทิศก็มา

๒๓๐. ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา ชินะทานา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


เหล่าเทวดาสิบจำพวกเหล่านี้ทั้งปวง ล้วนมีรัศมีต่าง ๆ กัน
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีวรรณะ มีบริวาร บันเทิงอยู่ ผู้ประทานชัยชนะ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๓๑. โลกะธาตุสะหัสเสสุ ทะสะสเววะ สะมันตะโต
เทวาทะโย ปาณะคะณา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ในหมื่นโลกธาตุโดยรอบนั่นเทียว ขอหมู่สัตว์มีเทวาเป็นต้น
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด.

๒๓๒. เขมิยา กัฏฐะกายา จะ โชตินามา มะหิทธิกา
ลัมพีตะกา ลามะเสฏฐา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเขมิยะเทพ กัฏฐกายะเทพ โชติเทพ ผู้มีฤทธิ์มาก
ลัมพีตกะเทพ ลามเสฏฐะเทพ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๓๓. ชะลัฏฐา จะ ถะลัฏฐัญเญ เทวากาสัฏฐะกาทะโย
ยักขะคันธัพพะกุมภัณฑา ปิสาจา เย มะโหระคา
เมตตะจิตตา จะ สัพเพ เต โสตถิง ผาสุง กะโรนตุ โน


เทพเหล่าอื่นอันมี เทพที่อยู่ในน้ำ
เทพที่อยู่บนบก เทพที่อยู่ในอากาศเป็นต้น
และยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ ปีศาจ และนาคราชทั้งปวง
ขอจงมีจิตเมตตา ประทานความสวัสดีและความผาสุก
แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๓๔. ตาวติงสา จะ เย เทวา ยามา เทวา มะหิทธิกา
ตุสิตา จะ มะหาเทวา นิมมานะระติโนมะรา


ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามาผู้ทรงฤทธิ์
ทวยเทพชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี.

๒๓๕. วะสะวัตตีสุ ระติโน สัพเพ เทวา สะวาสะวา
พุทธะปูชายะ นิระตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ทวยเทพชั้นปรนิมมิตตวสวัตตี
ขอทวยเทพทั้งปวงดังที่กล่าวมานี้
พร้อมทั้งท้าววาสวะ (พระอินทร์)
ผู้มีความยินดี ในการบูชาพระพุทธเจ้า
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(พรหม)

๒๓๖. พฺรัหฺมาโน ปาริสัชชา จะ เย จะ พฺรัหฺมะปุโรหิตา
มะหาพฺรัหฺมา จะ สัพเพ เต ปะฐะมัชฌานะสัณฐิโน


พรหมผู้ดำรงอยู่ในปฐมฌานเหล่านี้คือ
ปาริสัชชาพรหม ปุโรหิตาพรหม และ มหาพรหมาพรหม.

๒๓๗. เมตตาวิหาริโน สันตา สัมพุทธัสสะ ปะรายะนา
กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง เสกขาเสกขะปุถุชชะนา


ขอพรหมทั้งปวงเหล่านั้น ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ผู้สงบ
ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ผู้เป็นทั้งเสกขะ พระอรหันต์ และปุถุชน
จงประทานความสวัสดีอันประเสริฐ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๓๘. ปะริตตาภัปปะมาณาภา พฺรัหฺมา จาภัสสะรา ตะถา
พุทธะปูชายะ นิระตา ทุติยัชฌานะสัณฐิโน


พรหมผู้ดำรงอยู่ในทุติยฌาน
ผู้ยินดีในการบูชาพระพุทธเจ้าเหล่านี้คือ
ปริตตาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหม และ อาภัสสราพรหม

๒๓๙. เมตตาการุณิกา สัพเพ สัพพะสัตตะหิเตสิโน
กะโรนตุ โน มะหาสันติง โสตถิมาโรคฺยะมายุวัง


