ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธชัคคปริตร 

ธชัคคสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึง    พระรัตนตรัย ที่พระพุทธองค์ทรงนำเอาเรื่องการทำสงครามระหว่างเทพกับเทพอสูรมาเป็นข้อเปรียบเทียบ เพื่อเตือนใจภิกษุผู้ไปทำความเพียร อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอันเงียบสงัด ห่างไกลจากผู้คนสัญจรไปมา
การ อยู่ท่ามกลางป่ากว้างดงลึกของภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนเช่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวขนผองสยองเกล้า เมื่อเกิดความรู้สึก  หวาดกลัว พระพุทธองค์แนะนำให้ภิกษุระลึกถึงธง คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ หรือพระสังฆคุณ  แล้วจะสามารถข่มใจระงับความหวาดกลัวบำเพ็ญเพียร ต่อไปได้
การสวดธชัคคสูตรก็เพื่อเป็นการทำลายความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น หรือในสถานที่ที่ไม่       คุ้นเคย โดยน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยมาสร้างเสริมกำลังใจให้เกิด ความอาจหาญแกล้วกล้าในการต่อสู่อันตรายและอุปสรรคนานาประการ
นอกจากนั้น ธชัคคสูตรยังช่วยคุมครองป้องกันอันตรายจากที่สูง หรืออันตรายทางอากาศ เช่น อันตรายจากการขึ้นต้นไม้สูง  อันตรายจากการเดินทางที่ต้องผ่านหุบเขาเหวผาสูงชัน อันตรายจากสิ่งที่ตกหล่นมาจากอากาศ และในปัจจุบันยังนิยมใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
โดยทั่วไปการสวดบทธชัคคสูตรไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทสรรเสริญพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  ซึ่งเป็นหัวใจของพระสูตรนี้  เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า  "สวดอิติปิโส"   เว้นไว้แต่มีเวลามากและต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร
ธชัคคสูตร(
เอวัมเม  สุตัง  ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม  ฯ  ตัตระ  โข  ภะคะวา  ภิกขู  อามันเตสิ  ภิกขะโวติ  ฯ  ภะทันเตติ  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง  ฯ  ภะคะวา  เอตะทะโวจะ
ภูตะปุพพัง  ภิกขะเว  เทวาสุระสังคาโม  สะมุปัพะยุฬโห  อะโหสิฯ  อะถะโข  ภิกขะเว  สักโก  เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส  อามันเตสิ  สะเจ  มาริสา  เทวานัง  สังคามะคะตานัง  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  มะเมวะ  ตัสะมิง  สะมะเย  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  มะมัง  หิ  โว  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  เม  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
อะถะ ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  ปะชาปะติสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง                      ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
อะถะ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  วะรุณัสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
อะถะ  อีสานัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  อีสานัสสะ หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะตีติ  ฯ
ตัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  สักกัสสะ  วา  เทวานะมินทัสสะ  ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง  ปะชาปะติสสะ  วา  เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง   วะรุณัสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  อีสานัสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยเยถาปิ  โนปิ  ปะหิยเยถะ  ตัง  กิสสะ  เหตุ  สักโก  หิ  ภิกขะเว  เทวานะมินโท  อะวีตะราโค  อะวีตะโทโส  อะวีตะโมโห  ภิรุฉัมภี  อุตะราสี  ปะลายีติ  ฯ
อะหัญจะ  โข  ภิกขะเว  เอวัง  วะทามิ  สะเจ  ตุมหากัง  ภิกขะเว  อะรัญญะคะตานัง  วา  รุกขะมูละคะตานัง  วา  สุญญาคาระคะตานัง  วา  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  มะเมวะ  ตัสะมิง  สะมะเย  อะนุสสะเรยยาถะ
อิติปิ  โส   ภะคะวา   อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ - สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู   อะนุตตะโร   ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง  หิ  โว ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา   โส  ปะหิยยิสสะติ   โน  เจ  มัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ
สวากขาโต   ภะคะวะตา   ธัมโม  สันทิฏฐิโก   อะกาลิโก             เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ธัมมัง  หิ  โว  ภิกขะเว   อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส   วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ   สังฆัง   อะนุสสะเรยยาถะ
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน               ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย    ปาหุเนยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ
สังฆัง  หิ  โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ตัง  กิสสะ  เหตุ    ตะถาคะโต  หิ  ภิกขะเว  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วีตะราโค   วีตะโทโส   วีตะโมโห  อะภิรุ  อัจฉัมภี  อะนุตราสี  อะปะลายีติ   ฯ  อิทะมะโวจะ   ภะคะวา  อิทัง  วัตะวานะ  สุคะโต  อะถาปะรัง  เอตะทะโวจะ  สัตถา
อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา                 สุญญาคาเร  วะ  ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง                 ภะยัง  ตุมหากะ  โน  สิยา
โน  เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ           โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง
อะถะ   ธัมมัง  สะเรยยาถะ             นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
