ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การบูชาพระเสาร์


นพเคราะห์ประจำวันเสาร์

ตำนานพระเสาร์

ในคัมภีร์ปุราณะว่าพระเสาร์เป็นโอรสพระอาทิตย์กับพระนางฉายา อีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นโอรสของพระพลราม (มหากาพย์มหาภารตะ) กับนางเรวดี
นางสังคณา (หรือพระนางสรัณยา) ธิดาแห่งพระวิศุกรรม เป็นพระชายาของพระสุริยะ อยู่ด้วยกันจนมีบุตรสามพระองค์ ต่อมาพระนางสังคณาทนแสงพระอาทิตย์ไม่ไหว จึงหลบหนีไป ยอมให้พระนางฉายาอยู่เป็นชายาแทน เมื่อสลับตัวกันแล้ว พระสุริยะก็ไม่รู้ว่าชายาของตนสับตัวกัน วันหนึ่งนางฉายาก็เป็นอันหมั่นไส้โกรธพระยม ซึ่งเป็นหนึ่งในโอรสของพระสุริยะกับพระนางสังคณา นางฉายาจึงกล่าวแช่งพระยม เมื่อพระยมได้รับผลตามคำสาบแช่งของพระนางฉายา พระสุริยะจึงทราบว่าพระนางไม่ใช่มารดาของพระยม ไม่ใช่ชายาคนเดิมของพระองค์ ต่อมาภายหลังพระนางฉายาก็มีบุตรกับพระสุริยะ (พระอาทิตย์) นามว่า พระเสาร์
พราหมณ์ถือกันว่า พระเสาวร์เป็นเทพเจ้าผู้เคราะห์ร้าย บ้างก็ว่าพระเสาร์เป็นเทพที่มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ผอม หลังค่อม ขาพิการ เหตุที่ขาเขยก เดินกระเผลกนี้มีที่มาดังเรื่องเล่าในคัมภีร์พรหมมาไววรรตะปุราณะ เมื่อพระคเณศประสูติแล้ว เหล่าเทพเทวดาทั้งหลายได้เข้าเฝ้าพระศิวะ (อิศวร) กับพระนางอุมาเทวี (ปารวตี) และได้เข้าชมเทวบุตรองค์น้อยนั่นคือพระคเณศ เทพเทวดาต่างเรียงแถวกันเข้าไปชื่นชมบุตรแห่งพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งพระเสาร์ แต่เมื่อถึงตาพระเสาร์อวยพรพระบุตร พระเสาร์กลับก้มหน้าไม่ยอมเงยหน้าขึ้นมองพระพิฆเนศ พระแม่อุมาเทวีจึงตรัสถามว่า เหตุอันใดจึงไม่แลดูบุตรของเรา พระเสาร์ตอบว่า วันหนึ่งขณะพระเสาร์กำลังนั่งสมาธิเข้าฌาน ตั้งจิตระลึกถึงพระวิษณุมหาเทพแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นเวลาหลายชั่วยาม พระชายาของพระเสาร์ก็เดินเข้ามาหมายจะมาพูดคุยด้วย แต่พระเสาร์ก็หาได้สนใจไม่ ยังคงนั่งสมาธิไม่ถอนออกจากภวังค์ พระนางจึงกริ้วสาปแช่งไปว่า "ถ้าพระเสาร์ลืมตามาและเพ่งดูผู้ใด ขอให้ผู้นั้นพินาศ" พระนางจึงไม่สนใจพระเสาร์นับแต่นั้น
พระนางปารวตีได้ฟังเช่นกันก็หาได้สนใจไม่ ยังคงรบเร้าให้พระเสาร์แลดูบุตรอันงดงามแห่งตน พระเสาร์จึงเชิญพระยมมาเป็นพยานว่า ได้รับการอนุมัติจากพระนางปารวตีแล้ว จึงเพ่งมองดูพระพิฆเณศวร์
ทันใดนั้นด้วยคำสาปของชายาพระเสาร์ เศียรพระพิฆเนศวรจึงหลุดออกจากบ่าทันที ลอยไปไกลถึงไวกูณฐ์สวรรค์แห่งพระวิษณุนารายณ์ เมื่อพระวิษณูทราบต้นเหตุแห่งการลอยกระเด็นมาของเศียรเด็กชายนี้ จึงอาสาออกไปยังลำน้ำปุษปภัทร์ ตัดเอาศีรษะของช้างที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกอยู่ริมลำน้ำ มาติดให้ที่บ่าของพระพิฆเนศ (นี่ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งเรื่องเศียรช้างของพระคเณศ)
พระศิวะและพระนางอุมาเทวี มีความยินดีประทานพรต่างๆให้กับเหล่าทวยเทพฤาษีชีพราหมณ์ที่มาเข้าเฝ้าอวยพระพรบุตรของตน ให้ได้รับแต่ความสวัสดีมีชัย เว้นแต่พระเสาร์เท่านั้น ยังถูกพระนางอุมาเทวีสาปแช่งให้เป็นขาเขยกต่อมาอีก
พระเสาร์จึงเป็นเทพผู้อาภัพ อีกทั้งยังเป็นเทพผู้ดุร้ายใจดำ เป็นเทพผู้เคียดแค้น ตามตำราจึงพรรณาถึงรูปกายของพระเสาร์ว่ามีสีกายดำสนิท นั่งบนหลังพญาแร้ง บ้างก็บักทึกว่านั่งบนหลังครุฑเป็นพาหนะ ตามตำราของไทยว่าทรงเสือ นัยน์ตาดุร้าย ขาข้างซ้ายเขยกพิการ ถ้ารูปมี 4 พระกรจะถือคันธนู ศร ทวนและศูล ถ้ารูปที่มี 2 พระกรจะถือไม้เท้ากับแจกัน
หากว่าตามตำราของพระอิศวรมหาเทพ กล่าวถึงพระเสาร์ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้สร้างพระเสาร์ขึ้นมาจากการนำเอาหัวเสือจำนวน 10 ตัวมาบดให้ป่นละเอียด ห่อด้วยผ้าสีดำ ปลุกเสกด้วยเวทมนต์คาถาอันเข้มขลัง บังเกิดเป็นพระเสาร์ อุปนิสัยใจคอเช่นเสือโดยธรรมชาติ ดุร้าย แต่ที่ดุร้ายก็เพียงต้องเอาชีวิตให้รอด จึงมีความพยาบาทร้ายแรง โกรธง่าย ข้อดีของพระเสาร์คือมีความมานะ อดทนต่อสิ่งเลวร้ายรอบข้าง ปรับตัวให้มีความแข็งแกร่ง จึงฉลาดอย่างลึกซึ้ง ยอมต่อสู้กับศัตรูจนตัวตาย
วิธีบูชาพระเสาร์ ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกัน
ผู้บูชาพระเสาร์ จะได้รับพละกำลังอันแข็งแกร่ง ห้าวหาญ ไม่ย่อท้อต่อคำติฉินนินทา มีความทระนง หยิ่งในศักดิ์ศรี
จะได้รับพรด้านความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์คือ ปางนาคปรก
คาถาบูชาพระเสาร์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 7 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันเสาร์ ให้ใช้ธูป 10 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บูชาพระเสาร์ ด้วย คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
สวดตามกำลังเทพพระเสาร์ คือ 10 จบ
(
บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ)
บทสวดบูชาพระเสาร์
อิติปิโส ภะคะวา พระเสาร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม


บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์
ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ

ประวัติย่อพระพุทธรูปปางนาคปรก
ในสัปดาห์ที่ 6 หลังการตรัสรู้พระพุทธองค์ได้เสด็จไปนั่งขัดสมาธิเสวยวิมุตติสุขภายใต้ร่ม ไม้จิกชื่อมุจจลินท์ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์และ ณ ที่แห่งนี้ได้มีฝนตกพรำๆ และสายลมพัดผ่านตลอด 7 วัน พญานาคราชมุจจลินท์จึงได้ออกมาจากนาคพิภพทำขนดล้อมพระวรกายพระพุทธองค์ ถึง 7 ชั้นแล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเหนือพระเศรียรด้วยพระประสงค์จะป้องกันมิให้สาย ฝนและสายลมพัดเข้ามาถูกต้องพระศาสดาได้เมื่อฝนหายขาด พญานาคราชมุจจลินท์ จึงได้จำแลงเพศเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนถวาย บังคมพระบรมศาสดา ณ เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า
"ความสงัดเป็นความสุขสำหรับบุคคลผู้ได้สดับธรรม ยินดีในเสนาสนะ
อันสงัด เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
คือ ความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลกความนำออก
เสียได้ซึ่งอัสมิมานะ (คือความถือตัว) เป็นความสุขอย่างยิ่ง"
ด้วยเหตุนี้ ในสมัยต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก และใช้เป็นพระพุทธรูปบูชา สำหรับผู้เกิดวันเสาร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น