ขอพรหมทั้งปวง ผู้มีปกติเมตตา กรุณา
แสวงหาความเกื้อกูล ให้แก่สัตว์ทั้งปวง
จงประทานความสงบอันประเสริฐ
ความสวัสดี ความไม่มีโรค และความมีอายุ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๔๐. ปะริตตะสุภาพฺรัหฺมาโน อัปปะมาณะสุภา จะ เย
สุภะกิณหา จะ พฺรัหฺมาโน ตะติยัชฌานะสัณฐิโน


พรหมผู้ดำรงอยู่ในตติยฌาน เหล่านี้คือ
ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม และ สุภกิณหาพรหม

๒๔๑. ปะภายะ ผะระณา โลเก พุทธะฌานะระตา สะทา
อะหิงสา สัพพะสัตเตสุ สะทา สันติง กะโรนตุ โน


ขอพรหมทั้งหลายเหล่านั้น
ผู้แผ่รัศมีไปในโลก ผู้ยินดีในพุทธฌาน
ผู้ไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ทั้งปวง
จงประทานความสงบ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๒. เวหัปผะลาปิ พฺรัหฺมาโน จะตุตถัชฌานะสัณฐิโน
เสกขะปุถุชชะนาเสกขา สะทา สันติง กะโรนตุ โน


พรหมผู้ดำรงอยู่ในจตุตถฌาน ผู้เป็นเสกขะ ปุถุชน
และอเสกขะคือ เวหัปผลาพรหม
ขอจงประทานความสงบ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๓. สัมปัตติยา นะ หายันติ พฺรัหฺมาโน ชินะสาวะกา
อะวิหานามะกา สัพเพ สะทา สันติง กะโรนตุ โน


พรหมทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมไม่เสื่อมจากฌานสมาบัติ
เพราะเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่า อวิหาพรหม
ขออวิหาพรหมทั้งปวงเหล่านั้น
จงประทานความสงบ แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๔. อะตัปปา นามะ พฺรัหฺมาโน จะตุตถัชฌานะสัณฐิโน
พฺรัหฺมะวิหาริกา สัพเพ โสตถิง ผาสุง กะโรนตุ โน


ขอ อตัปปาพรหม ทั้งปวง ผู้มีพรหมวิหาร ดำรงอยู่ในจตุตถฌาน
จงประทานความสวัสดี และความผาสุก แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๔๕. สุทัสสา นามะ พฺรัหฺมาโน ภิรูปา ฌานะโภคิโน
อะปุนาคะมะนา กาเม สันติง ผาสุง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าพรหมชื่อว่า สุทัสสา
ผู้มีรูปงาม ผู้เสวยฌาน ผู้ไม่กลับมาในกามภูมิอีก
จงประทานความสงบ และความผาสุก แก่พวกข้าพเจ้าเถิด

๒๔๖. พฺรัหฺมะวิหาระสัมปันนา ชินะภัตติปะรายะนา
พฺรัหฺมาโน สุทัสสี นามะ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าพรหมชื่อว่า สุทัสสี ผู้สมบูรณ์ด้วยพรหมวิหาร ผู้
มีความนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๗. อะกะนิฏฐา จะ พฺรัหฺมาโน เชฏฐา สัพพะคุเณหิ จะ
ปะหีนะภะวะนิสเนหา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าพรหมผู้เจริญที่สุดด้วยคุณทั้งปวง
ชื่อว่า อกนิฏฐา ผู้ละความสิเน่หาในภพได้แล้ว
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๘. ปะฐะมารูปะพฺรัหฺมาโน สัพพะรูปะวิราคิโน
ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าอรูปพรหมชั้นที่ ๑ ทั้งปวง
ผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ยินดีในการภักดีพระชินเจ้า
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๔๙. ทุติยารูปะพฺรัหฺมาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน
ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าอรูปพรหม ชั้นที่ ๒ ทั้งปวง
ผู้ปราศจากความพอใจในฌานเบื้องต่ำ
ยินดีในการภักดีพระชินเจ้า
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๕๐. ตะติยารูปะพฺรัหฺมาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน
ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าอรูปพรหมชั้นที่ ๓ ทั้งปวง
ผู้ปราศจากความพอใจในฌานเบื้องต่ำ
ยินดีในการภักดีพระชินเจ้า
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๕๑. จะตุตถารูปะพฺรัหฺมาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน
ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