โน  เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ            นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ             ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง  สะรันตานังธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว
ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วาโลมะหังโส  นะ  เหสสะตีติ  ฯ
คำแปล
ข้าพเจ้า   ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร  อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี  ใน             เวลานั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  "พระพุทธเจ้าข้า"  ดังนี้แล้ว       พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์ต่อไปว่า
ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้นเคยมีมา              แล้ว  ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น  ครั้งนั้น                             ท้าวสักกเทวราช  ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ  ตรัสเรียกเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า  ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย  ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้วเกิดความกลัว  หวาดสะดุ้ง  ขนพองสยองเกล้า  ขอให้ท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเรา  เพราะเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราแล้วความกลัว      ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าพวกท่านทั้งหลายแลดูยอดธงเราไม่ได้  ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี  เพราะเมื่อท่านทั้งหลายมองดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้      ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ  เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราช ชื่อวรุณแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณไม่ได้  ก็ให้ แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน  เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ภิกษุทั้งหลาย  แท้จริงแล้ว  เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดูยอดธงของท้าวสักกเทวราช  แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี  แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ  หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่  บางทีก็หายได้  บางทีก็ไม่หาย  เพราะเหตุไร   ภิกษุทั้งหลาย  เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ้นราคะ     ยังไม่สิ้นโทสะ  ยังไม่สิ้นโมหะ  ยังกลัว  ยังหวาดสะดุ้ง  ยังต้องหนี
ภิกษุทั้งหลาย  ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า  ถ้าพวกเธอ       ทั้งหลายไปอยู่ตามป่า  ตามโคนไม้  ตามบ้านร้าง  หรือที่อื่นใดแล้วเกิด ความกลัว   หวาดสะดุ้ง   ขนพองสยองเกล้า  ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึงเราตถาคตว่า
"เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  เสด็จไปดีแล้ว  ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง  สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า  ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม  ทรงมีความสามารถในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์  ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงตถาคตไม่ได้  ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า "พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว  ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง  เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล  สามารถ แนะนำผู้อื่นให้มาพิสูจน์ได้ว่า "ท่านจงมาดูเถิด" ควรน้อมนำมาไว้ในตัว  ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน  ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงพระธรรมไม่ได้  ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า  "พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้วปฏิบัติ       เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์  ปฏิบัติเหมาะสม  ได้แก่บุคคล           เหล่านี้คือ  คู่แห่งบุรุษ ๔  คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน้อมนำมาบูชา  ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ  ควรรับทักษิณาทาน  เป็น ผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้ความเคารพ  เป็นเนื้อนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า  ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อเธอทั้งหลาย  ระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป  ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นราคะ  สิ้นโทสะ  สิ้นโมหะ  ไม่มีความกลัว  ไม่หวาดสะดุ้ง   ไม่หนี  พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา   ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์  ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า  ตามโคนไม้     หรือตามบ้านร้าง  ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วพวกเธอก็จะไม่มี            ความหวาดกลัว  ถ้าพวกเธอทั้งหลายไม่สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้า  ผู้เป็นใหญ่ในโลก  ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน  ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม             อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์  ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด  ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึงพระธรรมที่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์อันเราแสดงไว้ดีแล้ว  ต่อจากนั้น  ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าก็จักไม่มีแล  ฯ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น