ขอเหล่าอรูปพรหมชั้นที่ ๔ ทั้งปวง
ผู้ปราศจากความพอใจในฌานเบื้องต่ำ
ยินดีในการภักดีในพระชินเจ้า
จงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(บุคคลประเภทรวม)

๒๕๒. เวเทเหปะระโคยาเน ชัมพูทีเป กุรุมหิ จะ
เทวะยักขะปิสาเจหิ สัทธิง วิชชาธะราทะโย


ขอเหล่าวิทยาธร กับเทวดา ยักษ์ และปีศาจ ในวิเทหะทวีป
อปรโคยานะทวีป ชมพูทวีป และอุตตรกุรุทวีป

๒๕๓. อากาสัฏฐา จะ พฺรัหฺมาโน ชะลัฏฐา จันตะลิกขะชา
ทวิปะทาทะโย เย สัตตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน


อากาสัฏฐเทวดา และพรหม สัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ ๒ เท้า เป็นต้น
ผู้ดำรงอยู่ในน้ำ ผู้เกิดในอากาศ
ขอจงประทานความสวัสดี แก่พวกข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อเถิด
(อานุภาพแห่งพระรัตนตรัย)

๒๕๔. มาระเสนะวิฆาตัสสะ ชินัสสะ สุขะฌายิโน
เตโชพะเลนะ มะหะตา สะทา มังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ของพระชินเจ้า
ผู้ทรงขจัดมาร และเสนามาร
ผู้เสวยสุขในฌาน ด้วยพลังเดชอันยิ่งใหญ่
ขอมงคลจงมีแก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๕๕. นานาคุณะวิจิตตัสสะ รูปะกายัสสะ สัตถุโน
สัพพะเทวะมะนุสสานัง มาระพันธะวิโมจิโน
เมตตาพะเลนะ มะหะตา สะทา มังคะละมัตถุ โน


ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตาอันยิ่งใหญ่
ของพระศาสดาผู้ทรงมีพระวรกายอันงามวิจิตรด้วยคุณต่าง ๆ
ผู้ทรงปลดเปลื้องเหล่าทวยเทพ และมนุษย์ทั้งปวง
ให้หลุดพ้นจากบ่วงแห่งมาร
ขอมงคลจงมีแก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๕๖. สัพพัญญุตาทิกายัสสะ ธัมมะกายัสสะ สัตถุโน
จักขาทยะโคจะรัสสาปิ โคจะรัสเสวะ ภูริยา
เตโชพะเลนะ มะหะตา สัพพะมังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ แห่งพระธรรมกาย
คือ หมู่ธรรม มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อันไม่ใช่อารมณ์ของจักษุเป็นต้น
แต่เป็นอารมณ์ของปัญญาเท่านั้น
ขอสรรพมงคล จงมีแก่พวกข้าพระองค์เถิด

๒๕๗. รูปะกายะสะทิสัสสะ นิมมิตัสสะ มะเหสิโน
ธัมมัสสะ วัตตุโน สัคเค เทวานัง สุคะตา ปะติ
เตโชพะเลนะ มะหะตา สะทา มังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธปฏิมาที่ทรงเนรมิตขึ้น
ให้เหมือนรูปจริง แทนพระพุทธองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เมื่อทรงแสดงอภิธรรมแก่เหล่าทวยเทพในชั้นดาวดึงส์
ขอมงคลจงมีแก่พวกข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อเถิด

๒๕๘. สิกขิตฺวา มานุเส เทเว โมจะยิตฺวา สะเทวะเก
สังขาเร ปะชะหันตัสสะ นิพพุตัสสะ มะเหสิโน
มะหันเตนานุภาเวนะ สัพพะมังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงฝึกเหล่ามนุษย์และเทวดา ให้หลุดพ้นจากบ่วงมาร
ผู้ทรงละสังขารดับขันธ์ปรินิพพาน
ขอสรรพมงคล จงมีแก่พวกข้าพระองค์เถิด

๒๕๙. จะตุราสีติสะหัสสะ- ธัมมักขันธัสสะ เตชะสา
นะวังคะสาสะนัสสาปิ นะวะโลกุตตะรัสสะ จะ
สัพพะปาปะปะวาเหนะ สัพพะมังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระเดชานุภาพของพระธรรม แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
ด้วยพระเดชานุภาพแห่งนวังคสัตถุศาสน์
และด้วยพระเดชานุภาพแห่งนวโลกุตตรธรรม
อันนำบาปทั้งปวงออกไป
ขอสรรพมงคลจงมีแก่พวกข้าพระองค์เถิด

๒๖๐. มะหะโตริยะสังฆัสสะ ปุญญักเขตตัสสะ ตาทิโน
ปะหีนะสัพพะปาปัสสะ สีลาทิกขันธะธาริโน
มะหาเตชานุภาเวนะ สัพพะมังคะละมัตถุ โน


ด้วยพระเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ของพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐ
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม
ผู้ละบาปทั้งปวง ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณมีศีลเป็นต้น
ขอสรรพมงคลจงมีแก่พวกข้าพเจ้าเถิด
(อานุภาพของเทวดาต่าง ๆ)

๒๖๑. ปาตาเล ภูตะลากาเส เทวะยักขะปิสาจะกา
วิชชาธะรา จะ คันธัพพา นาคะกุมภัณฑะรักขะสา
สัพเพสะมานุภาเวนะ สัพพะมังคะละมัตถุ โน


ด้วยอานุภาพแห่งหมู่เทวดา ยักษ์ ปีศาจ และวิทยาธร
คนธรรพ์ นาค กุมภัณฑ์ และรากษส
ผู้อาศัยอยู่ในบาดาลก็ดี บนพื้นดินก็ดี ในอากาศก็ดี
ขอสรรพมงคลจงมีแก่พวกข้าพเจ้าเถิด

(อานุภาพของอุปปาตะสันติ)

๒๖๒. อิจเจวะมุปปาตะสันติง โย วะเทยยะ สุเณยยะ วา
วิเชยยะ สัพพะปาปานิ วุทธัตตัญจะ ภะวิสสะติ


ผู้ใดสวด หรือฟังคัมภีร์ อุปปาตะสันติ
อันกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้
จะพึงชนะบาปทั้งปวง และจักเจริญด้วยคุณ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ

๒๖๓. โสตถิกาโม ละเภ โสตถิง สุขะกาโม สุขัง ละเภ
อายุกาโม ละเภยยายุง ปุตตะกาโม ละเภ ปุตเต


ผู้ใดปรารถนาความสวัสดี พึงได้ความสวัสดี
ผู้ปรารถนาความสุข พึงได้ความสุข
ผู้ปรารถนาอายุ พึงได้อายุ ผู้ประสงค์บุตร พึงได้บุตร

๒๖๔. นะ ตัสสะ โรคา พาเธนติ วาตะปิตตาทิสัมภะวา
อะกาละมะระณัง นัตถิ นะ เทโว วิสะโมสะเร


โรคที่เกิดจากลม จากดีเป็นต้น ย่อมไม่เบียดเบียนบุคคลนั้น
ความตายในกาลอันไม่สมควร ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
มิจฉาเทวดาย่อมไม่รังแกต่าง ๆ นา ๆ

๒๖๕. นะ จุปปาตะภะยัง ตัสสะ โนปิ ปัตตะภะยัง ตะถา
นัสสันติ ทุนนิมิตตานิ ปาปะกัมมัฏฐิตานิ จะ
ทีฆะมายุ มะหาโสตถิง อาโรคฺยัญจะ สะทา ภะเว


เคราะห์ร้ายและภัยย่อมไม่มีแก่เขา
นิมิตร้ายและสิ่งที่ตั้งขึ้นเพราะบาปกรรมย่อมพินาศไป
ความมีอายุยืน ความสวัสดี อันประเสริฐ
และความไม่มีโรคจะพึงมีแก่เขา ในกาลทุกเมื่อ

๒๖๖. โย สุตฺวาปิ มะหาสันติง สังคามัง ปะวิเส นะโร
วิชะเย เวริโน สัพเพ นะ สัตเถหยะภิภูยะเต


ผู้ใดฟังคัมภีร์อุปปาตะสันติอันประเสริฐแล้ว
พึงเข้าไปสู่สมรภูมิ
บุคคลนั้นอันศาสตราไม่กล้ำกราย ย่อมชนะข้าศึกทั้งมวล

๒๖๗. สัพพะทา ละภะเต ปีติง วิปัตติง นาวะคาหะติ
โรเคหิ นาภิภูยะเต สะวัตถูหิ วิวัฑฒะเต


เขาย่อมได้ซึ่งความอิ่มใจในกาลทุกเมื่อ
ความวิบัติ ย่อมไม่มากล้ำกราย ย่อมไร้โรคา
ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ศฤงคาร

๒๖๘. ยัตฺระ เทเส วะโกวะกา พาฬหะกา รักขะสาทะโย
อุปปาตะสันติโฆเสนะ สัพเพ ตัตถะ สะมันติ เต


สัตว์ร้ายน้อยใหญ่ และรากษสเป็นต้น
ผู้อยู่ในป่าเขาลำเนาไพรทั้งหลายทั้งปวง
ย่อมสงบด้วยเสียงแห่งการสวดคาถาอุปปาตะสันติ

๒๖๙. ยะมุททิสสะ วะเท สันติง สะชีวัญจาปยะชีวิตัง
โส มุจจะเต มะหาทุกขา ปัปโปติ สุคะติง สะทา


บุคคลสวดคัมภีร์อุปปาตะสันติ
อุทิศให้ผู้ใดที่มีชีวิตอยู่หรือไม่มีชีวิตอยู่
บุคคลนั้นย่อมพ้นจากมหันตทุกข์
ย่อมเข้าถึงสุคติภพ ในกาลทุกเมื่อ

๒๗๐. เทวัฏฐาเน นะคะเร วา นิจจะมุปปาตะสันติยา
ปาละกา เทวะราชาโน เตชะสิรีวิวัฑฒะนา


ท้าวเทวราชทั้งหลายผู้ปกปักรักษาเนืองนิจ
ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ หรือในพระนคร
เป็นผู้เจริญด้วยเดชและสิริมงคลด้วยคัมภีร์อุปปาตะสันตินี้

๒๗๑. ปะฐัพฺยาปาทิสัญชาตา อุปปาตา จันตะลิกขะชา
อินทาทิชะนิตุปปาตา ปาปะกัมมะสะมุฏฐิตา
สัพพุปปาตา วินัสสันติ เตชะสุปปาตะสันติยาติ
เหตุร้ายอันเกิดจากแผ่นดินไหวและน้ำท่วมเป็นต้น
เหตุร้ายที่เกิดจากฟากฟ้า เหตุร้ายอันเกิดจากจันทรุปราคาเป็นต้น
เหตุร้ายที่เกิดจากบาปกรรม เหตุร้ายทั้งปวงเหล่านั้นจักพินาศไป
ด้วยเดชแห่งอุปปาตะสันติ

อุปปาตะสันติ นิฏฐิตา จบอุปปาตะสันติ มนต์สำหรับระงับเหตุร้ายทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น